เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่

เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่


มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง

นายจ้างจึงต้องจ่ายเงินค่าชดเชยเพื่อให้มีเงินใช้ในระหว่างที่ว่างงานลงหรือเป็นเงินทุนในการหางานใหม่ของพนักงาน โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ 

เงินค่าตกใจ ในกรณีของการที่เรานั้นถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ก่อนล่วงหน้า หรือบอกล่วงหน้า 30-60 วัน นายจ้างนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงาน 60 วันสุดท้ายสำหรับลูกจ้าง ซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงาน 

เงินค่าชดเชยการถูกเลิกจ้าง ในกรณีถูกให้ออกจากงานโดยที่ไม่มีความผิดและไม่ได้สมัครใจจะออก ลูกจ้างมีสิทธิ์จะได้รับค่าชดเชย ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินเดือนและอายุของการทำงาน ยิ่งอยู่กับบริษัทมานานก็จะยิ่งได้ค่าชดเชยมาก โดยนายจ้างต้องเป็นคนจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง ซึ่งลูกจ้างในประเทศไทยมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 โดยอัตราการจ่ายเงินชดเชยมีดังนี้

  1. ทำงานไม่ถึง 120 วัน: ไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชย
  2. ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี: ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 30 วัน
  3. ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี: ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 90 วัน
  4. ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ถึง 6 ปี: ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 180 วัน
  5. ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ถึง 10 ปี: ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 240 วัน
  6. ทำงานครบ 10 ปีขึ้นไป: ได้รับเงินชดเชยเท่ากับค่าจ้าง 300 วัน

นอกจากนี้ หากการเลิกจ้างมีลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น เลิกจ้างเพราะการเรียกร้องสิทธิ หรือเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ลูกจ้างสามารถฟ้องร้องเรียกค่าชดเชยเพิ่มเติมจากนายจ้างได้

สิทธิประกันสังคม นอกจากเงินชดเชยจากส่วนของนายจ้าง ลูกจ้างสามารถตรวจสอบสิทธิที่เราพึงได้รับจากสำนักงานประกันสังคม สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน กรณีว่างงาน ผู้ประกันตนสามารถขึ้นทะเบียนคนว่างงานภายในระยะเวลา 30 วัน นับตั้งแต่ออกจากงานด้วย โดยสามารถไปยื่นเรื่องที่สำนักงานจัดหางานได้ทุกแห่ง หรือขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th)  ตามเงื่อนไขของประกันสังคมแล้วคนที่จ่ายเงินสมทบติดต่อกันมาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน จะสามารถขึ้นทะเบียนคนว่างงาน และรับเงินชดเชยจากการถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชยในจำนวน 50% ของรายได้ เป็นระยะเวลา 6 เดือนด้วย



 80
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
Employer Value Proposition (EVP) คือ ข้อเสนอที่องค์กรหรือบริษัทมอบให้กับพนักงาน เพื่อแลกกับทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ที่พนักงานนำมาใช้ในองค์กร เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงคุณค่าและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากการทำงานในองค์กรนั้นๆ ซึ่งไม่ใช่เพียงค่าตอบแทนทางการเงิน แต่ยังรวมถึงประเด็นอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาอาชีพ และความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์