รวมไว้ให้แล้ว กฎหมายแรงงานที่ นายจ้าง HR และพนักงาน ควรรู้!

รวมไว้ให้แล้ว กฎหมายแรงงานที่ นายจ้าง HR และพนักงาน ควรรู้!

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือ ขนาดใหญ่ จะสามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น ล้วนต้องต้องทำงานภายใต้ข้อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายบริษัท กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กฎหมายภาษีอากร กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และหนึ่งกฎหมายที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับนายจ้าง HR และพนักงานโดยตรง คือ กฎหมายแรงงาน

เนื่องจากกฎหมายแรงงานมีบทบาทในการกำหนดและรักษาสิทธิ์ผลประโยชน์ ให้กับนายจ้าง และลูกจ้าง  เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ในการทำงาน และเพื่อให้ค่าตอบแทนการจ้างงานเป็นไปอย่างยุติธรรม ปัจจุบันฝ่าย HR ในองค์กรต่างๆ จำนวนไม่น้อย ไม่ได้เรียนจบทางด้านกฎหมายมาโดยตรง ไม่เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานทั้งหมดทุกข้อ ลูกจ้างอาจจะมองข้ามกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ ไป แต่อย่าลืมว่าหากองค์กรไม่ศึกษาอย่างละเอียด อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ มีผลต่อความเป็นธรรม ความปลอดภัย และความสุขในการทำงาน ดังนั้น บทความนี้จะทำให้ทั้งนายจ้าง HR และลูกจ้าง ได้ทราบถึงกฎหมายแรงงาน ที่เกี่ยวกับการจ้างงาน ซึ่งเป็นข้อกฎหมายสำคัญที่คนทำงานต้องรู้ไว้ จะได้ไม่เสียโอกาส หรือถูกองค์กรหรือบริษัทเอาเปรียบได้

กฎหมายแรงงาน 'กำหนดเวลาทำงาน' ไม่ให้เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน

  1. สำหรับงานทั่วไป กฎหมายแรงงานกำหนดเวลาทำงาน ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  2. หากเป็นงานที่มีลักษณะงานอันตราย มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ กฎหมายแรงงานกำหนดเวลาทำงาน ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ ไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  3. งานที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมี รวมถึงงานซ่อมบำรุงในกิจการปิโตรเลียม กฎหมายแรงงานกำหนดเวลาทำงาน ไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน และต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

และทุกองค์กรธุรกิจจะต้องมีเวลาพักให้กับพนักงานไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงใน 1 วัน โดยแต่ละบริษัทสามารถกำหนดนโยบายการจัดแบ่งชั่วโมงการทำงานและชั่วโมงการพักเบรกได้อย่างอิสระ ตราบใดที่ชั่วโมงเหล่านั้นเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานได้กำหนดเอาไว้

กฎหมายแรงงานกำหนดชั่วโมงการทำงาน ‘ค่าล่วงเวลา OT’ ตามกฎหมาย

การทำงานล่วงเวลา (OT) ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมาย

  1. การคำนวณค่าล่วงเวลาต้องคำนวณตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่พนักงานทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 5 เท่า ของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงาน
  2. สำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาเป็น 3 เท่าของค่าจ้างรายชั่วโมงปกติ

'การพักผ่อนและวันหยุด' ที่ทุกองค์กรต้องมีให้พนักงาน

  1. ลูกจ้างควรได้รับเวลาพักไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับการทำงานติดต่อกันเกินกว่า 5 ชั่วโมง
  2. ลูกจ้างควรได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยมีวันหยุดไม่น้อยกว่า 4 วันในเดือนนั้น
  3. บริษัทต้องมีวันหยุดตามปฏิทินให้กับพนักงานทุกคน อย่างน้อย 13 วันต่อปี และจะหักค่าตอบแทนของพนักงานในวันหยุดตามปฏิทินไม่ได้เช่นกัน

