ผู้ประกันตนเช็กเงินสะสมประกันสังคมเองได้ง่ายๆ

ผู้ประกันตนเช็กเงินสะสมประกันสังคมเองได้ง่ายๆ


ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง

เช็คเงินสะสมประกันสังคม มาตรา 39,33,40

การตรวจสอบเงินสะสมประกันสังคม สามารถเช็คได้จากระบบเช็คสิทธิประกันสังคม เป็นระบบในเว็บไซต์ที่สามารถทำได้เลยโดยไม่ต้องโหลดแอพด้วย หากยังไม่ได้เป็นสมาชิกอยู่ก็สามารถสมัครสมาชิกได้ง่ายมากๆ โดยใช้เพียงแค่บัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์และข้อมูลส่วนตัวนิดหน่อยเท่านั้น

สิ่งที่ต้องมี

  • หมายเลขบัตรประชาชน (13 หลัก)
  • เบอร์โทรศัพท์ของเราและข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ นามสกุล วันเกิด อีเมล

ขั้นตอนการเช็คเงินสะสมประกันสังคม

เข้าสู่เว็บไซต์ https://idpeself.sso.go.th/login ไปที่ระบบสมาชิก ผู้ประกันตน และกดสมัครสมาชิกกรอกข้อมูลตามขั้นตอน



หลังเข้าสู่ระบบหรือสมัครสมาชิกแล้ว  ระบบจะพาไปที่หน้า “ข้อมูลผู้ประกันตน” ให้กดที่ “การคำนวณเงินสงเคราะห์ชราภาพ” เพื่อทำการเช็คเงินสะสมประกันสังคม

จะเข้าสู่หน้าแสดงเงินสงเคราะห์ชราภาพซึ่งจะแสดงตารางยอดเงินที่เราสมทบร่วมกับนายจ้างและรัฐบาลขึ้นมาในแต่ละปี โดยข้อมูลในบรรทัดสุดท้ายช่องยอดเงินรวมก็จะเป็นยอดเงินสะสมประกันสังคมที่เราต้องการตรวจสอบนั้นเอง



จะเห็นว่าไม่ว่าจะต้องการเช็คเงินสะสมประกันสังคม มาตรา 39 หรือมาตรา 33 ก็สามารถใช้ระบบนี้ตรวจเช็คเงินสะสมจากประกันสังคมได้เลย เนื่องจากระบบได้รวมไว้ให้แล้วในหน้านี้ ซึ่งเราก็จะสามารถตรวจสอบดูเงินสะสมประกันสังคมแยกเป็นเงินที่มาจากเงินกองที่เราจ่ายสมทบแต่ละเดือน, เงินที่มาจากนายจ้าง และเงินที่มาจากรัฐบาล (ถ้ามี) ได้จากตารางคำนวณเงินสงเคราห์ชราภาพเลย การทำธุรกรรมอื่นๆ สามารถทำยื่นเรื่องทำตัวเองได้เลยง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์  พร้อมยังสามารถ ดาวน์โหลดแอป SSO Plus ให้บริการเช็กสิทธิประกันสังคมได้ทันที



แล้วเงินสะสมประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง คำนวณยังไง

ถึงแม้หลายๆท่านอาจต้องการตรวจสอบเงินประกันสังคมว่านายจ้างมีการจ่ายตรงไหม แต่ก็มีอีกข้อดีหนึ่งของก็คือการได้เช็คเงินชราภาพประกันสังคม เนื่องจากว่ายอดเงินประกันสังคมจะนำไปเป็นเงินสมทบชราภาพ ดังนั้นการตรวจเช็คเงินสะสมจากประกันสังคม ก็คือการเช็คยอดเงินประกันสังคมสะสมชราภาพนั้นเอง

โดยเงินสะสมชราภาพนี้เราจะได้เมื่ออายุ 55 ปีบริบูรณ์ และออกจากระบบประกันสังคมแล้ว (ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง)

โดยเงินชราภาพนี้จะแบ่งออกเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ และเงินบำนาญชราภาพตามระยะเวลาที่จ่ายเงินสะสม คือ

ได้รับ เงินบำเหน็จชราภาพ (เงินก้อน) ถ้าจ่ายเงินสะสมประกันสังคมไปไม่ครบ 15 ปี (180 เดือน)

  • ถ้าจ่าย 1-11 เดือนจะได้จากเงินสมทบผู้ประกันตนอย่างเดียว (เงินสะสมที่เราเป็นคนจ่าย)
  • ถ้าจ่าย 12-179 เดือนจะได้จากเงินสมทบผู้ประกันตน (เงินสะสมที่เราเป็นคนจ่าย) + เงินสมทบจากนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน
  • หรือถ้าจ่ายเงินสะสมประกันสังคมมากกว่า 15 ปี (180 เดือน) ก็จะได้เป็นเงินบำนาญชราภาพ (เงินรายเดือน) แทน
  • โดยคิดเงินบำนาญชราภาพจาก 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเงินสมทบ
  • และถ้าจ่ายเงินสมทบมาเกิน 180 เดือนจะบวกให้อีกปีละ 1.5%

ซึ่งทางประกันสังคมเองก็ได้ทำภาพรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิประกันสังคมกรณีชราภาพไว้ได้ดีเลย รวมถึงวิธีคำนวณด้วย ดังนี้







ตัวช่วยในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ โปรแกรมบริหารงานบุคคล Prosoft HRMI
ระบบ Payroll ที่สามารถประมวลผลรายได้ / รายหัก ของพนักงาน เพื่อคำนวณรายได้สุทธิของพนักงานเพื่อที่องค์กรจะจ่ายเงินเดือน ให้กับพนักงานเมื่อถึงสิ้นเดือนตลอดจนถึงการคำนวณภาษี ประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่าง ๆ  และมีรายงานทางราชการ แบบฟอร์มต่างๆ ของประกันสังคมที่เกี่ยวข้องกับงาน HR ถูกต้องตามรูปแบบของราชการ ฝ่ายบุคคลสามารถ Print รายงานจากระบบ และนำส่งยื่นกับสำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ได้เลย ไม่ต้องเสียเวลากรอกแบบฟอร์มเอง เช่น แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03 แบบการแจ้งรับผู้ประกันตนเข้าทำงาน สปส.1-03/1, แบบแจ้งพ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน สปส.6-09

.

แหล่งที่มา : https://nhaidee.com/
 411481
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์