ปัจจุบัน Final Tax มีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่
ปัจจุบัน Final Tax มีอยู่ 5 ประเภท ได้แก่
ประเภทเงินได้ |
เงินได้ตามมาตรา |
อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย |
ดอกเบี้ยต่างๆ (เช่น เงินฝาก พันธบัตรและหุ้นกู้) |
40 (4) |
15% |
ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตราสารหนี้ |
40 (4) |
15% |
กำไรจากการโอนขายตราสารหนี้ |
40 (4) |
15% |
เงินปันผล |
40 (4) |
10% |
เงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ (ได้ทางมรดก และไม่มุ่งค้าหรือหากำไร) |
40 (8) |
อัตราก้าวหน้า โดยสำนักงานที่ดินคิดภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ |
ดังนั้นกลยุทธ์สำคัญในการวางแผนภาษี คือ ต้องเข้าใจว่าตัวเองมีเงินได้อะไรบ้าง และมีเงินได้ใดที่ได้สิทธิ Final Tax ซึ่งหมายความว่าเราจะได้สิทธิในการนำเงินได้นั้นมารวมหรือไม่รวมยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนปลายปีนั่นเอง
การรวมรายได้ทุกประเภทที่ได้รับตลอดทั้งปีไปรวมยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มีความเสี่ยงที่จะมีเงินได้เพิ่มจนเกินอัตราภาษีที่เคยจ่าย เพราะอัตราภาษีไทยเป็นอัตราก้าวหน้า หมายความว่า ยิ่งมีรายได้มาก ยิ่งเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ดังนั้น หากตัดภาระที่เสียภาษีระหว่างปีที่ได้รับสิทธิ Final Tax ออกไป จะทำให้ลดความยุ่งยากในการยื่นภาษี และทำให้เราเสียภาษีเงินได้น้อยลงอีกด้วย
เพื่อให้เห็นภาพ เรามาดูตัวอย่างกันดีกว่า สมมติว่าคุณมีรายได้จากเงินเดือนและโบนัสอยู่ที่ปีละ 1 ล้านบาท ระหว่างปีได้รับดอกเบี้ยจากเงินฝากประจำ 10,000 บาท และได้ขายทาวน์เฮาส์ที่อาศัยมา 10 ปีได้ในราคา 2 ล้านบาท (มีราคาประเมิน 2 ล้านบาทเช่นกัน) เพื่อขยับขยายไปซื้อบ้านเดี่ยวชานเมือง คุณจะต้องวางแผนภาษีอย่างไร
ขั้นตอนแรก เรามาดูรายได้แต่ละประเภท และการคำนวณภาษีกันก่อนดีกว่า
รายได้จากเงินเดือนและโบนัส เป็นรายได้ในมาตรา 40(1) ซึ่งต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้า มีวิธีคำนวณภาษี โดยสมมติว่าคุณมีซื้อประกันชีวิต 100,000 บาท มีการลงทุนใน RMF 50,000 บาท และจ่ายประกันสังคม 9,000 บาท ดังนี้
|
1,000,000 บาท |
|
100,000 บาท |
|
60,000 บาท |
|
100,000 บาท |
|
9,000 บาท |
|
50,000 บาท |
เงินได้สุทธิ |
681,000 บาท |
คำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้าตามตาราง
เงินได้สุทธิต่อปี (บาท) |
อัตราภาษี |
ภาษีแต่ละขั้นเงินได้สุทธิ(บาท) |
ภาษีสะสมสูงสุด (บาท) |
0 – 150,000 |
ได้รับยกเว้น |
0 |
0 |
150,001 – 300,000 |
5% |
7,500 |
7,500 |
300,001 – 500,000 |
10% |
20,000 |
27,500 |
500,001 – 750,000 |
15% |
37,500 |
65,000 |
750,001 – 1,000,000 |
20% |
50,000 |
115,000 |
1,000,001 – 2,000,000 |
25% |
250,000 |
365,000 |
2,000,001 – 5,000,000 |
30% |
900,000 |
1,265,000 |
> 5,000,000 |
35% |
|
ดังนั้นจะเห็นว่าจากเงินได้สุทธิที่คำนวณได้ 681,000 บาท ทำให้คุณเสียภาษีอยู่ในอัตรา 15%
ระยะเวลาการถือครอง (ปี) |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
มากกว่า 8 ปี |
ค่าใช้จ่ายที่หักได้ (%) |
92 |
84 |
77 |
71 |
65 |
60 |
55 |
50 |
หากอสังหาริมทรัพย์นั้น ได้รับมาโดยทางมรดก หรือ รับจากการให้โดยเสน่หาให้หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 50
ดังนั้นแม้ว่าคุณจะมีรายได้จาก 3 ทาง คือ รายได้จากการทำงานประจำ รายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก และรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แบบไม่มุ่งค้ากำไร แต่คุณสามารถเลือกที่จะไม่นำรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝาก และรายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์แบบไม่มุ่งค้ากำไรมารวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีเงินได้ประจำปี เพราะจะทำให้คุณมีโอกาสเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นนั่นเอง
แล้วกรณีไหนที่ควรเอามารวมเป็นรายได้เพื่อยื่นภาษีเงินได้ประจำปีล่ะ ก็กรณีที่คุณไม่มีรายได้ระหว่างปีเลย และมีเงินได้จากดอกเบี้ยสัก 300,000 บาทในปีนั้น หัก Final Tax 15% เสียทันที 45,000 บาท
ทว่าหากนำส่วนนี้ไปคำนวณเงินได้บุคคลธรรมดาปลายปีโดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 หักค่าใช้จ่ายได้ 0 บาท (ดอกเบี้ยไม่มีหักค่าใช้จ่าย) หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท เหลือ 240,000 บาท คำนวณภาษีตามอัตราก้าวหน้า โดยที่เงินได้ 150,000 บาทแรกได้รับยกเว้น และเมื่อเอา 90,000 บาทส่วนที่เกินไปคำนวณภาษี 5% ก็เท่ากับยื่นแบบเสียภาษีเพียง 4,500 บาท
สรุป สามารถขอคืนภาษีได้ 40,500 บาท หากไม่รู้หลักการนี้ และยอมให้หักภาษี 45,000 บาทไปเลย ก็จะไม่ได้เงินคืนภาษีตั้ง 40,500 บาท
ดังนั้นหลักการง่ายๆ ในการพิจาณาว่าจะใช้ Final Tax หรือไม่ คือ หากคุณมีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีประจำปีในอัตราเท่ากับหรือสูงกว่าอัตรา Final Tax แล้วละก็ คุณเลือกเสีย Final Tax น่าจะดีกว่า แต่หากต้องการความถูกต้องแม่นยำ ให้ลองคำนวณทั้ง 2 แบบ แล้วเปรียบเทียบว่าวิธีไหนที่ทำให้เราได้สิทธิประโยชน์ทางภาษีมากที่สุด
กล่าวโดยสรุป ผู้มีเงินได้ทุกคนสามารถบริหารภาษี และเสียภาษีน้อยลงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ต้องรู้ 3 เรื่องได้แก่ เงินได้เรามีอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี.เงินได้อะไรบ้างที่สามารถเสียภาษีได้เลยตั้งแต่เมื่อได้รับ โดยไม่ต้องรวมปลายปี และเงินได้ที่ได้รับยกเว้นมีอะไรบ้างที่ไม่ต้องรวมในแบบ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถบริหารภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความโดย : นิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ นักเขียนและวิทยากร