กลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรมนุษย์

กลยุทธ์การวางแผนทรัพยากรมนุษย์



       ปัจจัยกลยุทธ์ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการบริหารทั้งในปัจจุบันและอนาคตกล่าวคือเมื่อมีกลยุทธ์เปลี่ยนก็จะส่งผลต่อการบริหารการจดการด้านทรัพยากรมนุษย์ก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วยก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ผู้เขียนขอกล่าวถึงการบริหารองค์การสู่ความเป็นเลิศ(In search Excellence) ก่อนเพื่อให้ทราบถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้องค์การมีสมรรถนะสูงซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญอยู่ 7 ปัจจัยดังต่อไปนี้

       การบริหารองค์การต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวตามแผนภาพด้านบนเมื่อองค์การจะดำเนินการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจผู้บริหารระดับสูงควรจะมาศึกษาปัจจัยทั้ง 7 ปัจจัยหลักก่อนจะดำเนินการกำหนดกลยุทธ์ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปประกอบการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์การด้วยเช่นกัน

       ปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในที่มีผลกระทบต่อการวางแผนทรัพยากรมนุษย์คือ

       1. โครงสร้าง(Structure)องค์กรมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์การจากองค์การแบบสูง(tall organization) สู่องค์การแนวนาบ(flat organization)มากขึ้นมีการลดขนาดขององค์การให้เล็กลง(downsizing) องค์การที่เล็กแต่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะในการทำงานสูง 

       2. กลยุทธ์ (strategy)องค์การต้องมีการบริหารเชิงกลยุทธ์มากขึ้น (strategic management) โดยมีการวิเคราะห์สถานการณ์ได้ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นกลยุทธ์ขององค์การต้องมุ่งสู่ลูกค้าและแข่งขันสู่ความเป็นเลิศไม่เป็นสองรองใครกลยุทธ์เปลี่ยนไปทำให้ทรัพยากรมนุษย์ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย 

       3. ระบบ (system)องค์การต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบงานให้มีความคล่องตัวรวดเร็วมากยิ่งขึ้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานการไหลของงานให้คล่องตัวขึ้นซึ่งจะต้องมีการวางแผนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องดังกล่าวเช่นการรื้อปรับระบบ(reengineering) การทำงานง่ายขึ้น(work simplification) การปรับปรุงงาน (work improvement) เป็นต้น 

       4. ทักษะ(skill)องค์การมุ่งเน้นคนที่สามารถมากขึ้นมุ่งความสามารถที่หลากหลายทำงานได้หลายอย่างนอกจากจะมีความสามารถในการทำงานแล้วยังต้องมีความสามารถในการนำเสนอความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นต้นซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรมนุษย์ให้มีมากขึ้น 

       5. ค่านิยมร่วม (shared value)องค์การมุ่งสร้างค่านิยมที่เกิดจากองค์การและบุคคลากรในองค์การการที่มีความคิดความเชื่อในการทำงานเหมือนกันจะทำให้การปฏิบัติงานสำเร็จได้ง่ายค่านิยมที่มุ่งเน้นส่วนใหญ่มักจะมีเรื่องคุณภาพมาตรฐานประสิทธิภาพรวดเร็วประทับใจความปลอดภัยความจริงใจความเป็นเลิศยิ้มแย้มความร่วมมือความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการตรงต่อเวลาเป็นต้น 

       6. ลีลาการบริหาร(style)องค์การมุ่งสู่การบริหารแบบประชาธิปไตยและมีส่วนร่วมมากขึ้นการบริหารในลักษณะดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องได้ผู้ร่วมงานที่มีความรับผิดชอบและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การกระจายอำนาจ(empowerment) จำเป็นที่จะต้องสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนษย์ให้มีความพร้อมอยู่ตลอดเวลาโดยการวางแผนทรัพยากรมนุษย์แต่ละด้านไว้อย่างชัดเจน 

       7. พนักงาน (staff)องค์การในอนาคตมุ่งสู่แนวคิดทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพโดยเริ่มจากการมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ (sense of belonging) การเป็นหุ้นส่วน (partnership) การมีอิสระในการทำงานรวมทั้งการเพิ่มผลผลิตโดยใช้พนักงานที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกล่าวคือเคยใช้พนักงานทำงาน 4 คนใน 4 ขั้นตอนตามกระบวนการทำงานในอนาคตจำเป็นต้องลดขั้นตอนการทำงานใหม่เหลือ 2 ขั้นตอนพนักงานก็ลดเหลือ 2 คนส่งผลให้ค่าใช้จ่ายลดลงด้วยการพัฒนาพนักงาน 2 คนเพื่อให้ทำงานได้เท่ากับ 4 คนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต้องกระทำให้ได้บางองค์การลดพนักงานจาก 4 คนเหลือ 1 คนโดยใช้ระบบบริการทีเดียวเบ็ดเสร็จ (one stop service)



บทความโดย : กฤติน กุลเพ็ง
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 13270
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์