รวมไว้ให้แล้ว กฎหมายแรงงานที่ นายจ้าง HR และพนักงาน ควรรู้!

รวมไว้ให้แล้ว กฎหมายแรงงานที่ นายจ้าง HR และพนักงาน ควรรู้!

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือ ขนาดใหญ่ จะสามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น ล้วนต้องต้องทำงานภายใต้ข้อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายบริษัท กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กฎหมายภาษีอากร กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และหนึ่งกฎหมายที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับนายจ้าง HR และพนักงานโดยตรง คือ กฎหมายแรงงาน

เนื่องจากกฎหมายแรงงานมีบทบาทในการกำหนดและรักษาสิทธิ์ผลประโยชน์ ให้กับนายจ้าง และลูกจ้าง  เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ในการทำงาน และเพื่อให้ค่าตอบแทนการจ้างงานเป็นไปอย่างยุติธรรม ปัจจุบันฝ่าย HR ในองค์กรต่างๆ จำนวนไม่น้อย ไม่ได้เรียนจบทางด้านกฎหมายมาโดยตรง ไม่เข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานทั้งหมดทุกข้อ ลูกจ้างอาจจะมองข้ามกฎหมายเล็กๆ น้อยๆ ไป แต่อย่าลืมว่าหากองค์กรไม่ศึกษาอย่างละเอียด อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้ มีผลต่อความเป็นธรรม ความปลอดภัย และความสุขในการทำงาน ดังนั้น บทความนี้จะทำให้ทั้งนายจ้าง HR และลูกจ้าง ได้ทราบถึงกฎหมายแรงงาน ที่เกี่ยวกับการจ้างงาน ซึ่งเป็นข้อกฎหมายสำคัญที่คนทำงานต้องรู้ไว้ จะได้ไม่เสียโอกาส หรือถูกองค์กรหรือบริษัทเอาเปรียบได้

กฎหมายแรงงาน 'กำหนดเวลาทำงาน' ไม่ให้เกินกี่ชั่วโมงต่อวัน

  1. สำหรับงานทั่วไป กฎหมายแรงงานกำหนดเวลาทำงาน ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และ ไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  2. หากเป็นงานที่มีลักษณะงานอันตราย มีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ กฎหมายแรงงานกำหนดเวลาทำงาน ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และ ไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  3. งานที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเคมี รวมถึงงานซ่อมบำรุงในกิจการปิโตรเลียม กฎหมายแรงงานกำหนดเวลาทำงาน ไม่เกิน 12 ชั่วโมงต่อวัน และต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

และทุกองค์กรธุรกิจจะต้องมีเวลาพักให้กับพนักงานไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงใน 1 วัน โดยแต่ละบริษัทสามารถกำหนดนโยบายการจัดแบ่งชั่วโมงการทำงานและชั่วโมงการพักเบรกได้อย่างอิสระ ตราบใดที่ชั่วโมงเหล่านั้นเป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานได้กำหนดเอาไว้

กฎหมายแรงงานกำหนดชั่วโมงการทำงาน ‘ค่าล่วงเวลา OT’ ตามกฎหมาย

การทำงานล่วงเวลา (OT) ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและได้รับค่าตอบแทนตามกฎหมาย

  1. การคำนวณค่าล่วงเวลาต้องคำนวณตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ในกรณีที่พนักงานทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 5 เท่า ของค่าจ้างต่อชั่วโมงให้กับพนักงาน
  2. สำหรับการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลาเป็น 3 เท่าของค่าจ้างรายชั่วโมงปกติ

'การพักผ่อนและวันหยุด' ที่ทุกองค์กรต้องมีให้พนักงาน

  1. ลูกจ้างควรได้รับเวลาพักไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับการทำงานติดต่อกันเกินกว่า 5 ชั่วโมง
  2. ลูกจ้างควรได้รับวันหยุดประจำสัปดาห์อย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ โดยมีวันหยุดไม่น้อยกว่า 4 วันในเดือนนั้น
  3. บริษัทต้องมีวันหยุดตามปฏิทินให้กับพนักงานทุกคน อย่างน้อย 13 วันต่อปี และจะหักค่าตอบแทนของพนักงานในวันหยุดตามปฏิทินไม่ได้เช่นกัน

