ค่านิยม และความเชื่อในการทำงาน ที่ไม่ค่อยน่าเชื่อ

ค่านิยม และความเชื่อในการทำงาน ที่ไม่ค่อยน่าเชื่อ



ในการทำงานทุกองค์กรล้วนแล้วแต่มีค่านิยม ความเชื่อ รวมไปถึงวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกันออกไป บางความเชื่อและค่านิยม ก็เป็นสิ่งที่ดีที่ควร บางความเชื่อก็ถึงเวลาที่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป บางความเชื่อก็ไม่ควรจะมีอีกแล้วในการทำงานยุคปัจจุบัน วันนี้เราลองมาดูค่านิยมและความเชื่อในการทำงานแปลกๆ กันหน่อยนะครับ

• เชื่อว่าพนักงานที่มีผลงานดี คือพนักงานที่ใช้ชั่วโมงการทำงานในบริษัทนานกว่าคนอื่น ความเชื่อนี้ยังมีอยู่ในองค์กรบ้านเราครับ สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นายมักจะมองพนักงานที่อยู่ทำงานดึกๆ ดื่นๆ ว่าเป็นพนักงานที่มีความทุ่มเทต่อองค์กร และมักจะให้ผลงานพนักงานกลุ่มนี้ในเกณฑ์ดีเสมอ ประเด็นคือ ยิ่งอยู่ดึก แปลว่าพนักงานทุ่มเทจริงๆ หรือ หรือจริงๆ ก็คือ พนักงานคนนั้นทำงานไม่เป็น เลยต้องเสียเวลาทำใหม่อยู่เรื่อยไป สุดท้ายก็เลยต้องใช้เวลานานกว่าคนอื่น

• เชื่อว่าพนักงานที่มาทำงานตรงเวลา และกลับบ้านตรงเวลาเป๊ะนั้น แปลว่าไม่มีความทุ่มเทต่อการทำงาน ความเชื่อนี้ เป็นผลมาจากความเชื่อแรกครับ นายบางคนชอบพนักงานที่มาทำงานแต่เช้าตรู่ มาตอกบัตรแต่เช้ามืด และถ้ายิ่งอยู่บริษัทดึกๆ ยิ่งดี นายกลุ่มนี้จะไม่ชอบพนักงานที่มาทำงานตรงเวลา และกลับตรงเวลา เพราะเขารู้สึกว่า ไม่มีความทุ่มเทใดๆ ให้กับองค์กรเลย

• เชื่อว่าพนักงานที่ดีคือ พนักงานที่เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้า นายและหัวหน้าชอบความเชื่อนี้มาก เพราะถ้ามีลูกน้องที่เชื่อฟัง ก็จะทำให้การทำงานราบรื่นดี สั่งอะไรก็ได้ไปหมด และหัวหน้าส่วนใหญ่ก็จะรักลูกน้องแบบนี้มากกว่าลูกน้องที่ชอบคิดและเถียงในการทำงาน เถียงในที่นี้ก็คือ มีข้อเสนอแนะแปลกๆ ใหม่ๆ เพื่อทำให้งานดีขึ้น แต่เชื่อหรือไม่ว่า หัวหน้าบางส่วนไม่ชอบลูกน้องแบบนี้เลย เขาอ้างว่าบริหารยาก ไม่เชื่อฟัง สั่งอะไรก็ยากไปหมด ทั้งๆ ที่ลูกน้องเองมองว่าตนเองพยายามที่จะทำให้งานดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น อะไรที่ทำแล้วไม่ดี ก็พยายามคิดที่จะเปลี่ยนแปลง

• เชื่อว่าพนักงานยิ่งอยู่นาน ยิ่งรักองค์กร ความเชื่อนี้เกิดขึ้นกับเถ้าแก่ในหลายๆ องค์กรในอดีต เนื่องจากยังไม่มีการทำตัวชี้วัดผลงานชัดเจน ดังนั้น สิ่งที่เถ้าแก่เชื่อก็คือ พนักงานคนไหนที่อยู่กับองค์กรนานๆ นั้นแปลว่าเขารักองค์กร และจะต้องตอบแทนและเลี้ยงดูพนักงานกลุ่มนี้ให้ดีเป็นพิเศษ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว พนักงานอยู่นานๆ ไม่ได้แปลว่า รักองค์กรเสมอไปจริงมั้ยครับ บางคนอยู่นานเพราะไม่มีที่จะไป ก็เลยต้องอยู่ต่อไปเรื่อยๆ ยิ่งไปกว่านั้นบางคนยิ่งอยู่นานยิ่งขี้เกียจ ผลงานไม่ออกเลยก็มี แต่คนที่อยู่นานและรักองค์กร ทุ่มเททำงานให้องค์กรก็มีนะครับ ไม่ใช่ไม่มี

ความเชื่อเหล่านี้ ยังคงฝังรากลึกอยู่ในหลายองค์กรในบ้านเรา ทั้งๆ ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่บางครั้ง ความเชื่อเหล่านี้ ก็เปลี่ยนแปลงได้ยากมากครับ เช่นเรื่องเวลาทำงาน ผมยังเห็นหลายองค์กรเชื่อเรื่องของ การทำงานแบบมี Productivity ก็คือ ทำงานนานๆ ใช้เวลาในองค์กรนานกว่าคนอื่น ซึ่งโดยส่วนตัวผมเอง ไม่ค่อยเชื่อแบบนั้น คนที่มี Productivity จริงๆ คือคนที่ทำงาน 1 ชิ้นได้สำเร็จ โดยใช้เวลาน้อยกว่าคนอื่น ซึ่งถ้าเขาทำได้ดีๆ เขาก็น่าจะมีเวลาว่างเพื่อพัฒนางาน หรือพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้

แต่ก็อีกครับ บางคนเห็นลูกน้องนั่งอ่านหนังสือ ก็ไม่ถามให้ชัดเจนเสียก่อน ตำหนิทันทีว่า “ไม่มีงานทำหรือไง ว่างมากหรือ” ซึ่งจริงๆ แล้วพนักงานคนนั้นอาจจะทำงานเสร็จไปนานแล้วก็ได้



บทความโดย : คุณประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4685
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์