ข้อกฎหมายกับการออกหนังสือรับรองเงินเดือน

ข้อกฎหมายกับการออกหนังสือรับรองเงินเดือน



หนังสือรับรองเงินเดือน 
(Salary Certificate) เป็นเอกสารสำคัญที่องค์กรมีหน้าที่ออกให้แก่พนักงาน เพื่อระบุตัวตนและค่าตอบแทนว่าเป็นบุคลากรของบริษัทจริง โดยพนักงานไม่สามารถออกหนังสือรับรองเงินเดือนเองได้ ต้องให้เจ้าของกิจการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเป็นผู้ออกเอกสารเท่านั้น หากพนักงานหรือลูกจ้างทำเอกสารด้วยตัวเอง จะถือว่าทุจริตปลอมแปลงเอกสารได้

ส่วนมากพนักงานจะขอหนังสือรับรองเงินเดือนเพื่อนำไปใช้ในธุรกรรมกับสถาบันทางการเงินหรือหน่วยงานราชการ เช่น การขอสินเชื่อ การขอวีซ่า หรือการสมัครบัตรเครดิต เป็นต้น ฉะนั้น HR ต้องถามหาวัตถุประสงค์ทุกครั้งที่พนักงานมาขอเอกสารนี้ 

หนังสือรับรองเงินเดือน (Salary Certificate) จะแตกต่างจากสลิปเงินเดือน (Salary Slip) ตรงที่องค์ประกอบในเอกสารจะแตกต่างกัน โดยสลิปเงินเดือนจะมีการรวมรายได้ทั้งหมด รวมไปถึงการหักภาษีมาให้ แต่หนังสือรับรองเงินเดือนจะบอกแต่รายได้ต่อเดือนแบบไม่หักภาษี ทั้งนี้เจ้าของกิจการหรือ HR ควรออกหนังสือรับรองให้กับพนักงาน โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้

  • การระบุเอกสารว่าเป็น “หนังสือรับรองเงินเดือน” อย่างชัดเจน
  • ชื่อ-นามสกุลของพนักงาน
  • ชื่อองค์กร
  • ตำแหน่งงาน
  • วัน/เดือน/ปีที่เริ่มต้นทำงาน จนถึงวันที่ออกหนังสือรับรองเงินเดือน
  • อัตราเงินเดือนโดยไม่รวมค่าตอบแทนอื่น
  • วัตถุประสงค์ในการออกเอกสาร เช่น ใช้สำหรับการขอสินเชื่อ / การสมัครบัตรเครดิต
  • วันที่ออกเอกสาร
  • ลงชื่อผู้ออกเอกสาร หรือผู้ที่มีอำนาจในการออกหนังสือเงินเดือนพร้อมตำแหน่ง
  • ตราประทับของบริษัท (ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท)

การขอหนังสือรับรองเงินเดือนไม่ได้มีกฎหมายรองรับว่าองค์กรจำเป็นต้องออกให้พนักงาน ฉะนั้นการจะออกหนังสือรับรองเงินเดือนจึงเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะให้หรือไม่ก็ได้ อย่างไรก็ตาม ปกติแล้วพนักงานจะขอหนังสือรับรองเงินเดือนเพื่อทำธุรกรรมต่าง ๆ หากพนักงานมาขอให้ HR ออกใบรับรองเงินเดือน ก็ควรถามวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ชัดเจน เพื่อระบุไว้ในหนังสือเช่นกัน

ทั้งนี้ HR ห้ามสับสนกับ หนังสือรับรองการทำงาน เด็ดขาด เพราะกรณีการออกหนังสือรับรองการทำงานมีกฎหมายระบุไว้ชัดเจนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 585 บัญญัติว่า “เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงแล้ว ลูกจ้างชอบที่จะได้รับใบสำคัญแสดงว่าลูกจ้างนั้นได้ทำงานมานานเท่าไร และงานที่ทำนั้นเป็นงานอย่างไร”

นั่นหมายถึงเมื่อการจ้างงานสิ้นสุดลง เช่น ลาออก เลิกจ้าง หรือเลิกกิจการ องค์กรมีหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้กับลูกจ้าง และพนักงานก็มีสิทธิร้องขอไม่ว่าจะสิ้นสุดสัญญาจ้างเป็นเวลานานเท่าใด หากองค์กรฝ่าฝืนไม่ออกหนังสือรับรองการทำงานให้ ลูกจ้างเองก็สามารถรักษาสิทธิประโยชน์ตนเองได้โดยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน เพื่อให้มีคำสั่งให้นายจ้างปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน นั่นเอง


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

 
ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia



 24147
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์