กลยุทธ์การบริหารวิทยากรสำหรับนักฝึกอบรมมืออาชีพ

กลยุทธ์การบริหารวิทยากรสำหรับนักฝึกอบรมมืออาชีพ


       เพื่อให้การฝึกอบรมมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ให้สมกับที่องค์กรมุ่งหวังไว้ ผู้รับผิดชอบงานด้านฝึกอบรมจึงควรบริหารจัดการวิทยากรดังนี้ 

       1. ควรหารายชื่อวิทยากรล่วงหน้าจากหลายแหล่ง ควรหารายชื่อวิทยากรจากหลายๆแหล่ง เช่น อินเตอร์เน็ต เอกสารโบรชัวร์ของสถาบันฝึกอบรม จากประวัติผู้แต่งหนังสือในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง หรือสอบถามจากเพื่อนๆในองค์กรอื่น การหารายชื่อวิทยากรควรจะดำเนินการการหาอย่างต่อเนื่อง เช่น ส่งพนักงานไปเข้าสัมมนาภายนอกเมื่อไหร่ก็ถือโอกาสให้เขานำรายละเอียดของวิทยากรกลับมาด้วย การหารายชื่อวิทยากรไม่ใช่หาชื่อวิทยากรก่อนการจัดฝึกอบรมเพียงเดือนสองเดือนเท่านั้น มีโอกาสเมื่อไหร่ เก็บรายชื่อวิทยากรไว้ทันที เพราะในโอกาสต่อๆไปเราอาจจะต้องใช้บริการของวิทยากรท่านนั้นก็ได้ และควรนำชื่อวิทยากรมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อสะดวกในการใช้งานในความเป็นจริงแล้ววิทยากรที่เก่งๆแต่ไม่ใช่บรรยายเป็นอาชีพมีเยอะมาก แต่วิทยากรเหล่านี้จะไม่ค่อยเปิดเผยตัวเองมากนัก เพราะยังทำงานประจำอยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ถ้ามีโอกาสนักจัดฝึกอบรมน่าจะหารายชื่อของวิทยากรกลุ่มนี้ให้มาก เพราะเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และประสบการณ์ตรง และที่สำคัญวิทยากรกลุ่มนี้จะมีการเตรียมตัวทำการบ้านมาอย่างดี นอกจากนี้เรื่องค่าตัวยังพอคุยกันได้

       2. ควรเชิญวิทยากรมาพูดคุยก่อนการจัดอบรมหน้าที่หนึ่งของผู้จัดอบรมคือการสร้างความมั่นใจว่าวิทยากรที่เลือกมาบรรยายนั้นเหมาะสมจริง เพราะปัจจัยสู่ความสำเร็จในการฝึกอบรมไม่ได้อยู่ที่วิทยากรที่มีชื่อเสียงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้อยู่ที่ได้วิทยากรที่บรรยายตรงตามหัวข้อที่ต้องการเท่านั้น แต่..จะต้องอยู่ที่การปรับจูนความต้องการของผู้จัดกับสิ่งที่วิทยากรมีให้สอดคล้องกัน เพราะบางครั้งวิทยากรเก่ง แต่อาจจะบรรยายไม่ตรงจุดที่เราต้องการจะเน้นก็ได้ การเชิญวิทยากรมาพบก็เท่ากับเป็นโอกาสให้เราในฐานะผู้จัดกับวิทยากรได้รู้จักกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลและความต้องการให้วิทยากรรับทราบ พร้อมกันนี้ก็เป็นโอกาสในการทบทวนเนื้อหาหลักสูตรที่เราออกแบบมาว่าเหมาะสมหรือไม่ วิทยากรบรรยายได้จริงหรือไม่ ถ้าวิทยากรท่านใดไม่มีเวลาแม้กระทั่งจะมาคุยหรือเราจะไปหาก็ไม่ว่างเลย ขอให้พึงระวังไว้ว่าความเสี่ยงในการจัดฝึกอบรมในครั้งนั้นๆมีสูง โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องวิทยากร เพราะอาจจะได้วิทยากรที่เก่ง แต่บรรยายไม่ตรงจุด หรืออาจจะได้วิทยากรที่พูดแต่สิ่งที่ตัวเองถนัดเท่านั้น ไม่ได้พูดสิ่งที่คนจัดอยากจะฟัง หรือวิทยากรมาขายเวลาเพียงอย่างเดียว (มาสายนิดหน่อย เลิกตรงเวลา รับตังค์ กลับบ้าน) ในความเป็นจริงแล้ว เราคือลูกค้า วิทยากรคือผู้ให้บริการ เราเรียกมาแล้วไม่เชิญบรรยายก็ได้ ไม่เห็นแปลกอะไร ถ้าสิ่งที่เราต้องการไม่ตรงกับสิ่งที่วิทยากรถนัด ในขณะเดียวกัน วิทยากรก็มีสิทธิที่รับหรือไม่รับบรรยายให้ก็ได้ ดังนั้น ทั้งสองฝ่ายจึงมีสิทธิเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ว่าถ้าบริษัทไหนเรียกวิทยากรไปแล้ว ถือว่าตกลงเชิญบรรยายโดยอัตโนมัติ

