ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะทำงานร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 3)

ต่าง Gen ต่างใจ แล้วจะทำงานร่วมกันอย่างไรดี (ตอนที่ 3)



วันนี้ก็เป็นตอนที่ 3 ของเรื่องราวเกี่ยวกับการบริหารจัดการคนแต่ละ Generation ให้สามารถทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น เพื่อที่จะสร้างผลงานที่ดีให้กับองค์กร สองตอนที่ผ่านมาได้เล่าให้อ่านเกี่ยวกับคุณสมบัติของคนในแต่ละ Gen ว่ามีอะไรที่โดดเด่นบ้าง และมีความคิด ทัศนคติ การมองโลกต่างกันอย่างไรบ้าง ไปแล้ว วันนี้จะมาต่อในเรื่องของแนวทางในการบริหารจัดการคนแต่ละ Gen ก่อน เพื่อที่จะได้ภาพรวมของการบริหารคน แล้ววันถัดไปค่อยมาต่อเรื่องของระบบการบริหารภายในองค์กรเองว่าจะต้องทำ อย่างไรบ้าง เพื่อให้แต่ละ Gen อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ส่วนใหญ่เรื่องของการบริหารจัดการคนนั้น เรามักจะมองอยู่ใน 2 ประเด็นหลักๆ ก็คือ ดึงดูด (Attract) และ รักษาไว้ (Retain) ลองมาดูว่า เราจะ Attract และ Retain พนักงานในแต่ละ Gen ได้อย่างไรบ้าง

ว่าด้วยเรื่องของการดึงดูดพนักงาน (Attraction)

• Baby Boomer จากคุณลักษณะของ Gen นี้ ที่เขียนไว้ตอนที่ 2 การที่เราจะดึงดูดคนกลุ่มนี้เข้าทำงานในองค์กรได้นั้น จากผลการวิจัยที่ได้สอบถามกลุ่ม Baby Boomer จำนวนกว่าพันคน สามารถสรุปได้ดังนี้

o เงินเดือน พนักงานกลุ่มนี้ ยังคงต้องการเงินเดือน หลายท่านอาจจะสงสัยว่าที่เคยทราบว่า คน Gen นี้ไม่เน้นเรื่องเงินไม่ใช่หรือ จริงๆ แล้วทุก Gen ล้วนต้องการเงินเดือน เพื่อใช้จ่ายอยู่แล้วครับ เพราะนี่เป็นการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของคนเราอยู่แล้ว ยิ่ง Gen นี้ เขามองว่า ถ้าองค์กรต้องการประสบการณ์การทำงานอันยาวนานของเขา ก็ต้องมีเรื่องของค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อกันด้วยเช่นกัน ยิ่งคนรุ่นนี้ จะเอาเรื่องของเงินมาเป็นตัววัดความสำเร็จอยู่บ้างเหมือนกัน

o สวัสดิการที่เน้นเรื่องของ Work-Life Balance กลุ่ม Baby Boomer หลายคน มีอายุมากแล้ว และไม่สามารถที่จะขับรถได้ เพราะด้วยสายตา และการตอบสนองที่ช้าลง ดังนั้นการเดินทางมาทำงานก็อาจจะมีปัญหาได้ ถ้าคนกลุ่มนี้เข้ามาในระดับบริหาร บริษัทก็อาจจะมีการจัดรถประจำตำแหน่ง และมีคนขับรถให้ได้ แต่ถ้าไม่สามารถให้สิ่งเหล่านี้ได้ สิ่งที่คนกลุ่มนี้ต้องการก็คือ ความยืดหยุ่นในการทำงาน เช่น ทำงานที่บ้านได้ โดยเชื่อมต่อระบบเข้ามายังบริษัท และสามารถที่จะทำงานจากบ้านมาได้เลย โดยไม่ต้องเดินทางมายังบริษัท ก็จะทำให้คนกลุ่มนี้สะดวกที่จะทำงาน และอยากทำงานให้กับองค์กรมากขึ้น เพราะสามารถที่จะอยู่บ้าน เลี้ยงหลานไปด้วย และทำงานให้กับองค์กรได้ด้วย

