Future of Recruitment อนาคตของการสรรหาที่ไม่มีวันเหมือนเดิม

Future of Recruitment อนาคตของการสรรหาที่ไม่มีวันเหมือนเดิม



กระบวนการสรรหาพนักงานใหม่ ที่ไม่ใช่แค่สำคัญมากขึ้น แต่ยังยากมากกว่าเดิม เพราะความต้องการของบริษัทไม่มีวันเหมือนเดิม หนำซ้ำผู้สมัครก็มีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมการสรรหามีการแข่งขันที่ดุเดือดมาก

บทความนี้จาก HR NOTE.asia จะมาพูดถึง Future of Recruitment อนาคตของการสรรหา ว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

1. ความหลากหลาย DEI&B แข็งแรงมากขึ้น

การยอมรับความหลากหลายทางสังคมเป็นสิ่งที่กำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อทุกคนเห็นความสำคัญของความเป็นมนุษย์อยู่เหนืออคติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความหลากหลายทางเจเนอร์เรชัน เพศ เชื้อชาติ ทักษะความสามารถ ไปจนถึงทัศนคติความเชื่อ

ทั้งนี้ ความเป็นธรรมในการสรรหาเป็นสิ่งสำคัญในการคัดเลือกพนักงานใหม่มานาน และจะยิ่งเข้มแข็งมากขึ้นท่ามกลางการเติบโตทางความคิดของสังคม สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ Diversity, Equity, Inclusion and Belonging (DEI&B) ที่แต่เดิมเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสรรหามานานแล้ว ก็จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น

รวมไปถึงการคัดเลือกพนักงานใหม่ก็จะพิจารณาว่า พนักงานคนนั้นยอมรับความหลากหลายมากน้อยเพียงใด เพราะมันไม่ใช่แค่ทักษะ แต่กลายเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงานต้องมีด้วยซ้ำ

การยอมรับความหลายหลายจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานก็ยังเป็นมิตรกับทุกคน ทุกกลุ่ม และทุกบทบาท ที่สำคัญยังส่งผลต่อประสิทธิภาพองค์กรด้วย ยกตัวอย่าง รายงานของ McKinsey ที่บอกว่า องค์กรที่มีผู้บริหารหลากหลายทางเพศมีแนวโน้มสร้างผลกำไรที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 25 %

ไม่เพียงเฉพาะในมุมธุรกิจ ตามรายงาน Recruiter National Report 2021 พบว่า ผู้สมัครงานยังสอบถามถึงการยอมรับความหลากหลายในบริษัทเพิ่มขึ้นทุกปี และ 49% ของผู้สมัครพร้อมปฏิเสธร่วมงานทันทีหากองค์กรนั้นไม่มีนโยบายเกี่ยวกับความหลากหลาย DEI&B

อนาคตองค์กรจึงต้องผลักดันนโยบายเคารพความแตกต่างระหว่างกัน รับฟังความคิดเห็นที่มีทิศทางไม่เหมือนกัน และตัดสินทุกอย่างบนความยุติธรรม นั่นจะทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมากที่สุด และส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพได้ในที่สุด

2. ขับเคลื่อนการสรรหาด้วยข้อมูลและระบบอัตโนมัติ

ทุกคนคงเคยได้ยินคำว่า Data is the new oil หรือ ข้อมูลมีค่าดั่งน้ำมัน ซึ่งปัจจุบันมีข้อมูลมากมายที่ทุกคนเข้าถึงได้ ฉะนั้นการทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์ของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ จึงเป็นทักษะสำคัญสำหรับการสรรหายุคใหม่ สอดคล้องกับรายงาน Global Talent Trends 2020 ของ LinkedIn ที่บอกว่า HR มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มขึ้น 242% ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ทุกวันนี้เหล่าผู้นำหลายองค์กร ก็ต้องการให้บุคคลากรในทีมมีกรอบความคิดเรื่องการขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและเทคโนโลยีมากขึ้น เพื่อรวบรวม วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากสถิติมาใช้จัดหากระบวนการทำงานที่ตอบโจทย์ที่สุด เช่น ใช้สถิติตรวจสอบว่าส่วนใหญ่พนักงานขายจะเข้ามาทำงานนานเท่าไหร่จึงลาออก เพื่อเตรียมพร้อมในการสรรหาครั้งต่อไป

ในอนาคตข้อมูลและระบบอัตโนมัติจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้การสรรหาทรงพลังมากขึ้น กระบวนการทำงานง่ายขึ้น และคัดเลือกคนได้เหมาะสมที่สุด เช่น การสื่อสารแบบทั่วไปเป็นอุปสรรคในกระบวนการสรรหาเพราะใช้เวลานาน เสียเวลา และทำงานซับซ้อนโดยไม่จำเป็น หากมีระบบอัตโนมัติก็จะตอบโต้ได้ทันทีตามระบบที่กำหนดไว้

เทคโนโลยีข้อมูลจึงเป็นกุญแจสำคัญในการปรับปรุงการสรรหาบุคลากร จากการสำรวจในรายงาน Future of Recruitment พบว่า 68% ของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดหางาน ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการลงทุนเครื่องมือและเทคโนโลยีการสรรหาที่ดีกว่าเป็นอันดับ 1 ในอีก 5 ปีข้างหน้า


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

 


ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia

 493
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์