2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หลักกฎหมาย กำหนดห้ามมิให้นายจ้างเรียก หรือรับหลักประกันการทำงาน หรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานฯ แต่ก็มีข้อยกเว้นให้เรียกหรือรับหลักประกันได้ถ้าลักษณะหรือสภาพของงานนั้น
3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน ไม่ว่าจะลาออกเอง หรือเลิกจ้าง นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินที่ค้างจ่ายซึ่งนายจ้างต้องจ่าย ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หากคืนช้ารับผิดเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี
4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด มาตรา 76 ในกฎหมายคุ้มครองแรงงานระบุว่า "นายจ้างห้ามหักค่าจ้างของลูกจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง ยกเว้นในกรณีที่ลูกจ้างยินยอมให้หัก โดยต้องเป็นการยินยอมที่เป็นความประสงค์จากตัวลูกจ้าง และต้องได้รับความยินยอมนี้โดยตรงหรือเขียนลงเป็นหนังสือ การหักค่าจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างมีโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 10,000 บาท
5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง การลาออก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง แต่หากลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร
6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล เมื่อนายจ้างแสดงเจตนาเลิกจ้างแก่ลูกจ้างแล้ว สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงทันที ไม่สามารถถอนเจตนาได้ ที่สำคัญถ้าลูกจ้างไม่ได้ทำอะไรผิด นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วย
ที่มา คลินิกกฎหมายแรงงาน