การวางแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล

การวางแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล



บางกรณีเป็นการพัฒนาบุคลากรทั้งบริษัทในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่รับเข้ามาใช้ในองค์กร หรืออาจเป็นการพัฒนาบุคลากรเป็นรายบุคคล เป็นต้นว่าคนนี้หากได้รับการเสริมทักษะในเรื่องนี้จะทำให้เขาสามารถทำ ประโยชน์ให้กับองค์กรได้อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้เขากลายเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้รุดหน้าเป็นผู้นำในแวด วงธุรกิจต่อไป

อย่างไรก็ดีการพัฒนาบุคลากรนั้นไม่ได้มีรูปแบบตายตัวแบบ หนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง แต่อาจจะมีหลายแนวทางที่ผู้คนนำมาใช้แล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จึงอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งที่อาจเหมาะสำหรับคุณและองค์กรของคุณ ดังนี้

• เข้าใจเป้าหมายองค์กร

คุณต้องชัดเจนเสียก่อนว่าเป้าหมายขององค์กรคุณคืออะไร จากนั้นมุ่งไปที่การพัฒนาจุดแข็งของบุคลากรแต่ละคน จุดแข็งคือสิ่งที่สามารถส่งเสริมและพัฒนาได้ อย่ามัวเสียเวลากับการแก้ปัญหาในสิ่งที่เป็นจุดอ่อน คุณอาจต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในการจูงใจพนักงานให้ทำงานที่เขาไม่ ถนัด ดังนั้นส่งเสริมให้เขาทำให้สิ่งที่เขาชอบ หรือถนัดให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปย่อมเป็นการดีกว่า บอกให้พนักงานเข้าใจว่าคนเรานั้นไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ หรือเก่งไปหมดทุกอย่างก็ได้

• สำรวจว่าใครต้องพัฒนาในเรื่องใด
คุณอาจมีการทำแบบสำรวจถึงความต้องการในการฝึกอบรมของ พนักงาน (Training Needs) หรือข้อมูลจากการประเมินผลของหัวหน้างาน หรือผู้จัดการที่ทำให้คุณทราบว่า พนักงานคนไหนควรได้รับการพัฒนาในด้านใด จากนั้นจึงมองหาช่องทางที่เขาจะสามารถพัฒนาทักษะหรือความสามารถเหล่านั้นได้ เช่น การจัด In-house Training หรือส่งไปอบรมกับสถาบันฝึกอบรมภายนอกองค์กร เป็นต้น

• วางแผนการพัฒนาระยะสั้นและระยะยาวคู่กันไป

แม้ว่าคุณจะตั้งเป้าหมายในระยะยาวเอาไว้ แต่การตั้งเป้าการพัฒนาในระยะสั้น ๆ นั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้การพัฒนานั้นค่อย ๆ ขยับเข้าใกล้เป้าหมายระยะยาวที่กำหนดได้ทีละขั้น ดังนั้นอย่ามองข้ามการวางแผนระยะสั้นสำหรับปีต่อไป ควบคู่ไปกับแผนระยะยาวสำหรับอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย ทั้งนี้ไม่ใช่สิ่งที่สลับซับซ้อนเลย โดยอาจเป็นการลิสต์สิ่งที่คุณต้องการพัฒนาออกมาประมาณ 2-3 เรื่องสำหรับเป้าหมายแต่ละเป้า เท่านี้ก็เพียงพอ

• กำหนดมาตรฐานการในประเมินความสำเร็จ

ต้องกำหนดว่าคุณจะวัดความสำเร็จได้อย่างไร การกำหนดเป้าหมายที่ไม่สามารถวัดผลได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ยากที่จะใช้ในการจูงใจพนักงานให้เกิดความปรารถนาในการพัฒนา ความสามารถของตน ดังนั้น ตั้งเป้าหมายแล้วต้องดูด้วยว่าจะสามารถไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร โดยอาจมีการประเมินผลในระยะสั้น ๆ เป็นช่วง ๆ หลังจากที่คุณได้ดำเนินการไปสักระยะหนึ่ง เช่น ทุก ๆ 6 เดือน หรือ ทุก ๆ 1 ปี เพื่อให้มั่นใจว่าคุณกำลังเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องและเป้าหมายของคุณยังคง เป็นสิ่งที่เหมาะสมดังเช่นเดิมหรือจะต้องปรับเปลี่ยนหรือไม่

• ลงมือทำให้สำเร็จ

แผนการที่คุณวางแผนไว้ไม่อาจพบกับความสำเร็จได้เลยหาก ไม่เกิดความร่วมมือจากบุคลากร รวมทั้งขาดการติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ กำหนดเป้าหมายในการลงมือพัฒนาตนเองในแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน เพื่อเตือนตัวคุณ และบุคลากรให้ดำเนินตามแผนการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ภายในขอบเขตเวลาที่กำหนด เมื่อถึงเวลาของการประเมินผลจะได้สามารถวัดผลได้ตามแผนการ

การพัฒนาคนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ การวางแผนและกำหนดรูปแบบ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้การพัฒนาดำเนินไปตามทิศทางที่ศึกษามาแล้วว่าเหมาะสม และน่าจะให้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้การจูงใจพนักงานก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่ควรให้น้ำหนักควบคู่ไปกับแผนการ เมื่อแผนการดี และพนักงานให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้วล่ะ



บทความโดย : http://th.jobsdb.com
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 10192
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์