เพิ่มคุณค่าให้พนักงาน สร้างความแตกต่างให้องค์กรด้วย EVP ที่โดดเด่น

เพิ่มคุณค่าให้พนักงาน สร้างความแตกต่างให้องค์กรด้วย EVP ที่โดดเด่น


"Talent War" เป็นปัญหาที่หลายองค์กรพอเจอ กับการแย่งชิงคนเก่ง ที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กร ทำให้เกิดการแข่งขันเรื่องเงินเดือน องค์กรต้องแบกรับกับค่าตอบแทนที่สูงเพื่อดึงดูดคนเก่งๆ มาร่วมงาน ดังนั้น จะมีตัวช่วยไหนที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ โดยการดึงคนเก่งที่มีความสามารถ แต่ไม่ได้มองถึงเรื่องของเงินเดือนเป็นหลัก วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ EVP หรือ Employee Value Proposition กันค่ะ

ทำความรู้จักกับ EVP คืออะไร?

Employer Value Proposition (EVP) คือข้อเสนอที่องค์กรหรือบริษัทมอบให้กับพนักงาน เพื่อแลกกับทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ที่พนักงานนำมาใช้ในองค์กร เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคุณค่าและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากการทำงานในองค์กรนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงค่าตอบแทนทางการเงิน แต่ยังรวมถึงประเด็นอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาอาชีพ และความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว

 

แล้วทำไมองค์กรถึงต้องให้ความสำคัญกับ EVP กันนะ

เพราะ EVP มีผลโดยตรงต่อความสำเร็จและการเติบโตขององค์กรในหลายด้าน เช่น

  1. การดึงดูดบุคลากรที่มีคุณภาพ : ในตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง EVP ที่ชัดเจนและแข็งแกร่งจะทำให้องค์กรโดดเด่นกว่าคู่แข่ง ช่วยดึงดูดผู้สมัครที่มีทักษะและประสบการณ์ตรงกับความต้องการขององค์กร
  2. การรักษาพนักงานที่มีคุณค่า : EVP ที่ตอบสนองต่อความต้องการของพนักงานในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาทักษะ การทำงานที่ยืดหยุ่น และสวัสดิการที่ดี จะช่วยลดอัตราการลาออก พนักงานจะมีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะอยู่กับองค์กรในระยะยาว
  3. เพิ่มความผูกพันและแรงจูงใจในการทำงาน : พนักงานที่รู้สึกว่าพวกเขาได้รับคุณค่าที่ดีจากการทำงานกับองค์กร เช่น โอกาสในการเติบโต การได้รับการสนับสนุน และวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นมิตร จะมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น ส่งผลให้พนักงานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุขในการทำงาน
  4. เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร : EVP ที่ดีช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กร เมื่อพนักงานและผู้สมัครรับรู้ว่าองค์กรให้คุณค่าแก่พนักงานอย่างไร จะช่วยให้องค์กรได้รับการยอมรับในตลาดแรงงาน และเป็นที่รู้จักในฐานะองค์กรที่น่าทำงานด้วย

 

วิธีการสร้าง EVP ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อดึงดูดคนเก่งเข้ามาทำงานกับคุณ

สำรวจความคิดเห็นพนักงาน ความต้องการขององค์กร

อันดับแรกเลย ต้องรู้ "ข้อมูล" ของพนักงานในองค์กรเบื้องต้นก่อน โดยการสำรวจพนักงาน จากการทำแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการจัดกลุ่มสนทนา (focus group) รวมไปถึงการสำรวจวัฒนธรรมองค์กร วิสัยทัศน์ และคุณค่าที่แท้จริงขององค์กร และความคาดหวังของพนักงานปัจจุบัน ว่าสิ่งที่พนักงานต้องการคืออะไร สิ่งที่อยากเห็นปรับปรุง และสิ่งที่เป็นแรงจูงใจหลักในการทำงาน

สำรวจตลาดและคู่แข่ง

ในส่วนนี้องค์กรควรสำรวจความต้องการของพนักงานที่คุณต้องการดึงดูด รวมไปถึง สำรวจ EVP ของคู่แข่งในตลาดเพื่อทำความเข้าใจว่าสิ่งใดที่องค์กรอื่นมอบให้พนักงาน และทำให้เกิดความแตกต่างกับ EVP ที่องค์กรของคุณสามารถนำมาพัฒนาต่อได้

การสร้าง EVP ออกแบบให้โดดเด่น

เมื่อได้สำรวจข้อมูลต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ให้นำข้อมูลที่ได้มากำหนดคุณค่า และสิ่งที่องค์กรสามารถมอบให้แก่พนักงานได้ โดยการกำหนด EVP ควรมีความชัดเจน กระชับ และน่าสนใจ สื่อสารถึงคุณค่าที่องค์กรพร้อมจะมอบให้กับพนักงาน เพื่อให้สอดคลองกับความต้องการของพนักงานตลอดจนศักยภาพขององค์กร

