ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะทำงานร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 2)

ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะทำงานร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 2)



วันนี้เราจะมาต่อในเรื่องของคุณลักษณะของคนแต่ละ Generation กันว่าจะมีจุดเด่น จุดด้อยอะไรกันบ้าง และมีลักษณะที่โดดเด่นอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะได้เห็นว่า แต่ละ Gen นั้น มีทัศนคติ ความชอบ ไลฟ์สไตล์ ที่แตกต่างกันอย่างไร ก็ถือว่าเป็นการทบทวนกันอีกสักครั้งสำหรับบางท่านที่พอจะรู้อยู่แล้วนะครับ ส่วนท่านที่ยังใหม่กับเรื่องนี้ก็จะได้ทราบว่า แต่ละ Gen มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าใจ และนำเอาไปออกแบบระบบบริหารจัดการกันอีกทีครับ

คุณลักษณะของคนในแต่ละ Generation นั้น มีความแตกต่างกันออกไปค่อนข้างจะมาก เนื่องจากแต่ละ Gen ถูกเลี้ยงดูขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง ยุคสมัยที่แตกต่างกัน ความเจริญของเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน เลยทำให้แต่ละ Gen มองโลกไม่เหมือนกัน ลองมาดูลักษณะของคนแต่ละ Gen กัน

• Baby Boomer คนรุ่นนี้จะเกิดในช่วง ปี ค.ศ. 1946-1964 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคข้าวยากหมากแพง คนรุ่นนี้จึงต้อง

o ดิ้นรน ทำงานหนัก เพื่อที่จะสร้างฐานะของตนเองขึ้นมา ธุรกิจและองค์กรใหญ่ยังมีไม่มากนัก เติบโตขึ้นมาท่ามกลางการแข่งขันที่สูงมาก ดังนั้นคนรุ่นนี้จึงเชื่อเรื่องของการทำงานที่ทุ่มเท เชื่อในกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน และจะต้องทำตามขั้นตอนและกระบวนการที่กำหนด

o เป็นคนทำงานหนัก มาทำงานแต่เช้า กลับบ้านดึก เพราะถือว่านี่เป็นวิธีการแสดงออกถึงความทุ่มเทให้กับองค์กร เชื่อเรื่องของกฎระเบียบข้อบังคับของบริษัทมาก พยายามปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพราะถือเป็นผลงานอย่างหนึ่ง

o ส่วนคนที่ประสบความสำเร็จ ก็ถือว่าเป็นคนที่สร้างตัวเองขึ้นมาจากศูนย์ มองว่าตัวเองเหนื่อยยาก กว่าจะทำงานได้ประสบความสำเร็จ จึงชอบพนักงานที่มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท มาทำงานแต่เช้า กลับดึกๆ คล้ายๆ กับที่ตนเองยังหนุ่มอยู่ มักจะมองเห็นตัวเองผ่านพนักงานที่มีพฤติกรรมคล้ายๆ กัน ดังนั้น พนักงานคนไหนที่มีพฤติกรรมเหมือนเขา ก็มักจะถูกมองว่าเป็นพนักงานที่มีผลงานที่ดี คือมองกระบวนการทำงานมากว่า ผลลัพธ์ที่ออกมา พนักงานคนนั้นอาจจะมาขยันมาทำงานแต่เช้า แต่ผลงานอาจจะออกมาไม่ค่อยดีนัก แต่คนกลุ่มนี้เชื่อเรื่องของกระบวนการมากกว่า เชื่อว่ากระบวนการที่ดีจะไปสู่ผลที่ดีตามมา แต่อาจจะช้าหน่อยก็ไม่เป็นไร

