ลงเวลาแทนกัน ไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ ?

ลงเวลาแทนกัน ไม่จ่ายค่าชดเชยได้หรือไม่ ?



ยกตัวอย่างเหตุการณ์

A จะไปติดต่อลูกค้านอกบริษัทในช่วงบ่าย ซึ่งคิดว่าตอนเย็นรถคงติดมาก น่าจะกลับมารูดบัตรออกตอนเย็นที่บริษัทไม่ทันแน่แถมบริษัทลูกค้าที่จะไปติดต่อก็อยู่ทางเดียวกับบ้าน A ไม่อยากย้อนไปย้อนมา

A ก็เลยฝากบัตรไว้ที่ B ให้ช่วยรูดบัตรตอนเย็นแทนให้ที เพราะฉันจะไปติดต่องานกับลูกค้าแล้วจะเลยกลับบ้านไปเลย B ก็จัดการรูดบัตรแทนให้ A

ปรากฏว่า รปภ.เห็นว่า B รูดบัตรแทนให้เพื่อนก็เลยแจ้งมาที่ฝ่ายบุคคล และหัวหน้าของ A และ B ทั้งฝ่ายบุคคล และหัวหน้าของ A และ B ก็เรียกทั้ง 2 คนมาสอบถาม แล้วทั้ง 2 คนก็เล่าไปตามตรง พร้อมทั้งบอกว่าตัวเองไม่ได้ทุจริตเลย

แต่ฝ่ายบุคคลและหัวหน้าของทั้ง 2 คนก็มีข้อสรุปตรงกันว่าทั้ง A และ B ทำผิดกฎระเบียบและทุจริตต่อหน้าที่ ด้วยการรูดบัตรลงเวลาแทนกันถือเป็นความผิดร้ายแรงก็เลยทำเรื่องไปถึงกรรมการผู้จัดการ ทำหนังสือเลิกจ้างทั้ง 2 คนโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใด ๆทั้งสิ้น เพราะทั้ง 2 คนทำผิดร้ายแรงเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างกับพนักงานคนอื่น

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา ฎ.3095/2537 

“การตอกบัตรแทนกันช่วงเลิกงานไม่ได้ค่าจ้างเพิ่ม นายจ้างไม่เสียหาย แต่เป็นการผิดข้อบังคับการทำงานเท่านั้น ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง”

จากกรณีข้างต้นเมื่อดูข้อเท็จจริงแล้ว พนักงานทั้ง 2 คน มีความผิดในเรื่องลงเวลาทำงานแทนกันแต่ความผิดนี้“ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง” เพราะไม่ได้เป็นการทุจริต

ถ้าเลิกจ้างบริษัทก็ต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะจากคำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น ศาลท่านดูตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นประกอบกันด้วย แม้บริษัทจะอ้างว่าในกฎระเบียบของบริษัทบอกว่าการลงเวลาแทนกันถือเป็นการทุจริต แต่ในข้อเท็จจริงทั้ง 2 คน ไม่ได้ทุจริต

ดังนั้นในกรณีนี้สิ่งที่บริษัทควรทำคือ บริษัทควรออกหนังสือตักเตือนพนักงานทั้ง 2 คนว่า ห้ามรูดบัตรลงเวลาแทนกันอีก ถ้ารูดบัตรแทนกันอีก บริษัทจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย เพราะบริษัทได้เคยตักเตือนในเรื่องนี้ไว้แล้ว แล้วถ้าพบว่ามีการฝ่าฝืนผิดซ้ำคำเตือนนี้อีก บริษัทก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยครับ

แล้วแบบไหนที่บริษัทสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่พนักงานลงเวลาแทนกันโดยเข้าข่ายทุจริต ?

ก็เช่นบริษัทสั่งให้ น.ส. A ทำงานล่วงเวลาตั้งแต่ 17.00-22.00 น. แต่พอถึงเวลาทำโอที น.ส. A กลับแวบไปดูหนังกับแฟนแล้วก็กลับบ้านไปเลยโดยไม่ได้มาทำโอที แล้วฝากบัตรให้ น.ส. B ช่วยรูดบัตรแทนให้ด้วย แล้วเอาค่าโอทีมาแบ่งกัน

อย่างนี้เข้าข่ายทุจริตเพราะรับเงินค่าโอทีของบริษัทไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำงานให้บริษัทจริง แถมยังเอาเงินค่าโอทีมาติดสินบนเพื่อนให้รูดบัตรกลับบ้านแทนเสียอีก พฤติการณ์แบบนี้จะเข้าข่ายทุจริตต่อหน้าที่ และบริษัทสามารถเลิกจ้างทั้ง 2 คนได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน

ประเด็นหลักที่สำคัญในเรื่องนี้ก็คือ ให้ดูที่ข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร และข้อเท็จจริงนั้นเข้าข่ายทุจริตเป็นความผิดร้ายแรงจริงหรือไม่

 

ที่มา prachachat.net

 5371
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์