o สถานภาพ และตำแหน่ง ปัจจัย ที่ 3 ที่จะดึงดูดคนกลุ่มนี้เข้าทำงานกับองค์กรก็คือ เรื่องของสถานภาพ และตำแหน่งงานที่องค์กรมอบให้ เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์มามาก ทั้งวัยวุฒิ และคุณวุฒิ ก็อาจจะมีความคาดหวังว่าองค์กรจะมองและยกย่องเขา ให้ความสำคัญกับเขา เพราะเป็นคนที่มีองค์ความรู้และมีประสบการณ์มามาก ดังนั้น สิ่งที่องค์กรจะต้องจัดให้มีก็คือ เรื่องของ Recognition การวางสถานภาพของเขาให้อยู่เป็นคนที่มีความสำคัญ และมีความเชี่ยวชาญ จริงๆ จากการสัมภาษณ์ คน Gen นี้ไม่ต้องการตำแหน่งอะไรในองค์กรที่สูงๆ แต่ต้องการการให้ความสำคัญมากกว่า

• Generation X จากคุณลักษณะของ Gen นี้ ที่เขียนไว้ตอนที่ 2 การที่เราจะดึงดูดคนกลุ่มนี้เข้าทำงานในองค์กรได้นั้น จากผลการวิจัยที่ได้สอบถามกลุ่ม Generation X จำนวนกว่าพันคน สามารถสรุปได้ดังนี้

o บรรยากาศในการทำงาน Gen X นี้มองเรื่องของบรรยากาศในการทำงานเป็นเรื่องสำคัญก่อนเรื่องอื่นๆ และบรรยากาศที่เขาต้องการก็คือ การทำงานที่มีบรรยากาศแบบครอบครัว มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง ไม่ชอบเรื่องของการเมือง และการแก่งแย่งชิงดีกันมากนัก ดังนั้นถ้าองค์กรของเรามีชื่อเรื่องของการทำงานที่เป็นกันเอง อบอุ่น เหมือนครอบครัวเดียวกัน ก็จะยิ่งสามารถดึงดูด Gen X เข้ามาทำงานได้มากขึ้น

o Work-Life Balance ปัจจัย ที่สองที่จะดึงดูด Gen X ได้ดี ก็คือ เรื่องของการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ถ้าองค์กรมีระบบการให้สวัสดิการที่มองถึงเรื่องนี้ ก็จะยิ่งทำให้คน Gen นี้อยากเข้ามาทำงานด้วยมากขึ้น เพราะคน Gen X โดยธรรมชาติจะมุ่งเน้นในเรื่องนี้อยู่แล้ว เขาสามารถที่จะลาออกจากงาน ไม่รับเงินเดือนสูงๆ แค่เพียงเพราะงานที่ทำมันทำให้เขารู้สึกว่าเขาสูญเสียเวลาในการทำอย่างอื่นไป ซึ่งเขามองว่ามันไม่คุ้มเลย

o ค่าจ้างเงินเดือน คน Gen X จะไม่ได้เน้นเรื่องของตัวเงินเดือนมูลฐานว่าจะต้องได้มากๆ แต่จะมองในภาพค่าจ้างรวมทั้งหมดว่า Total Package แล้วเขาได้รับอะไรบ้าง และได้รวมแล้วเท่าไหร่ เพราะเขาต้องการมองในเรื่องของการสร้างความสมดุลในชีวิตและการทำงานมากกว่า ที่จะมองเรื่องของเงินเดือนเพียวๆ ดังนั้น ถ้าองค์กรจะดึงดูดคนกลุ่มนี้ได้ดี ก็อาจจะต้องชี้แจงเรื่องค่าจ้างในมุมของทั้ง Package ว่ามีอะไรบ้าง สัดส่วนเท่าไหร่อย่างไร เงื่อนไขที่จะได้เป็นอย่างไร มากกว่าที่จะไปเน้นเรื่องของเงินเดือนมูลฐานที่สูงๆ แล้วไม่มีอย่างอื่นประกอบ