• Generation X คนรุ่นนี้ เกิดในช่วงปีค.ศ. 1965-1978 เป็นรุ่นลูกของ Baby Boomer ซึ่งถูกเลี้ยงดูมาโดยที่พ่อแม่ทำงานหนักทั้งคู่ หรือไม่ก็คนเป็นพ่อทำงานหนัก แต่แม่เป็นแม่บ้านเลี้ยงดูลูก ก็มักจะเห็นตัวอย่างจากการทำงานหนักของพ่อ และแม่เองก็ชื่นชมพ่อที่ทำงานหนักให้ลูกฟังบ่อยๆ ซึ่งลูกไม่ได้ชอบเลย เพราะเห็นว่า บางครั้งการทำงานหนักของพ่อนั้น องค์กรก็ไม่เห็นจะดูแลอะไร เวลาที่จะเลิกจ้าง ก็เลิกเลย ไม่สนใจว่าทำงานหนักให้องค์กรสักแค่ไหน ผลก็คือ

o คน Gen X จะไม่เชื่อเรื่องของการทำงานหนักในลักษณะของกระบวนการทำงาน แต่จะเชื่อเรื่องของการทำงานแบบ Work-Life Balance คือทำงานหนักได้ แต่เรื่องของชีวิตส่วนตัวก็ต้องมีความสมดุลกันด้วย ดังนั้นจึงเชื่อว่า งานไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต

o มองเงินว่าเป็นเครื่องมือบ่งบอกความก้าวหน้าของชีวิต แต่ถ้าเงินก้อนนั้นทำให้ชีวิตต้องเสียความสมดุลไป ก็ยอมที่จะทิ้งเงิน เพื่อเลือกชีวิตที่สมดุล และมีความสุขมากกว่า

o คนรุ่นนี้เป็นคนที่ถูกเลี้ยงโดยคุณแม่ส่วนใหญ่ และมักจะเป็นลูกที่มีพี่น้องไม่กี่คน ก็จะทำให้ทักษะเรื่องของคน ไม่ค่อยดีนัก (แต่ก็ไม่เสมอไป) ชอบทำงานคนเดียว บอกแค่ผลที่ต้องการ แล้วเขาจะไปหาวิธีการทำงานมาให้จนได้ โดยไม่ต้องไปลงลึกเรื่องของขั้นตอนและวิธีการทำงานอะไรเลย ดังนั้นคนรุ่นนี้จึงรับไม่ค่อยได้ ถ้าคนรุ่นใหม่ จะต้องมาถามแล้วถามเล่า ถึงวิธีการทำงาน ถามถึงความเห็นว่าแบบไหนดี ควรจะใช้วิธีการใดดีในการทำงาน ฯลฯ คนกลุ่มนี้จะมองว่า ทำไมคิดเองไม่ได้ ตัวเขายังสามารถทำเองคิดเองได้จนกระทั่งงานสำเร็จได้เลย ก็จะมองคนรุ่นหลังว่าเป็นพวกที่วางแผนทำงานไม่เป็น คิดอะไรก็ไม่ออก ต้องคอยถามอยู่ตลอดเวลา

o ส่วนเรื่องเทคโนโลยีนั้น คนรุ่นนี้ก็ยังคือว่าเป็นคนที่ยังทันต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพราะเติบโตในช่วงเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีพอดี

• Generation Y คนรุ่นนี้ เกิดในช่วงปีค.ศ. 1979-1990 เป็นคนรุ่นใหม่ล่าสุดที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง คนรุ่นนี้ ถูกเลี้ยงดูและเติบโตมากับครอบครัวที่พอจะมีฐานะอยู่บ้าง โดยส่วนใหญ่ไม่ได้ลำบากมากนัก พ่อแม่ พยายามที่จะดูแลให้ดี อยากได้อะไรก็จัดให้ รวมทั้งเกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีต่างๆ รอบตัวไปหมด เกิดมาก็เห็นคอมพิวเตอร์แล้ว ได้จับเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ตั้งแต่เด็กๆ ก็เลยคุ้นเคยกับเทคโนโลยีต่างๆ เป็นอย่างดี ลักษณะส่วนใหญ่ของคนรุ่นนี้คือ

o มองโลกในแง่บวก สบายๆ ไม่ซีเรียสกับเรื่องอะไรมากนัก เพราะถูกเลี้ยงมาอย่างดี

o มีความเชื่อมั่นในตนเองสูงมาก อยากประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างรวดเร็ว พูดง่ายๆ ก็คือ อยากเป็นผู้จัดการ หรือเจ้าของกิจการตั้งแต่อายุ 25-26 ปี เพราะทั้งชีวิตที่โตมา ได้เห็นและรับรู้เรื่องราวของคนที่ประสบความสำเร็จมาเยอะ ก็เลยอยากประสบความสำเร็จบ้าง