‘ลาหยุด’ ในแต่ละกรณีของพนักงาน

  1. การลาป่วย พนักงานมีสิทธิ์ลาป่วยได้ตามความจำเป็น โดยไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี โดยต้องมีใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานหากลาป่วยเกิน 3 วันติดต่อกัน การลาป่วยในกรณีนี้ยังคงได้รับค่าจ้างตามปกติ
  2. การลาพักร้อน พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิ์ลาพักร้อนประจำปีไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน ต่อปี ในกรณีที่พนักงานทำงานในองค์กรมามากกว่า 1 ปี บริษัทอาจมีนโยบายเพิ่มวันลาพักร้อนต่อปีให้ได้
  3. การลากิจ กฎหมายแรงงานกำหนดให้ใน 1 ปี พนักงานมีสิทธิ ‘ลากิจ’ เพื่อทำธุระอันจำเป็นได้ ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี ซึ่งพนักงานจะยังต้องได้รับค่าตอบแทนตามปกติ
  4. การลาคลอด พนักงานหญิงมีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยสามารถลาต่อเนื่องกันก่อนและหลังคลอดได้ในจำนวน 90 วันนั้น พนักงานหญิงจะได้รับค่าจ้างในระหว่างลาคลอดเป็นระยะเวลา 45 วัน
  5. การลาเพื่อทำหมัน พนักงานมีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันตามคำแนะนำของแพทย์ โดยไม่ได้ระบุจำนวนวันที่ชัดเจน แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ โดยระยะเวลาที่อนุญาตให้ลาได้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดจากใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันที่ทำการรักษา
  6. การลาเพื่อทำงานที่เกี่ยวข้องกับราชการหรือสาธารณประโยชน์ พนักงานมีสิทธิ์ลาเพื่อไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับราชการหรือสาธารณประโยชน์ตามที่กฎหมายหรือข้อบังคับกำหนด โดยไม่ถือเป็นวันลา บริษัทจะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ตามวันที่ลาไปรับใช้ราชการ แต่จะไม่เกิน 60 วันต่อปี
  7. การลาบวชหรือประกอบพิธีทางศาสนา พนักงานมีสิทธิ์ลาบวชหรือประกอบพิธีทางศาสนาตามความเหมาะสม โดยจำนวนวันที่ลาและการจ่ายค่าจ้างจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

สรุป กฎหมายแรงงานนับได้ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับนายจ้าง HR และลูกจ้างที่ไม่ควรมองข้าม ทุกองค์กรควรมีการบริหารจัดการบุคลากรที่เป็นธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ในการทำงานของตนเองและเพื่อป้องกันการโดนละเมิดสิทธิต่าง ๆ ในการทำงาน

โปรแกรม Prosoft HRMI เครื่องมือบริหารงานบุคคลที่ให้มากกว่า “โปรแกรมเงินเดือน” ครอบคลุมทุกเรื่องงาน HR ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถดูแลลูกจ้างทุกคนได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง สามารถกำหนดกฎระเบียบภายในองค์กรตามข้อกฎหมาย รองรับเงื่อนไขการคำนวณเงินเดือนต่างๆได้หลากหลาย คำนวณเงินเดือน ค่าแรง ภาษี ประกันสังคม ค่าล่วงเวลา ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังมี ระบบบริหารเวลา Time Attendance ที่สามารถควบคุมเวลาในการทำงานของพนักงาน กำหนดเงื่อนไขในการลาทุกประเภทให้กับพนักงาน พนักงานสามารถตรวจสอบข้อมูลเวลาการทำงานของแต่ละคนได้เอง รวมไปถึงการกำหนดรูปแบบตารางการทำงานได้ตามความต้องการหรือตามอัตโนมัติ การกำหนดกะงานได้ไม่จำกัด การกำหนดตารางการทำงานแบบกะปกติ, กะวน และกะ Flexible Time รวมไปถึงการบันทึกค่าล่วงเวลาต่างๆ ทั้ง OT วันหยุด, OT ก่อนทำงาน, OT ระหว่างทำงาน, OT หลังเลิกงานได้

Time Attendance ระบบบริหารเวลา
 1282
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์