การสร้าง EVP ต้องครอบคลุมองค์ประกอบหลัก 5 ด้าน

  • ค่าตอบแทน: ระบุถึงโครงสร้างค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสมกับตลาดแรงงาน
  • สวัสดิการ: สวัสดิการที่โดดเด่น เช่น การประกันสุขภาพ วันหยุด การทำงานจากที่บ้าน และอื่น ๆ
  • โอกาสในการพัฒนาอาชีพ: การสนับสนุนพนักงานในการพัฒนาทักษะ เช่น การอบรม การให้คำปรึกษา และโอกาสในการเติบโต
  • สภาพแวดล้อมการทำงาน: สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความเอื้อเฟื้อ ยืดหยุ่น และส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
  • เป้าหมายและคุณค่าองค์กร: สร้างการสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์องค์กรกับค่านิยมของพนักงาน เพื่อให้พวกเขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสำเร็จร่วมกัน

ทดสอบและปรับปรุงนโยบาย

หลังจากกำหนด EVP แล้ว ควรนำ EVP ไปทดสอบ โดยทำการประเมินผลผ่านแบบสอบถามพนักงาน การสำรวจความพึงพอใจกับการใช้งานจริง เพื่อตรวจสอบว่า EVP ที่นำไปใช้นั้นส่งผลดีต่อพนักงานและองค์กรหรือไม่ และนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานมากที่สุด

สื่อสาร EVP ที่เรามอบให้ทั้งภายในและภายนอก

ขั้นตอนสุดท้ายคือการนำ EVP ไปใช้ ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น การประชุม การประกาศทางอีเมล หรือผ่านแพลตฟอร์มสื่อสารภายในองค์กร  รวมไปถึงนำเสนอผ่านเว็บไซต์องค์กร โซเชียลมีเดีย หรือประกาศรับสมัครงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนรับรู้และเข้าใจในคุณค่าที่องค์กรมอบให้และดึงดูดผู้สมัครงานที่มีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์กรของคุณ

สรุป การให้ความสำคัญกับ EVP เป็นสิ่งที่องค์กรไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจากจะช่วยดึงดูดพนักงานที่มีคุณภาพแล้ว ยังช่วยรักษาพนักงานเดิม เพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน ส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่ดี และช่วยสร้างแบรนด์องค์กรที่แข็งแกร่ง ทั้งหมดนี้ส่งผลต่อความสำเร็จและการเติบโตขององค์กรในระยะยาว

 

ข้อมูลอ้างอิง : https://www.empeo.com/blog/tips/evp-attract-top-talent/

 

 53
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
การทำงานเป็นทีม คือ การทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป จำนวนคนในทีมขึ้นอยู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีในการทำงานแต่ละโปรเจกต์ ภายใต้เงื่อนไขกรอบการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน ผ่านการวางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อไปยังปลายทางที่ตั้งไว้ โดยวิธีการทำงานอาจจะแตกต่างกันไปได้ตามความถนัดของแต่ละคน แต่สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องออกมาตรงกัน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการทำงานเป็นทีมที่ดี
เคยสงสัยกันไหม... ว่าทำไมบางบริษัทถึงมีสลิปเงินเดือน บางบริษัทไม่มีสลิปเงินเดือน แล้วถ้าหากบริษัทไม่ออกสลิปเงินเดือนให้กับพนักงาน จะถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ ก่อนอื่นมารู้ความหมายของสลิปเงินเดือนก่อนนะคะ
การจัดการพนักงานที่ทำงานแบบกะเป็นงานที่ท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะงานของพนักงานแบบกะ พนักงานบางราย ทำงานเวลาไม่ตรงกัน เลิกงานไม่ตรงกัน จะเห็นได้ว่า แค่ HR ต้องจัดการกับเงินเดือนพนักงานที่ทำงานกะปกติ ก็แทบปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ไหนจะต้องอาศัยความแม่นยำและละเอียดอ่อนในการคำนวณเงินเดือน การคิดวันขาด ลา มา สายอีก ยิ่งถ้าเป็นองค์กรใหญ่ๆ นั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกันเลยทีเดียว ดังนั้น การที่มีตัวช่วยอย่างโปรแกรมเงินเดือน HRMI เข้ามาช่วย HR จัดการปัญหาต่างๆ ของพนักงานที่ทำงานแบบกะ จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนของพนักงาน  เพื่อลดความเสี่ยงคำนวณเงินเดือนผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทได้
หลายๆ องค์กรตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลไว้ที่อัตราการลาออกของพนักงานในองค์กร โดยมีการกำหนดอัตรามาตรฐานไว้ที่อัตราเดียวกับอุตสาหกรรมบ้าง หรือกำหนดให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาบ้าง แต่ผมยังไม่เคยเห็นองค์กรไหนที่กำหนดเป้าหมายอัตราการลาออกของพนักงานเท่า กับ 0 จริงๆ นะครับ
โปรแกรมบริหารงานบุคคล (Human Resource Management Information System หรือ HRMI) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยีและการบริหารงานบุคคล รวมถึงรวบรวมระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่สามารถช่วยงาน HR ได้ เช่น ระบบสมัครงานออนไลน์ระบบลาออนไลน์ระบบฝึกอบรมพนักงาน,ระบบสวัสดิการ, ระบบประเมินผล เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบุคคลและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน และตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแต่ละบบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์