ทำไมการตั้งเป้าหมาย SMART จึงมีความสำคัญกับองค์กร

ทำไมการตั้งเป้าหมาย SMART จึงมีความสำคัญกับองค์กร

SMART คือหลักในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและมีแนวทางปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ทำให้เห็นทิศทางในการปฎิบัติที่เข้าใจได้ง่าย และนำไปปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคำว่า SMART นั้นเกิดมาจากแนวคิดดังนี้ ตลอดจนมีวิธีการปฎิบัติเพื่อการตั้งเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพตามหลักการของ SMART ดังนี้


S.M.A.R.T

S : Specific – เฉพาะเจาะจง

M : Measurable – สามารถวัดได้

A : Achievable – บรรลุผลได้

R : Realistic – สมเหตุสมผล สอดคล้องสถานการณ์ความเป็นจริง

T : Timely – กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน

S : Specific – เฉพาะเจาะจง

คือการที่องค์กรหรือบุคคลจะต้องมีเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงลงไป ไม่กว้างจนเกินไป มีความชัดเจน ไม่คลุมเครือ และต้องระบุให้ชัดเจนได้ว่าต้องการอะไร นั่นจะทำให้เรามีทิศทางในการปฎิบัติที่ชัดเจนได้ด้วย

M : Measurable – สามารถวัดได้

สามารถวัดได้ในที่นี้คือต้องวัดผลได้ มีหลักการวัดผล วิธีการ ตลอดจนการคำนวณและสรุปผลออกมาได้อย่างชัดเจน การวัดผลควรสามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ แต่ไม่ใช่การตั้งลอยๆ หรือมีหลักการประเมินตลอดจนคำนวณไม่ชัดเจน ตัวเลขต้องมีที่ไปที่มา มีหลักฐานยืนยันได้ หากเราวัดผลออกมาได้ก็จะทำให้เราสามารถรู้ว่าการปฎิบัตินั้นสำเร็จหรือไม่เพียงไร เข้าใกล้เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน ยังขาดอะไรอีกเท่าไร และควรจะต้องทำอะไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้

A : Achievable / Attainable – บรรลุผลได้

เป้าหมายที่ดีจะต้องสามารถบรรลุผลได้จริง ประสบผลสำเร็จได้ รวมถึงเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริงด้วย บางองค์กรหรือบางคนตั้งเป้าหมายไว้ดีและสวยหรูแต่เห็นได้ชัดว่าไม่มีทางบรรลุได้ หรือทำได้ยากมากๆ สิ่งนี้ไม่ใช่การตั้งเป้าหมายที่ดีเลย โดยเฉพาะการตั้งเป้าหมายตามหลักการ SMART ซึ่งควรจะต้องเป็นเป้าหมายที่จับต้องได้ มีโอกาสสำเร็จได้ และสามารถกระตุ้นให้เกิดการปฎิบัติเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายให้ได้ ในทางตรงกันข้าม หากเป้าหมายยิ่งใหญ่เกินไป มีโอกาสสำเร็จได้ยาก หรือมีเป้าหมายที่สูงจนเกินไป ก็จะยิ่งทำให้เกิดการท้อ รู้สึกว่าไม่มีวันเป็นไปได้ เสียกำลังใจในการทำงาน เป้าหมายที่ไม่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดพลังในการทำงานนั้นอาจไม่ใช่เป้าหมายที่ดี

R : Realistic / Relevant – มีความเป็นจริง สมเหตุสมผล และสอดคล้อง

เป้าหมายที่ตั้งต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง สถานการณ์จริงกับธุรกิจหรือกิจกรรมต่างๆ ของตน มีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับสถานการณ์นั้นๆ รวมถึงสอดคล้องกับสิ่งที่องค์กรต้องการ หากเป็นการตั้งเป้าหมายย่อยก็ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายใหญ่ ไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อส่งเสริมกันให้เกิดความสำเร็จ เป้าหมายควรสัมพันธ์กับธุรกิจและการประกอบการของตน นำข้อมูลจริงมาใช้ในการตั้งเป้าหมาย ไม่ใช่ตั้งขึ้นมาลอยๆ หรือนำข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับธุรกิจตลอดจนองค์กรเรามาตั้งเป้าหมาย

T : Timely – กำหนดช่วงเวลาที่ชัดเจน

สิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของการตั้งเป้าหมายคือการต้องมีการกำหนดเวลาให้ชัดเจน มีการวางแผนให้ชัดเจน มีกรอบระยะเวลาในการปฎิบัติการที่กำหนดไว้ให้รู้ชัดเจน เพื่อการปฎิบัติให้ชัดแจ้ง และการวางแผนปฎิบัติงานในส่วนต่างๆ ด้วย หากไม่มีการกำหนดเวลาที่ชัดเจนเราก็จะไม่รู้ว่าทำไปถึงเมื่อไร วางแผนอย่างไร นั่นอาจเรียกว่าไม่มีเป้าหมายเลยก็เป็นได้

