7 C’s กลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

7 C’s กลยุทธ์การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ


อย่างที่ได้พูดถึงไปข้างบนแล้วว่า 7 C’s คือเคล็ดลับที่จะมาช่วยพัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือช่วยให้ผู้รับสารของเรา ไม่ว่าจะเป็นทางเสียงหรือทางตัวอักษร เข้าใจในสิ่งที่เราจะสื่อสารออกไปอย่างชัดเจนและตรงประเด็น

7 C’s of Communication
 หรือการสื่อสารแบบ 7 C’s มีที่มาจากคำทั้ง 7 คำที่อธิบายการสื่อสารที่ดี ชัดเจน และมีประสิทธิภาพ หรือเรียกได้ว่าเป็นคุณสมบัติ 7 ประการของการสื่อสารที่ประสบผลสำเร็จ อันได้แก่ 

Clear (ชัดเจน)

คุณสมบัติอันดับแรกของการสื่อสารที่ดีคงไม่พ้นเรื่องความชัดเจนของข้อมูลที่เราสื่อสารออกไป ซึ่งมีสองลักษณะหลัก ๆ ด้วยกันก็คือ ความชัดเจนของเป้าหมาย และความชัดเจนของเนื้อหาของข้อมูลนั้น ๆ 

ในเรื่องของเป้าหมาย การสื่อสารในแต่ครั้งควรสื่อออกไปให้ชัดเจนว่าผู้ส่งสารต้องการอะไร ต้องการให้ผู้รับสารทำอะไร ยิ่งมีเป้าหมายหลายอย่างยิ่งต้องชัดเจนและแยกแบ่งประเด็นให้ดี ส่วนในเรื่องของความชัดเจน พยายามใช้คำที่ง่าย เข้าใจโดยทั่วกัน หลีกเลี่ยงการใช้ประโยควกไปวนมา อ้อมค้อมเกินไป หรือคำศัพท์ที่ใช้เฉพาะกลุ่ม

Correct (ถูกต้อง)

การสื่อสารควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงของข้อมูลที่เราจะส่งต่อไป หากผู้ส่งสารส่งข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกไป ผู้รับสารจะมีความสนใจในข้อมูลนั้นลดลง อีกทั้งยังลดความน่าเชื่อถือของผู้ส่งสารอีกด้วย ซึ่งก็จะทำให้การสื่อสารนั้นไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

Complete (ครบถ้วน)

ความสมบูรณ์ของการสื่อสารและข้อมูลเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดใน 7 C’s เลยก็ว่าได้ เมื่อเราสร้างเมสเสจใดเมสเสจหนึ่งขึ้นมา สิ่งสำคัญคือต้องให้ข้อมูลทั้งหมดที่ผู้รับสารจำเป็นต้องรู้ในแนวทางความเข้าใจของผู้ส่งสาร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันและครบถ้วน ซึ่งแต่ละคนและแต่ละสถานการณ์ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

ข้อมูลที่ครบถ้วนในการสื่อสารคือ ไม่ตกหล่นเนื้อหาสาระที่ต้องการสื่อออกไป ให้ข้อมูลที่มากเพียงพอจนผู้รับสารไม่เกิดความสงสัย และเป็นข้อมูลที่สร้างแรงจูงใจให้ผู้รับ

Concrete (หนักแน่น)

การสื่อสารที่ดีควรมีความหนักแน่น มีสาระ และเฉพาะเจาะจงเพียงเรื่องที่ต้องการสื่อ ไม่คลุมเครือหรือกว้างจนเกินไป นอกจากนี้ควรมีเหตุผล สถิติ หรือตัวอย่างอื่น ๆ ที่ยกมาซัพพอร์ตสิ่งที่ได้สื่อออกไป แต่ควรเจาะจงตรงประเด็นและสมเหตุสมผล

Concise (กระชับ)

