HR ควรทำอย่างไร ถ้าต้องทำงานกับผู้บริหารหัวก้าวหน้า?

HR ควรทำอย่างไร ถ้าต้องทำงานกับผู้บริหารหัวก้าวหน้า?



       สมัยก่อนคนทำงาน HR มักจะบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่าผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของการบริหารบุคลากร มักจะเน้นเฉพาะการขาย การเงินหรือไม่ก็การผลิตเป็นหลัก การที่จะขออนุมัติอะไรที่เกี่ยวกับการบริหารบุคลากรได้สักเรื่องดูเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัสเอาการ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ เผลอๆบางคนอาจจะต้องใช้ไสยศาสตร์เข้ามาช่วยอีกต่างหาก ทั้งนี้เพื่อให้โครงการด้านบุคลากรได้รับการอนุมัติ ในยุคก่อนดูเหมือนว่าคนHR หลายคนจะรู้เรื่องการบริหารบุคลากรดีกว่าผู้บริหารระดับสูง ดังนั้นงานหนักของคนที่ทำงาน HR ในยุคก่อนคือทำอย่างไรให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการบริหารบุคลากรและยอมลงทุนกับสิ่งที่ยังมองไม่เห็น ผลประโยชน์ในระยะสั้น

       แต่...เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งต่างๆในโลกนี้ก็ย่อมจะมีการเปลี่ยนตาม ขึ้นอยู่กับว่าสิ่งไหนเปลี่ยนมากเปลี่ยนน้อย เปลี่ยนเร็วเปลี่ยนช้า ในเชิงของการบริหารบุคลากรก็เช่นกัน มีการคิดค้น พัฒนากลยุทธ์ เทคนิควิธีการและเครื่องไม้เครื่องมือใหม่ๆขึ้นมามากมาย และสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไปมากคือ ผู้บริหารยุคใหม่หลายท่านเริ่มหันกลับมามองที่การบริหารบุคลากรมากขึ้น ผู้บริหารเริ่มเรียนรู้และรู้ที่จะเรียนเรื่องการบริหารคนมากขึ้น เท่านั้นยังไม่พอ ผู้บริหารหลายท่านเริ่มมีความรู้เรื่องการบริหารคนมากกว่าคนที่ทำงานด้าน HR และหลายครั้งที่คนที่ทำงานด้าน HR เริ่มรู้สึกกว่าโจทย์ใหม่ในการทำงานด้านเปลี่ยนได้เปลี่ยนไปจากที่ต้องออกแรงเสนอขออนุมัติหรือขายไอเดียต่อผู้บริหารในเรื่องการบริหารบุคลากร มาเป็นโจทย์ใหม่ที่ว่าทำอย่างไรจึงจะก้าวตาม ก้าวทันหรือก้าวนำผู้บริหารในเรื่องการบริหารคน อย่าให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้บริหารกับเรามากจนเกินไป เพราะผลกระทบคือถ้าเราไม่สามารถตอบสนองไอเดียของผู้บริหารหัวก้าวหน้าได้แล้ว คงจะอยู่กันลำบาก สุดท้ายเราอาจจะเป็น HR ที่ไม่ได้ดั่งใจ เพราะผู้บริหารไปไกลกว่าสิ่งที่เราคิด เรารู้ เราเป็นและเรามี

       สิ่งที่อยากจะฝากบอกเพื่อนๆที่ทำงานด้าน HR ว่าในปัจจุบันนี้หลักสูตรการสัมมนาด้าน HR มีผู้บริหารมาเรียนกันมากขึ้น และสิ่งที่จะทำให้ผู้บริหารได้เปรียบคน HR คือเขาอยากจะเรียนเรื่องอะไรเขาก็เข้าได้หมดเพราะอนุมัติค่าสัมมนาเอง ผู้บริหารมีเวลามากพอที่จะเรียน และผู้บริหารมีพื้นความรู้และประสบการณ์ในด้านอื่นๆที่แข็งแกร่ง พอเขาได้ไปเรียนรู้ด้าน HR แล้วเขาสามารถนำเอาความรู้ในหลายๆด้านมาประยุกต์หรือสังเคราะห์ได้ดีกว่าคน HR ดังนั้น ผมคิดว่าคน HR คงจะต้องเจองานหนักในเร็วๆนี้ เพราะผู้บริหารยุคใหม่เริ่มสปีดแรงขึ้นและเร็วขึ้น ถ้าคน HR ยังทำงานแบบเดิมๆ รับรองได้ว่าเจองานหนักแน่ๆครับ