• Generation Y จากคุณลักษณะของ Gen นี้ ที่เขียนไว้ตอนที่ 2 การที่เราจะดึงดูดคนกลุ่มนี้เข้าทำงานในองค์กรได้นั้น จากผลการวิจัยที่ได้สอบถามกลุ่ม Generation Y จำนวนกว่าพันคน สามารถสรุปได้ดังนี้

o เงินเดือนสูงๆ ปัจจัยแรก ที่ Gen Y ต้องการในการตัดสินใจเข้าทำงานกับองค์กร ก็คือ เรื่องของเงินเดือนที่สูงกว่าองค์กรอื่นที่เสนอมา โดยที่ไม่มององค์กรประกอบอื่นๆของค่าจ้างเลย เขาต้องการเงินเดือนมูลฐานที่สูง ส่วนเรื่องของโบนัส ค่าตำแหน่ง ค่าวิชาชีพ ไม่ต้องพูดถึง เพราะเขาไม่ได้มองค่าจ้างเป็น Package เหมือน Gen X ดังนั้น ถ้าองค์กรอยากได้เด็กรุ่นใหม่ ใน Gen Y เข้ามาทำงาน ก็คงต้องมีการออกแบบระบบอัตราแรกจ้างใหม่ ให้สูงกว่าตลาด เพื่อเป็นการดึงดูดคนเข้ามาทำงานได้มากขึ้น

o บรรยากาศในการทำงานแบบสบายๆ ปัจจัย ที่สองที่จะดึงดูด Gen Y ได้ดี ก็คือ บรรยากาศในการทำงานที่สบายๆ ไม่ต้องมีพิธีรีตองมากมาย ชุดฟอร์มไม่ต้องได้มั้ย เพราะมันแก่ หรือจะมาทำงานก็ต้องมาตอกบัตร สแกนนิ้ว มีการกำหนดเวลาทำงานอย่างชัดเจน ไม่ยืดหยุ่นเลย หรือการให้เขามีอิสระในการที่จะออกแบบ หรือตกแต่งโต๊ะทำงานของเขาเองได้ รวมทั้งมีการจัดบริเวณที่ทำงานให้มีกิจกรรม เกมสันทนาการเล็กๆ ในบริษัท เพื่อให้เขารู้สึกผ่อนคลาย มาทำงานเหมือนกับมาเที่ยวเล่นได้

o โอกาสในการเติบโตในองค์กร ปัจจัยที่จะดึงดูด Gen Y เข้าทำงานอีกเรื่องที่เขาต้องการก็คือ โอกาสที่จะได้เรียนรู้งาน พัฒนางาน และเติบโตก้าวหน้าในองค์กร ถ้าองค์กรมีการกำหนดและวางระบบ Career Development โดยสร้างระบบการพัฒนาคนอย่างจริงๆ จังๆ และมีเส้นทางความก้าวหน้าชัดเจนมากๆ Gen Y จะชอบมาก เพราะมองเห็นว่า เขาจะต้องทำอย่างไร แค่ไหน ที่จะทำให้ตัวเองก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะ Gen Y นี้ ต้องการที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็วมากๆ

จากข้อมูลข้างต้นก็น่าจะพอทำให้ผู้บริหาร และ HR ทั้งหลายพอที่จะมองเห็นแนวทางในการวางระบบการสรรหาคัดเลือก และสร้างระบบงานเพื่อที่ดึงดูดเอาคนกลุ่มที่เราต้องการเข้ามาทำงานในองค์กรได้ง่ายขึ้น ผมเชื่อเลยว่า หลายองค์กรเกิดปัญหาที่ว่า เราอยากได้ Gen Y แต่เรายังบริหารแบบ Baby Boomer หรือเราอยากได้ผู้บริหาร Gen X เข้ามามากขึ้น แต่องค์กรเราไปเน้นเรื่องของ Gen Y Baby Boomer มากเกินไป เราก็ไม่สามารถที่จะได้กลุ่มคนเป้าหมายที่เราต้องการได้แน่นอน

ดังนั้นระบบดึงดูดคน ที่พูดมาทั้งหมดนี้ ก็จะต้องไปเชื่อมกับสิ่งที่ปัจจุบันเราเรียกมันว่า Employer Branding นั่นเองครับ เพื่อทำให้เราได้คนอย่างที่เราต้องการ



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4844
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์