       3. ต้องทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวให้วิทยากรนับตั้งแต่วันที่ตกลงเรียนเชิญวิทยากรท่านใดท่านหนึ่งแล้ว นักฝึกอบรมมืออาชีพจะต้องทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวให้กับวิทยากรท่านนั้น ในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้

       - คอยติดตามให้ข้อมูลเป็นระยะๆว่าเราได้เชิญบรรยายในเดือนนั้นเดือนนี้ เพื่อป้องกันการลืมของวิทยากรหรือป้องกันวิทยากรรับงานซ้ำซ้อน และยังไม่ลืมงานของเรา ส่วนเทคนิคการติดตามที่ดูไม่น่ารำคาญ เช่น ทะยอยโทรหาและส่งข้อมูลให้วิทยากรเป็นช่วงๆ อย่าเพิ่งใจร้อนส่งเอกสารทั้งหมดไปเพียงครั้งเดียว เพราะจะหมดเรื่องคุยกับวิทยากรไปเลย หรือคอยสอบถามข้อมูลวิทยากร เช่น ช่วงแรกขอประวัติ ช่วงต่อมาขอรายละเอียดการจ่ายเงิน (จะจ่ายในนามบุคคล คณะบุคคล หรือบริษัท) แกล้งๆถามไปอย่างนั้นแหละ และสุดท้ายพอใกล้ๆก็แฟ๊กส์แผนที่ให้ สอบถามอีกครั้งใกล้ๆวันอบรมว่ามาถูกหรือไม่ ฯลฯ

       - คอยเตรียมข้อมูลของบริษัทที่วิทยากรควรทราบไว้คุยกับวิทยากรก่อนที่จะเริ่มบรรยาย เพื่อป้องกันวิทยากรที่ไม่ได้เตรียมตัวมา อย่างน้อยก็น่าจะพูดชื่อบริษัทไม่ผิด รู้ว่าบริษัทผลิตอะไร ขายอะไร และรู้ว่าใครเข้าอบรม ฯลฯ ต้องทำหน้าที่ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่วิทยากร เช่น ที่จอดรถ ที่พัก(กรณีไปต่างจังหวัด) ถ้าต้องเดินทางข้ามจังหวัด ควรจะโน้มน้าวให้วิทยากรมาพักค้างคืนก่อนจะดีที่สุด เพราะจะได้มีเวลาคุยกับวิทยากรก่อนและป้องกันเหตุสุดวิสัยระหว่างเดินทางของวิทยากร

       - ช่วยตรวจสอบเอกสาร ไฟล์บรรยายของวิทยากร เช่น นอกจากจะขอต้นฉบับเอกสารเพื่อจัดทำเอกสารประกอบการอบรมแล้ว อาจจะต้องขอไฟล์ของวิทยากรมาด้วย (อาจจะให้เหตุผลว่าจะเอามาทดสอบกับเครื่องฉายของบริษัท) ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาไฟล์ของวิทยากรหรือเครื่องโน๊ตบุ๊คส์ที่วิทยากรนำมามีปัญหา ผู้จัดอาจจะต้องจัดเตรียมเครื่องคอมฯสำรองไว้ด้วย