SMART for KPI
การตั้งวัตถุประสงค์บนหลักการ SMART นั้นเป็นที่นิยมและมีประโยชน์อย่างมากต่อการวัดผลแบบ KPI ขององค์กร บริษัทที่นำระบบ KPI มาใช้วัดผลมักจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ (Objective) ที่ชัดเจนเพื่อที่จะสามารถวัดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมได้ตามลิงก์ด้านล่างนี้ถึงความสำคัญของการตั้งวัตถุประสงค์ตามหลักการ SMART เพื่อให้สอดคล้องกับการวัดผล KPI ที่มีประสิทธิภาพที่สุด

ทำไมการตั้งเป้าหมาย SMART จึงมีความสำคัญกับองค์กร

องค์กรที่มีการตั้งเป้าหมายโดยไม่มีหลักการอะไร อาจไม่ส่งผลให้เกิดการปฎิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เช่นกัน ดังนั้นองค์กรควรใส่ใจในการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนและสามารถบรรลุผลได้จริง ซึ่งหลักการ SMART นั้นเป็นเสมือนคู่มือในการตั้งเป้าหมายที่ยอดเยี่ยม ซึ่งหลักการนั้นมีความสำคัญตลอดจนประโยชน์ต่อองค์กรดังนี้

  • มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง : องค์กรที่มีเป้าหมายชัดเจนย่อมรู้ว่าจะปฎิบัติอย่างไรให้บรรลุเป้าหมาย การที่มีวิธีการปฎิบัติชัดเจน ตลอดจนแนวทางในการปฎิบัติที่เป็นรูปธรรม ย่อมส่งผลให้เกิดความสำเร็จได้ง่าย มีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง และบรรลุเป้าหมายได้โดยสะดวก
  • องค์กรมีทิศทางดำเนินธุรกิจหรือปฎิบัติการที่ชัดเจน : หลักการ SMART จะทำให้องค์กรมีทิศทางที่ชัดเจน ทำให้ดำเนินธุรกิจได้ชัดแจ้ง และมีทิศทางในการดำเนินธุรกิจที่เห็นได้ชัด ไม่สะเปะสะปะ ไม่เสียเวลาทำในสิ่งที่ไม่ใช่ ไม่หลงทิศทาง และก้าวไปอย่างแน่วแน่
  • กระตุ้นให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพ : การตั้งเป้าหมายตามหลัก SMART นั้นจะเน้นเป้าหมายที่สามารถบรรลุได้เจริง เพื่อที่จะทำให้เกิดพลังในการทำงาน และกระตุ้นให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ มีกำลังใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ดีที่สุด
  • สามารถใช้ประเมินผลงานกับบุคคลากรได้ : การตั้งเป้าหมายตามหลักการ SMART นั้นมีตังเลขสามารถวัดผลได้จริง ชัดเจน และนำไปใช้ประโยชน์ต่อการประเมินผลต่างๆ ได้ ตอลดจนวัด KPIs ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
  • มีการวางแผนการทำงานที่ชัดเจนและครบวงจร : เป้าหมายที่ถูกตั้งตามหลักการ SMART นั้นมีความชัดเจน รวมถึงมีกำหนดระยะเวลาที่ชัดแจ้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนการทำงาน ทำให้เราสามารถวางแผนการทำงานได้ทั้งระบบ ตลอดจนทั้งกระบวนการ และตลอดจนการวางแผนการทำงานให้ครบและครอบคลุมตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อแผนการชัดเจนก็จะทำให้เราสามารถมีทิศทางตลอดจนลำดับขั้นตอนในการปฎิบัติงานได้ดีมีประสิทธิภาพ และทำงานได้ครบวงจรในทุกกระบวนการ
  • ตามตามผลการทำงานได้ชัดเจน : เมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน และระบบการทำงานที่ชัดเจนแล้ว จะทำให้เราสามารถตามผลการทำงานตลอดทั้งระยะเวลาได้อย่างง่ายดาย สามารถประเมินผลได้ว่าขณะนั้นการปฎิบัติงานมีประสิทธิภาพแค่ไหน ประสบความสำเร็จในระดับใด และต้องทำอย่างไรที่จะให้บรรลุเป้าหมายได้
  • แก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที : การวางแผนที่ชัดเจนนั้นจะทำให้เราเห็นถึงภาพรวมทั้งกระบวนการ ตลอดจนเข้าใจในรายละเอียดการทำงานได้ดีอีกด้วย นั่นจะทำให้เราสามารถเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น จากการคาดการณ์ต่างๆ ตลอดจนการออกนอกสิ่งที่กำหนดกรอบหรือวางแผนไว้ ก็จะทำให้สามารถแก้ปัญหาได้ทันเวลา อุดรูรั่วได้ทันท่วงที

ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia
 588
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์