o เชื่อว่าเงินมีความสำคัญในการดำรงชีวิต และสามารถซื้อได้ทุกสิ่งทุกอย่าง คนรุ่นนี้เป็นคนที่ซื้ออะไรง่าย และก็เบื่อง่าย เพราะมีอะไรใหม่ๆ มาให้เห็นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น อาจจะเพิ่งซื้อโทรศัพท์รุ่นใหม่มาได้ไม่ถึงปี ก็เปลี่ยนทันทีเมื่อมีรุ่นที่ใหม่กว่าออกมา

o ชอบอะไรที่ยืดหยุ่น ใช้ชีวิตโดยเน้นเป้าหมายและความสำเร็จเป็นหลัก โดยไม่ยึดถือกับกระบวนการและวิธีการทำงานมากนัก ไม่ค่อยเชื่อกฎเกณฑ์ในการทำงาน รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ เพราะมองว่า สิ่งเหล่านั้นไม่มีความยืดหยุ่นเลย เขาอาจจะใช้วิธีการอย่างอื่น เพื่อที่จะทำงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดได้ ดังนั้น พฤติกรรมก็จะออกมาในลักษณะที่ไม่ค่อยอยากมาทำงานตรงเวลา ทุกที่เป็นที่ที่ทำงานได้หมด ไม่จำเป็นต้องเข้ามานั่งทำงานในออฟฟิศก็ได้ ซึ่งจุดนี้เองก็จะขัดกับแนวคิดของคนรุ่นเดิมๆ ซึ่งเชื่อในเรื่องของกระบวนการทำงานมากกว่าผลสำเร็จ

o เป็นคนที่ต้องบอกรายละเอียดในการทำงานที่ชัดเจน เพราะถูกเลี้ยงมาโดยพ่อแม่ที่บอกสูตรลับความสำเร็จให้ทุกอย่าง จนแทบจะไม่ต้องไปลองผิดลองถูกอะไรเลย ดังนั้น ถ้ามอบหมายงานแบบบอกเป้าหมาย แล้วให้เขาไปหาวิธีการเอาเองนั้น เขาจะไม่ชอบ และจะพยายามมาสอบถามเสมอว่า สิ่งที่ทำอยู่นั้นมันใช่หรือไม่ ถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้เกิดความแน่ใจ ซึ่งหัวหน้า Gen X ก็จะติดรำคาญหน่อยๆ เพราะมาถามอยู่ได้ ทำไมไม่หาทางเอง หรือคิดเองบ้าง

o คนรุ่นนี้ จะรู้สึกปกติกับการให้ Feedback บอกได้เลยว่าผลงานที่ออกมานั้น ดีหรือไม่ดีอย่างไร เขาพร้อมที่จะรับฟังเสมอ เพราะถูกเลี้ยงดูมากับการบอกเล่า และการได้ Feedback มาโดยตลอด จึงไม่ค่อยกลัวในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งตรงนี้จะไม่เหมือนกับคนกลุ่ม Baby boomer ซึ่งไม่ชอบการ Feedback เลย เพราะเหมือนกำลังถูกลงโทษ

เมื่อเห็นลักษณะเด่นของแต่ละ Gen แล้ว ก็คงจะพอเข้าใจแล้วนะครับว่าทำไมถึงเกิดความขัดแย้งในการทำงานได้ โดยที่บางครั้งแทบหาสาเหตุของความขัดแย้งนั้นไม่เจอเลย ซึ่งจริงๆ แล้วก็มาจากมุมมอง ทัศนคติ และความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละ Gen ซึ่งก็มาจากการเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันในคนแต่ละรุ่น

เมื่อเข้าใจธรรมชาติเหล่านี้แล้ว ก็จะง่ายขึ้นในการที่จะสร้างระบบต่างๆ ที่จะทำให้ทั้ง 3 Gen สามารถที่จะอยู่ทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขได้ไม่ยากนัก ซึ่งพรุ่งนี้ผมจะมาต่อในเรื่องของระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่องค์กรจะ ต้องสร้างให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะบริหารคนหลายๆ Generation ในองค์กรของเรา



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 5013
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์