ผู้นำที่ไม่ดี สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดีตามมา

ผู้นำที่ไม่ดี สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ดีตามมา



เมื่อวานนี้เขียนถึงผู้นำกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ก็มีคำถามเกิดขึ้นว่า แล้วพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านั้นจะก่อให้เกิดปัญหาอะไรตามมาได้บ้าง จริงๆ แค่อ่านจบก็ทราบแล้วว่า ถ้าผู้นำเป็นอย่างบทความเมื่อวานนี้จริงๆ สภาพขององค์กรคงจะไม่น่าอยู่อย่างยิ่ง ผลที่ตามมาและเป็นผลที่ค่อนข้างจะร้ายแรงก็คือเรื่องของวัฒนธรรมองค์กรนั่นเองครับ

หลายๆ ตำรา และหลายๆ งานวิจัยต่างก็ยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า พฤติกรรมของผู้นำมีส่วนสร้าง หรือทำลาย วัฒนธรรมที่ดีขององค์กรได้อย่างชัดเจนมากๆ

• ผู้นำที่ไม่ตัดสินใจ ก็จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบไม่มีใครกล้าตัดสินใจเช่นกัน เพราะขนาดตัวผู้นำเองยังดองเรื่องไว้ หรือรอๆๆ ไปเรื่อยๆ การทำงานของพนักงานระดับรองๆ ลงมาก็จะยึดแนวทางเดียวกัน ก็คือ รอไปเรื่อย เพราะเรื่องที่ส่งขึ้นไปยังไม่ตัดสินใจ พนักงานก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก สุดท้ายวัฒนธรรมองค์กรก็จะเป็นแบบเรื่อยๆ ไม่มีใครที่จะกล้าฟันธง หรือตัดสินใจอะไรเลย องค์กรแบบนี้ จะเดินหน้าไปแบบช้าๆ หรือบางทีอาจจะถอยหลังด้วยซ้ำไป

• ผู้นำที่ไม่เคารพกฎเกณฑ์ ก็จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่มีการเคารพกฎเกณฑ์เช่นกัน พนักงานทุกคนก็จะข้ามหัวนายไปหาผู้นำ ผู้นำเองก็บ้าจี้ตอบคำถามของพนักงานคนนั้นด้วย แทนที่จะสั่งการให้ไปหารือกับหัวหน้าของตนเองก่อน ผลก็คือ จะเกิดความโกลาหลในการทำงาน การเสนองานไม่เป็นไปตามลำดับขั้นการบังคับบัญชา พนักงานอยากได้อะไรที่มีความสำคัญมากๆ ก็กระโดดข้ามหัวหน้าตนเองไปหานายเลย เพราะเชื่อว่า ยังไงซะไปหานายน่าจะดีกว่าหาหัวหน้าตนเอง ลองนึกภาพดูสิครับว่าวัฒนธรรมขององค์กรจะออกมาเป็นอย่างไร ถ้ามีผู้นำแบบนี้

• ผู้นำที่ขาดพลังการสร้างสรรค์ ก็จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่มีพลังไปด้วย การที่ผู้นำมีพลังในการทำงาน เขาจะเป็นคนคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และจะผลักดันงานที่คิดลงไปสู่ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ลุยงานต่อให้สำเร็จ แล้วก็มีการติดตามผลสำเร็จเป็นระยะๆ ถ้าผู้นำองค์กรขาดสิ่งเหล่านี้ องค์กรก็จะไม่มีอะไรใหม่ๆ เกิดขึ้น ไม่มีความก้าวหน้าใดๆ ไม่มีความสำเร็จอะไรใหม่ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรที่ดีขึ้น อยู่กับระบบงานเดิมๆ สินค้าเดิมๆ ลูกค้าเดิมๆ