       ที่เกริ่นนำมานี้ไม่ต้องการให้คน HR เกิดความท้อแท้ แต่...อยากจะบอกว่าโอกาสของเรามาถึงแล้ว สิ่งที่เราเคยใฝ่ฝันในอดีตเป็นจริงแล้ว เราเคยอยากเห็นผู้บริหารให้ความสำคัญกับการบริหารคนไม่น้อยไปกว่าเรื่องการเงิน การขายหรือการผลิต ความฝันของเราเป็นจริงแล้วครับ ให้คิดเสียว่าถ้าใครได้มีโอกาสทำงานกับผู้บริหารหัวก้าวหน้า ถือเป็นโชคดีและเป็นโอกาสแห่งการเรียนรู้ คิดเสียว่าถ้าหัวหน้าเก่งย่อมแผ่บารมีมาให้ลูกน้องเก่งไปด้วยนะครับ ถึงแม้เราจะเก่งน้อยกว่าผู้บริหารของเรา แต่ถ้าเทียบกับคนที่ทำงาน HR ในองค์กรอื่นที่ผู้บริหารหัวยังไม่ก้าวหน้า รับรองได้ว่าเราต้องเก่งกว่าเขาแน่นอน

       ผมอยากจะเสนอแนะแนวทางให้กับคน HR ที่ต้องทำงานกับผู้บริหารหัวก้าวหน้าดังนี้ครับ   

       1. ป้อนข้อมูลใหม่ๆให้ผู้บริหารได้มีโอกาสเลือก ถ้าเราปล่อยให้ผู้บริหารไปรู้อะไรด้วยตัวเอง โอกาสที่เราจะตั้งหลักทันนั้นมีน้อย เพราะเราไม่รู้ว่าผู้บริหารจะไปเอาเรื่องไหนมาบ้าง ดังนั้นทางที่ดีเราควรจะทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บริหารในการหาข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ใหม่ๆ ข้อมูลที่ว่านี้ เช่น ข่าวสารการฝึกอบรม แต่อย่าเอาหนังสือหรือตำราไปให้ผู้บริหารนะครับ เพราะคนระดับนี้เขาคิดเสมอว่าเขาจะต้องไปหามาให้เราอ่าน ไม่ใช่เราไปให้เขาอ่าน เขาจะรู้สึกเสียศักดิ์ศรีครับ เราทำหน้าที่เพียงส่งข่าวสารต่างๆให้ผู้บริหารก็พอ แล้วเขาจะเลือกเรียนด้วยตัวเขาเอง ถ้าเราเป็นผู้ส่งข่าวสาร เวลาผู้บริหารไปเรียนอะไร เราจะได้เตรียมตัวไว้ล่วงหน้าได้ทันนะครับ แต่เรารู้ตอนที่ผู้บริหารกลับมาจากเข้าสัมมนาที่ไหนแล้ว รับรองไอเดียกระฉูด รับไม่ทันแน่นอน สรุปง่ายๆคือทำอย่างไรให้เรารู้ก่อนล่วงหน้าว่าผู้บริหารกำลังสนใจเรื่องอะไร ผู้บริหารกำลังจะเรียนอะไร จะได้ตั้งรับได้ทันครับ   

       2. คิดและเตรียมสิ่งใหม่ๆไว้ล่วงหน้า เมื่อเรารู้ว่าผู้บริหารจะไปเรียนอะไรแล้ว ขั้นตอนในระหว่างที่ผู้บริหารกำลังเรียนหรือกำลังจะไป ขอให้ HR เตรียมศึกษาหาข้อมูลในเรื่องนั้นๆไว้ได้เลยครับ เพราะผมเชื่อว่าหลังจากกลับมา ผู้บริหารจะมีงานให้เราทำอีกเพียบ สำหรับวิธีการหาข้อมูลเตรียมไว้คือ ความรู้เชิงทฤษฎี อาจจะหาหนังสือหรือค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต  ส่วนอีกหนึ่งอย่างที่ควรเตรียมให้พร้อมเหมือนกันคือแนวทางในการแปลงสู่การปฏิบัติ วิธีการให้ข้อมูล ผมแนะนำว่าเราควรจะสร้างเครือข่ายจากเพื่อนๆร่วมอาชีพในองค์กรต่างๆ และขอข้อมูลจากองค์กรที่ได้เริ่มทำเรื่องที่ผู้บริหารเราสนใจอยู่ไปใช้จริงในองค์กรแล้ว นอกจากนี้เราควรจะลองร่างเป็นไอเดียของเราคร่าวๆไว้ เพราะอย่างน้อยเวลาผู้บริหารกลับมาจะได้มีพื้นฐานในการพูดคุยกับผู้บริหารได้   

