อยากเห็นองค์กรพัฒนา HR ต้องมี 10 ทักษะแห่งอนาคต

อยากเห็นองค์กรพัฒนา HR ต้องมี 10 ทักษะแห่งอนาคต


เจสัน เอเวอร์บุ๊ค CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท HR Tech ชื่อว่า Leapgen เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของ HR ย่อมส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจในภาพรวมด้วย โดยมี 10 ทักษะที่มีประโยชน์อย่างมากต่อการทำงานของ HR เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ และยิ่งปรับตัวได้เร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งดีต่อองค์กรมากขึ้นเท่านั้น ดังต่อไปนี้

ทักษะที่ 1 – ต้องกล้าเปลี่ยนแปลง 

เอเวอร์บุ๊ค เชื่อว่าทุกบริษัทต้องการผู้นำที่พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งที่ดีกว่า และนำพาทุกคนไปสู่การสร้างพฤติกรรมใหม่ให้เกิดขึ้น

ทักษะที่ 2 – พร้อมสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ

HR ยุคใหม่ต้องสามารถจัดวางกลยุทธ์ เพื่อช่วยใหประดิษฐ์หรือคิดค้นนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้เสมอ

ทักษะที่ 3 – รับฟังและเข้าอกเข้าใจ 

หากปราศจากผู้ฟังที่ดี คนทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจด้านการสร้างสรรค์ก็จะออกแบบงานต่างๆ เหมือนเดิม ไร้ซึ่งการพัฒนา ไร้ซึ่งการเติบโต

ทักษะที่ 4 – ใช้ประโยชน์จากข้อมูลให้เป็น 

หากมีข้อมูลที่น่าสนใจ แต่ถ้าไม่สามารถเอามาใช้งานได้ ก็ไม่มีประโยชน์ 

ทักษะที่ 5 – มีความยืดหยุ่น 

ต้องพร้อมรับมือต่อทุกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ทักษะที่ 6 – พร้อมปรับตัว เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ 

ทักษะนี้ใกล้เคียงกับข้อก่อนหน้า เอเวอร์บุ๊ค มองว่าในเมื่อ HR เป็นหนึ่งในอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ดังนั้นควรเลิกยึดติดอยู่กับองค์ความรู้เดิมๆ เลิกเอาวิถีการทำงานเก่าๆ ไปใช้ต่อในอนาคตที่หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไปแล้ว

ทักษะที่ 7 – รู้จักสื่อสาร เล่าเรื่องให้เป็น 

เพราะ HR จำเป็นต้องพูดคุยและทำงานกับผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่ไม่ได้อยู่ในสายงานเดียวกัน ดังนั้นการใช้ภาษาเข้าใจง่ายในเวลาสั้นๆ ประหนึ่งมีเวลาเพียง 30 วินาทีเท่านั้นในการอธิบายให้ CEO หรือ CFO ฟัง จะยิ่งเป็นประโยชน์ต่อทุกคนรอบตัว

ทักษะที่ 8 – มีความคิดสร้างสรรค์ 

นำข้อมูลต่างๆ มาใช้อย่างเกิดประโยชน์ และถูกที่ถูกจังหวะด้วย

ทักษะที่ 9 – ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ 

ข้อนี้เป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน HR เสมอมา การทำงานในยุคต่อไป HR ต้องเลิกทำงานจากระดับบนลงมาล่าง แล้วเปลี่ยนไปทำงานในแนวราบ หรือในระดับเดียวกัน เป็นผู้นำที่สร้างความเท่าเทียม

ทักษะที่ 10 – มีวิสัยทัศน์ 

หมายถึงมีความสามารถในการมองเห็นแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจรอบตัว และต้องมองด้วยความเปิดใจหากพบเจอสิ่งผิดปกติ จะได้สามารถแก้ไข และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ทัน

หาก HR และผู้นำองค์กรมีครบทั้ง 10 ทักษะเหล่านี้ มั่นใจได้ว่าจะช่วยนำพาองค์กรเติบโต และประสบความสำเร็จไปอีกนานแสนนาน


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!




ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia

 646
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์