คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"

คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง

อันดับแรกมาดูที่ ประเภทเงินได้ก่อน

  • 1.เงินเดือน มาตรา 40 (1) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 2.รับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ มาตรา 40 (2) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา  50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 3.ขายสินค้า มาตรา 40 (8) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 60% หรือหักตามจริง (ต้องมีเอกสารหลักฐาน)
นอกจากนี้ในส่วนของรายได้ที่เข้าร่วมโครงการรัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง ม.33 เรารักกัน เป็นรายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
  • 1.เงินที่ได้จากลูกค้าผ่านโครงการรัฐ
  • 2.เงินสนับสนุนที่ได้จากรัฐ
  • 3.เงินที่ได้มาจากยอดขายอื่นๆ

ต่อมาเป็น เกณฑ์การเสียภาษี

  • คนโสด รายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี
  • มีคู่สมรสรายได้รวมกัน 120,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี

วิธีการคำนวณ

  • วิธีปกติ = รายได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี  (ไม่รวมเงินเดือน) ใช้สูตรคำนวณ = รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีการคำนวณปกติ)
กำหนดเวลายื่นแบบ
  • ภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค.-3. ก.ย. ของปีนั้นๆ โดยนำเงินได้ที่ไม่ใช้เงินได้
  • มาตรา 40 (1) (2) ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ของปีนั้นมารวมคำนวณภาษี
  • ภาษีประจำปี ภ.ง.ด.90 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. ของปีถัดไปโดยนำเงินได้ทุกประเภท ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษีและนำภาษีที่ชำระตาม ภ.ง.ด.94 มาเครดิตภาษีได้
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ หรือผู้ที่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเกินปีละ 1.8 ล้านบาทต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กับทางกรมสรรพากร โดยผู้ที่ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อขายสินค้า/บริการ จะต้องออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพื่อนำส่งสรรพากร และต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป



CR. : https://www.pptvhd36.com/
 256
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์