การสื่อสารให้กระชับเป็นสิ่งสำคัญมากในการสื่อสาร เพราะจะทำให้ผู้รับสารเข้าใจที่ตัวแก่นของข้อมูลจริง ๆ ไม่ออกนอกประเด็น ซึ่งหากสื่อสารด้วยข้อมูลที่เยิ่นเย้อ ประโยคซับซ้อน หรือใช้คำที่ยากและวกไปวนมา ก็อาจเกิดการเข้าใจผิดในสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อออกไปได้ 

ผู้ส่งสารควรทำความเข้าใจเป้าหมายและเนื้อหาที่เป็นภาพรวมของสิ่งที่จะสื่อสารออกไปก่อน ไม่ใช้คำที่ไม่จำเป็นหรือขยายความมากเกินไป หยิบยกมาแต่ประเด็นหลักที่เป็นเนื้อหาสำคัญจริง ๆ และที่สำคัญคือไม่พูดซ้ำเรื่องที่พูดไปแล้วอีก

Coherent (สมเหตุสมผล)

ข้อมูลที่เราจะสื่อออกไปควรมีความเป็นเหตุเป็นผล มีตรรกะ สอดคล้องกับแก่นของเรื่องที่ต้องการจะสื่อสาร ตรงประเด็น และสร้างการยอมรับและคล้อยตาม เพราะหากข้อมูลมีเหตุผลที่ชัดเจน พิสูจน์ได้ สร้างมุมมองที่เป็นประโยชน์แก่ผู้รับสาร ก็จะยิ่งทำให้การสื่อสารนั้นประสบความสำเร็จได้ง่ายมากขึ้น

Courteous (มีมารยาท)

เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารได้ด้วยความสุภาพและแสดงให้ผู้รับสารรู้สึกว่ามีนัยยะของการให้เกียรติและเคารพกัน ข้อความที่สื่อสารออกไปควรทำให้ดูเป็นมิตร เป็นมืออาชีพ เห็นอกเห็นใจ ให้เกียรติ เปิดกว้าง และตรงไปตรงมา

ถ้าเราอยากจะรู้ว่าสิ่งที่เราจะสื่อออกไปนั้นมีมารยาทมากพอหรือไม่ก็ให้เราลองอ่านข้อมูลของตัวเองในแง่ที่จินตนาการว่าเราเป็นผู้รับสารนั้น ก็จะช่วยเปิดมุมมองของเรามากขึ้นในฐานะผู้สื่อสาร

เมื่อการสื่อสารชัดเจน ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการจะสื่อ ก็จะทำให้การประสานงานในองค์กรมีประสิทธิภาพมากขึ้น เกิดการทำงานเป็นทีม เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นได้ องค์กรจะมีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้ก็ต่อเมื่อมีทีมเวิร์กที่ดีในหมู่คนทำงาน 7 C’s ตัวนี้จะมาช่วยพัฒนาการสื่อสารของคนในองค์กร ให้เข้าใจกันมากขึ้น เพิ่มพลังใจในการทำงานให้คนในองค์กร

ทำไมเราต้องใช้ 7 C’s ในองค์กร

องค์กรที่ขาดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง จะยิ่งทำให้ลดความไว้วางใจซึ่งกันและกันในองค์กร ขาดการประสานงานที่ดี ขาดทีมเวิร์ก เพราะต่างคนต่างทำงานเฉพาะส่วนของตัวเอง หากแต่ละองค์กรนำหลักการ 7 C’s of Communication มาปรับใช้ ก็จะทำให้ทุกทีมมีการสื่อสารกันด้วยใจ ด้วยความเป็นมิตรภาพ ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจ ความไว้วางใจในกันและกัน องค์กรที่มีการสื่อสารกันอย่างใกล้ชิดในหมู่สมาชิกจะสามารถพัฒนานวัตกรรมให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากสมาชิกได้เห็นถึงภาพของเป้าหมายที่ชัดเจน เกิดแรงผลักดันให้มุ่งไปยังเป้าหมายนั้นร่วมกัน 

 

 664
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์