       - คอยเสนอแนะและทักท้วงในระหว่างที่วิทยากรบรรยาย เช่น อาจารย์เคยบอกว่าจะมีกิจกรรมให้เล่นไม่ทราบว่าจะเล่นหลังเบรคใช่หรือไม่ หรืออาจารย์บอกว่าจะมีการทำกิจกรรมกลุ่ม ไม่ทราบว่ารายละเอียดจะเป็นอย่างไร เวลาไหน เราจะได้จัดเตรียมความพร้อมไว้ก่อน ฯลฯเหตุผลสำคัญที่ต้องทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัวให้วิทยากรก็เพราะว่า ผลงานของเราเกือบทั้งหมดอยู่ที่วิทยากร เพราะถ้าไม่มีวิทยากร มีแต่เนื้อหาหลักสูตร สถานที่และผู้เข้าอบรม คงจะเรียกว่าเป็นการฝึกอบรมไม่ได้ ดังนั้น ถ้าเราเลือกวิทยากรท่านใดแล้ว ก็ต้องทำใจทำหน้าที่เลขาส่วนตัวดังกล่าวไปด้วยนะครับ ไม่ว่าจะเต็มหรือไม่เต็มใจก็ตาม ถ้าคิดในเชิงบวกคือเราไม่ได้ทำหน้าที่เป็นเลขาส่วนตัว แต่เราเป็นผู้จัดการส่วนตัวของวิทยากรที่คอยควบคุม ตรวจสอบและกำกับดูแลวิทยากรนั่นเอง

       สุดท้ายนี้ อยากจะเห็นนักจัดฝึกอบรมมืออาชีพมารวมกลุ่มกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารวิทยากรกัน อย่างน้อยก็น่าจะทำให้ทุกคนเรียนลัดกันได้บ้าง และที่สำคัญคือน่าจะช่วยให้วงการฝึกอบรมในบ้านเรามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะครับ ผมขอปวารณาตัวเองว่าถ้ามีโอกาสอยากจะเข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มนักฝึกอบรมด้วย เพราะเคยเป็นนักจัดฝึกอบรมมาก่อนและปัจจุบันหันมาทำหน้าที่เป็นวิทยากร อาจจะมีมุมมองและแนวคิดที่น่าจะเป็นประโยชน์กับนักฝึกอบรมมืออาชีพได้บ้าง ถ้าใครอยากจะก่อตั้งกลุ่มนักบริหารงานฝึกอบรมมืออาชีพขึ้นมา เราอาจจะเรียกกลุ่มนี้เล่นๆว่า “Training&Development Professional Club” ก็ได้นะครับ ถ้าใครก่อตั้งขึ้นมา ผมขอสมัครเป็นสมาชิกชมรมนี้ด้วยคน ผมยินดีและพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยคนครับ

หากคุณกำลังมองหาระบบที่ช่วยจัดการการฝึกอบรมของพนักงาน เราขอแนะนำระบบฝึกอบรม Training ที่จะเพิ่มศักยภาพและระดับความสามารถในการทำงานของพนักงาน เป็นระบบการฝึกอบรมทั้งภายใน และภายนอก สามารถสร้างหลักสูตรการอบรมได้หลากหลายรูปแบบตามแต่ละองค์กร หลักสูตรทุกหลักสูตรสามารถดูค่าใช้จ่ายในการอบรม ผู้อบรม และผู้ผ่านการอบรม รวมถึงการดูประวัติการอบรมพนักงานแต่ละคนได้ว่าผ่านการอบรมหลักสูตรใดมาแล้ว รวมถึงมีรายงานต่างๆ ทั้งภายใน และทางราชการ ระบบ Training จึงเป็นระบบที่ช่วยให้ฝ่ายอบรม สามารถทำงานได้ง่าย เป็นขั้นตอนตั้งแต่เริ่มหลักสูตร จนปิดหลักสูตร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สามารถดูรายละเอียดแอพพลิเคชั่นสำหรับระบบฝึกอบรมของโปรแกรมบริหารงานบุคคล HRMI ได้ที่ ระบบฝึกอบรม Training



บทความโดย : Peoplevalue
ประกาศบทความโดย : www.prosofthrmi.com
 4130
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์