• ผู้นำชอบแบ่งพรรคแบ่งพวก ก็จะสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบแบ่งพรรคแบ่งพวกเช่นกัน ลักษณะของผู้นำแบบนี้มักจะมีความคิดแบบเลือกที่รักมักที่ชังอยู่ตลอด ใครที่เทิดทูลได้ดี ก็จะเชื่อคนนั้น ส่วนบางคนที่พูดไม่ค่อยดี ก็จะไม่ชอบ บางแห่งก็มีการแบ่งกลุ่มชัดเจน ผู้นำจะคอยดูแลเอาใจใส่ทีมงานที่ทำรายได้ให้กับบริษัทมากกว่า หน่วยงานอื่นๆ ภายในองค์กร สุดท้ายวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมยังไงก็ไม่เกิด เพราะขนาดตัวผู้นำเองยังไม่สามารถสร้างบรรยากาศในการทำงานเป็นทีมได้เลย ข้างล่างก็ไม่ต้องพูดถึงครับ

• ผู้นำที่ยึดถือชั้นยศ ก็จะสร้างวัฒนธรรมแบบเจ้ายศเจ้าอย่างให้เกิดขึ้นในองค์กร ผู้นำแบบนี้ เวลาที่ลูกน้องจะเสนออะไร ก็จะต้องทำให้ถูกต้องทั้งคำพูดที่เสนอ ทั้งขั้นตอนทุกอย่าง ห้ามข้ามขั้นตอนอย่างเด็ดขาด บางคนถ้าเป็นเด็กๆ เสนอขึ้นมา ผู้นำคนนี้ก็จะไม่รับฟังใดๆ ทั้งสิ้น และมักจะคิดว่า ตนเองเป็นถึงผู้นำ ทำไมต้องฟังเด็กๆ พวกนั้นด้วย สุดท้ายวัฒนธรรมเชิงลบในองค์กรก็จะเกิดขึ้น การทำงานแบบเจ้ายศเจ้าอย่าง ความล่าช้าในการทำงาน เพราะต้องเดินตามระเบียบวินัย อยู่กันไปสักพักระเบียบวินัยก็เกิดขึ้นข้อแล้วข้อเล่า แทนที่จะเกิดงานใหม่ๆ แต่นี่กลับเกิดแต่ระเบียบวินัยที่ไม่ได้เอื้อต่อการทำงานเลย

จริงๆ แล้วหลายองค์กรก็มีผู้นำที่ดีมากมายเกิดขึ้น ก็มีบ้างอาจจะมีบางองค์กรที่ผู้นำเองยังคงเป็นอย่างที่เขียนมาข้างต้น ประเด็นก็คือ ถ้าผู้นำเป็นอย่างที่ว่ามาจริงๆ แล้วใครจะเป็นคนไปบอกเขาว่าเขาไม่ดีแบบนั้น ไม่ดีแบบนี้ ใครบ้างที่จะกล้าเอาห่วงไปผูกคอแมว สิ่งที่เกิดขึ้นจริงในองค์กรต่างๆ ที่ผู้นำเป็นอย่างที่เขียนไว้ ก็คือ พนักงานเก่งๆ ก็จะทยอยออกจากบริษัทไป เพราะพนักงานกลุ่มนี้บางคนกล้าที่จะเอาห่วงไปผูกคอแมวนะครับ เพียงแต่แมว ก็จะตะปบ และกินจนไม่เหลือซาก

แล้วจะแก้ไขอย่างไรดี ก็คงต้องอาศัยความกล้าหาญของกลุ่มพนักงานเลย เพราะเรื่องแบบนี้ทำคนเดียวไม่ไหวครับ อาจจะต้องมีการรวมตัวกันของพนักงาน ทำการสำรวจความคิดเห็น ของพนักงานที่มีต่อองค์กร แล้วก็รวมเอาเรื่องผู้นำขององค์กรใส่เข้าไปด้วย แล้วเอาผลสำรวจนี้ไปนำเสนอต่อผู้นำ เพื่อเป็นกระจกสะท้อนภาพให้เขาเห็นตนเอง
จากนั้นก็คงต้องขึ้นอยู่กับผู้นำ คนนั้นแล้วล่ะครับ ว่าเขาจะเป็นผู้นำที่แท้จริงหรือไม่ ที่จะยอมเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆ กับองค์กร หรือจะเป็นแค่เพียงผู้นำตามชื่อตำแหน่งที่อยู่ในนามบัตรเท่านั้น



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 5123
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์