‘ลาหยุด’ ในแต่ละกรณีของพนักงาน

  1. การลาป่วย พนักงานมีสิทธิ์ลาป่วยได้ตามความจำเป็น โดยไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี โดยต้องมีใบรับรองแพทย์เป็นหลักฐานหากลาป่วยเกิน 3 วันติดต่อกัน การลาป่วยในกรณีนี้ยังคงได้รับค่าจ้างตามปกติ
  2. การลาพักร้อน พนักงานที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิ์ลาพักร้อนประจำปีไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน ต่อปี ในกรณีที่พนักงานทำงานในองค์กรมามากกว่า 1 ปี บริษัทอาจมีนโยบายเพิ่มวันลาพักร้อนต่อปีให้ได้
  3. การลากิจ กฎหมายแรงงานกำหนดให้ใน 1 ปี พนักงานมีสิทธิ ‘ลากิจ’ เพื่อทำธุระอันจำเป็นได้ ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อปี ซึ่งพนักงานจะยังต้องได้รับค่าตอบแทนตามปกติ
  4. การลาคลอด พนักงานหญิงมีสิทธิ์ลาคลอดได้ 90 วัน โดยสามารถลาต่อเนื่องกันก่อนและหลังคลอดได้ในจำนวน 90 วันนั้น พนักงานหญิงจะได้รับค่าจ้างในระหว่างลาคลอดเป็นระยะเวลา 45 วัน
  5. การลาเพื่อทำหมัน พนักงานมีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันตามคำแนะนำของแพทย์ โดยไม่ได้ระบุจำนวนวันที่ชัดเจน แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ โดยระยะเวลาที่อนุญาตให้ลาได้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดจากใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันที่ทำการรักษา
  6. การลาเพื่อทำงานที่เกี่ยวข้องกับราชการหรือสาธารณประโยชน์ พนักงานมีสิทธิ์ลาเพื่อไปทำงานที่เกี่ยวข้องกับราชการหรือสาธารณประโยชน์ตามที่กฎหมายหรือข้อบังคับกำหนด โดยไม่ถือเป็นวันลา บริษัทจะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ตามวันที่ลาไปรับใช้ราชการ แต่จะไม่เกิน 60 วันต่อปี
  7. การลาบวชหรือประกอบพิธีทางศาสนา พนักงานมีสิทธิ์ลาบวชหรือประกอบพิธีทางศาสนาตามความเหมาะสม โดยจำนวนวันที่ลาและการจ่ายค่าจ้างจะขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

สรุป กฎหมายแรงงานนับได้ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับนายจ้าง HR และลูกจ้างที่ไม่ควรมองข้าม ทุกองค์กรควรมีการบริหารจัดการบุคลากรที่เป็นธรรม ไม่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ในการทำงานของตนเองและเพื่อป้องกันการโดนละเมิดสิทธิต่าง ๆ ในการทำงาน

โปรแกรม Prosoft HRMI เครื่องมือบริหารงานบุคคลที่ให้มากกว่า “โปรแกรมเงินเดือน” ครอบคลุมทุกเรื่องงาน HR ตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้องค์กรสามารถดูแลลูกจ้างทุกคนได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง สามารถกำหนดกฎระเบียบภายในองค์กรตามข้อกฎหมาย รองรับเงื่อนไขการคำนวณเงินเดือนต่างๆได้หลากหลาย คำนวณเงินเดือน ค่าแรง ภาษี ประกันสังคม ค่าล่วงเวลา ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ อีกทั้งยังมี ระบบบริหารเวลา Time Attendance ที่สามารถควบคุมเวลาในการทำงานของพนักงาน กำหนดเงื่อนไขในการลาทุกประเภทให้กับพนักงาน พนักงานสามารถตรวจสอบข้อมูลเวลาการทำงานของแต่ละคนได้เอง รวมไปถึงการกำหนดรูปแบบตารางการทำงานได้ตามความต้องการหรือตามอัตโนมัติ การกำหนดกะงานได้ไม่จำกัด การกำหนดตารางการทำงานแบบกะปกติ, กะวน และกะ Flexible Time รวมไปถึงการบันทึกค่าล่วงเวลาต่างๆ ทั้ง OT วันหยุด, OT ก่อนทำงาน, OT ระหว่างทำงาน, OT หลังเลิกงานได้