       3. อย่าเสี่ยงเถียงกับผู้บริหารในขณะที่กำลังร้อนวิชา เราต้องยอมรับว่าคนที่เพิ่งได้รับความรู้ใหม่ๆมา เขาได้รับจากบุคคลที่เขาเชื่อถือ(เพราะถ้าไม่เชื่อถือเขาคงไม่ไปเข้าเรียนรู้ตั้งแต่ครั้งแรก) ต่อให้เราซึ่งเป็น HR จะเก่งกว่าผู้บริหารแค่ไหนก็ตาม ยังไงเขาก็เชื่อเราน้อยกว่าคนที่เขาไปฟังมากับตัวเอง ดังนั้น ใครเป็น HR ที่เก่งๆ อย่าเพิ่งอวดเก่งตอนที่ผู้บริหารเพิ่งกลับมาจากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพราะอาจจะเกิดข้อพิพาทไปง่ายๆ แต่จงทำตัวเป็นผู้รับรู้และรับฟังอย่างตั้งใจไปก่อน จะทำให้ผู้บริหารรู้สึกว่าตัวเขาสำคัญเพราะเรากระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ที่จะรับฟัง ผู้บริหารเองก็จะได้ถือโอกาสถ่ายทอดความรู้ให้เรากับ ในขณะเดียวกันผู้บริหารก็ได้ทบทวนสิ่งที่ตัวเองได้เรียนมาด้วย จงรอให้วันเวลาผ่านไปก่อนเมื่อผู้บริหารวิชานั้นเย็นลง แล้วเราค่อยนำเสนอไอเดียของเราเข้าไป หรือไม่ก็รอให้ผู้บริหารไปเรียนอีกวิชาหนึ่งก่อน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ต้องดูด้วยว่าสไตล์ผู้บริหารของเราเป็นคนประเภทไหน เช่น ผู้บริหารบางคนชอบประลองวิชากับลูกน้อง อยากเถียงกับลูกน้อง เพื่อให้รู้ว่าตัวเองเก่งกว่า ถ้าไม่มีใครเถียงผู้บริหารประเภทนี้อาจจะไม่ค่อยชอบ ถ้าเป็นแบบนี้จงเตรียมตัวเถียงและเตรียมตัวแพ้ไว้ด้วยนะครับ จงจำไว้ว่าอย่าพยายามเอาชนะเจ้านายนะครับ   

       4. จงลองทำเองก่อนและค่อยใช้คนนอกมาช่วย ผู้บริหารส่วนใหญ่อยากจะเห็น HR นำเอาความรู้และความคิดใหม่ๆของตัวเองไปลองทำดูก่อนว่าเป็นอย่างไร   HR บางคนตื่นตระหนกมากเกินไป เพราะงานประจำก็เยอะแล้ว ยังมีโครงการใหม่ๆจากไอเดียของผู้บริหารมาให้ทุกวัน เลยเกิดความเครียด บางคนถึงกับต้องเข้าโรงพยาบาล บางคนก็คิดว่าสงสัยทำไม่ได้หรอก เพราะเราก็ไม่มีความรู้มากพอ จึงเริ่มหาบุคคลภายนอกเข้ามาช่วย เช่น ขออนุมัติว่าจ้างที่ปรึกษา ผมคิดว่าHR ที่ดีควรจะลองนำเอาไอเดียผู้บริหารนั้นมาลองทำเองดูก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าเป็นไปได้ แต่เราทำเองไม่ได้เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ความเชี่ยวชาญ ก็ค่อยว่ากันในเรื่องจ้างบุคคลภายนอกเข้ามาช่วยทำ เพราะเจตนารมณ์จริงๆของผู้บริหารบางครั้งไม่ต้องการจะให้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาหรอกครับ เพียงแต่อยากจะลองผิดลองถูกไปก่อนเท่านั้น ไม่ได้หวังผลจริงจังอะไรร้อยเปอร์เซ็นต์หรอกครับ

       สรุป HR ที่ต้องทำงานกับผู้บริหารหัวหน้าหน้า จะต้องเตรียมเคลียร์งานประจำให้เป็นระบบ เทรนลูกน้องให้ทำงานแทนตัวเองให้ดี เพราะวันๆอาจจะต้องไปนั่งรับฟังสารพัดไอเดียจากผู้บริหาร HR รุ่นใหม่จะต้องทำหน้าที่เหมือนสถาปนิกที่ต้องแปลงความต้องการของผู้บริหารลงมาสู่ภาคปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง โดยส่วนตัวผู้เชื่อว่าเพื่อนๆชาว HR คงจะสามารถเตรียมตัวรับมือกับแนวโน้ม



บทความโดย : Peoplevalue
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4463
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์