กองทุนเงินทดแทน (กท.26ก, กท.20ก และ กท.25ค)

กองทุนเงินทดแทน (กท.26ก, กท.20ก และ กท.25ค)


หากธุรกิจของคุณเริ่มมีการจ้างลูกจ้างแล้วก็จะมีหน้าที่ขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนของกองทุนประกันสังคมโดยนายจ้างจะจ่ายเงินประกันสังคมสมทบร่วมพร้อมกับที่หักออกจากรายได้ของพนักงานในทุกๆเดือนและยังมี "กองทุนเงินทดแทน" อีกกองทุนหนึ่งที่นายจ้างจะต้องจ่ายเงินทดแทนประจำปีให้ในช่วงทุกต้นปี ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์นี้ก็ถึงเวลาต้องส่งรายงานค่าจ้างที่จ่ายจริงแก่สำนักงานประกันสังคมแล้ว

ประเด็นสำคัญ

  • กองทุนเงินทดแทนเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่นายจ้างจะต้องจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างโดยจ่ายแบบเป็นรายปีเพียงฝ่ายเดียว 
  • ขั้นตอนคือสำนักงานประกันสังคมจะประเมินค่าจ้างหรือค่าจ้างรายวันแบบคร่าวๆในช่วงเดือนธันวาคมพร้อมส่งแบบ กท.26 ก. และแบบ กท.20 ก มาให้ 
  • นายจ้างชำระยอดตามที่ประกันสังคมประเมินมาลงในแบบ กท.26 ก. ก่อนสิ้นเดือน ม.ค.
  • นายจ้างรายงานค่าจ้างที่จ่ายจริงทั้งหมดของปีที่ผ่านมาลงแบบ กท.20 ก ก่อนสิ้นเดือน ก.พ.
  • เมื่อนำส่งแบบแล้ว นายจ้างจะได้รับแบบแจ้งประเมินกองทุนทดแทน กท.25 ค กรณีต้องจ่ายเงิน ทดแทนเพิ่มเติม ซึ่งต้องทำก่อนสิ้นเดือน มี.ค 
  • นายจ้างหรือพนักงานที่รับผิดชอบเรื่องเงินเดือนของลูกจ้างสามารถดึงข้อมูลลูกจ้างจากระบบเงินเดือนของแต่ละบริษัทมาทำ กท.20 ก ได้


ที่มา : LINK
 2592
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
Employer Value Proposition (EVP) คือ ข้อเสนอที่องค์กรหรือบริษัทมอบให้กับพนักงาน เพื่อแลกกับทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ที่พนักงานนำมาใช้ในองค์กร เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคุณค่าและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากการทำงานในองค์กรนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงค่าตอบแทนทางการเงิน แต่ยังรวมถึงประเด็นอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาอาชีพ และความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว
การทำงานเป็นทีม คือ การทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป จำนวนคนในทีมขึ้นอยู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีในการทำงานแต่ละโปรเจกต์ ภายใต้เงื่อนไขกรอบการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน ผ่านการวางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อไปยังปลายทางที่ตั้งไว้ โดยวิธีการทำงานอาจจะแตกต่างกันไปได้ตามความถนัดของแต่ละคน แต่สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องออกมาตรงกัน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการทำงานเป็นทีมที่ดี
เคยสงสัยกันไหม... ว่าทำไมบางบริษัทถึงมีสลิปเงินเดือน บางบริษัทไม่มีสลิปเงินเดือน แล้วถ้าหากบริษัทไม่ออกสลิปเงินเดือนให้กับพนักงาน จะถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ ก่อนอื่นมารู้ความหมายของสลิปเงินเดือนก่อนนะคะ
การจัดการพนักงานที่ทำงานแบบกะเป็นงานที่ท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะงานของพนักงานแบบกะ พนักงานบางราย ทำงานเวลาไม่ตรงกัน เลิกงานไม่ตรงกัน จะเห็นได้ว่า แค่ HR ต้องจัดการกับเงินเดือนพนักงานที่ทำงานกะปกติ ก็แทบปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ไหนจะต้องอาศัยความแม่นยำและละเอียดอ่อนในการคำนวณเงินเดือน การคิดวันขาด ลา มา สายอีก ยิ่งถ้าเป็นองค์กรใหญ่ๆ นั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกันเลยทีเดียว ดังนั้น การที่มีตัวช่วยอย่างโปรแกรมเงินเดือน HRMI เข้ามาช่วย HR จัดการปัญหาต่างๆ ของพนักงานที่ทำงานแบบกะ จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนของพนักงาน  เพื่อลดความเสี่ยงคำนวณเงินเดือนผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทได้
หลายๆ องค์กรตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลไว้ที่อัตราการลาออกของพนักงานในองค์กร โดยมีการกำหนดอัตรามาตรฐานไว้ที่อัตราเดียวกับอุตสาหกรรมบ้าง หรือกำหนดให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาบ้าง แต่ผมยังไม่เคยเห็นองค์กรไหนที่กำหนดเป้าหมายอัตราการลาออกของพนักงานเท่า กับ 0 จริงๆ นะครับ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์