Time Attendance ระบบบริหารเวลา
 717
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานเป็นทีม คือ การทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป จำนวนคนในทีมขึ้นอยู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีในการทำงานแต่ละโปรเจกต์ ภายใต้เงื่อนไขกรอบการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน ผ่านการวางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อไปยังปลายทางที่ตั้งไว้ โดยวิธีการทำงานอาจจะแตกต่างกันไปได้ตามความถนัดของแต่ละคน แต่สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องออกมาตรงกัน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการทำงานเป็นทีมที่ดี
เคยสงสัยกันไหม... ว่าทำไมบางบริษัทถึงมีสลิปเงินเดือน บางบริษัทไม่มีสลิปเงินเดือน แล้วถ้าหากบริษัทไม่ออกสลิปเงินเดือนให้กับพนักงาน จะถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ ก่อนอื่นมารู้ความหมายของสลิปเงินเดือนก่อนนะคะ
การจัดการพนักงานที่ทำงานแบบกะเป็นงานที่ท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะงานของพนักงานแบบกะ พนักงานบางราย ทำงานเวลาไม่ตรงกัน เลิกงานไม่ตรงกัน จะเห็นได้ว่า แค่ HR ต้องจัดการกับเงินเดือนพนักงานที่ทำงานกะปกติ ก็แทบปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ไหนจะต้องอาศัยความแม่นยำและละเอียดอ่อนในการคำนวณเงินเดือน การคิดวันขาด ลา มา สายอีก ยิ่งถ้าเป็นองค์กรใหญ่ๆ นั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกันเลยทีเดียว ดังนั้น การที่มีตัวช่วยอย่างโปรแกรมเงินเดือน HRMI เข้ามาช่วย HR จัดการปัญหาต่างๆ ของพนักงานที่ทำงานแบบกะ จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนของพนักงาน  เพื่อลดความเสี่ยงคำนวณเงินเดือนผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทได้
หลายๆ องค์กรตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลไว้ที่อัตราการลาออกของพนักงานในองค์กร โดยมีการกำหนดอัตรามาตรฐานไว้ที่อัตราเดียวกับอุตสาหกรรมบ้าง หรือกำหนดให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาบ้าง แต่ผมยังไม่เคยเห็นองค์กรไหนที่กำหนดเป้าหมายอัตราการลาออกของพนักงานเท่า กับ 0 จริงๆ นะครับ
โปรแกรมบริหารงานบุคคล (Human Resource Management Information System หรือ HRMI) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยีและการบริหารงานบุคคล รวมถึงรวบรวมระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่สามารถช่วยงาน HR ได้ เช่น ระบบสมัครงานออนไลน์ระบบลาออนไลน์ระบบฝึกอบรมพนักงาน,ระบบสวัสดิการ, ระบบประเมินผล เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบุคคลและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน และตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแต่ละบบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
จากกฎหมายแรงงานในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) ในมาตราที่ 23 กำหนดว่า ให้นายจ้างกำหนดเวลาทำงานปกติ (Regular Working Times) ต่อวัน ไม่เกิน 8 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาพัก โดยให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักระหว่างการทำงานวันหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังทำงานมาไม่ต่ำกว่า 5 ชั่วโมง ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ได้ตามแต่ที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน หลายบริษัทจะนิยมกำหนดเวลาทำงานไว้ที่ 9 ชั่วโมง ซึ่งรวมเวลาพัก 1 ชั่วโมงด้วย เช่น กำหนดเวลาทำงานไว้ที่ 09.00 – 18.00 น. ตามเวลาทำงานปกติของคนทั่วไป หรือเวลา 22.00 – 06.00 น. ซึ่งจัดว่าเป็นการทำงานกะกลางคืน
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์