9-Box Grid คืออะไร ประยุกต์ใช้ในงาน HR ได้อย่างไร

9-Box Grid คืออะไร ประยุกต์ใช้ในงาน HR ได้อย่างไร

9-Box Grid คืออะไร



เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก

9-Box Grid ประกอบด้วยกริด 3x3 ที่แบ่งออกเป็น 9 ช่อง แต่ละช่องแทนการผสมระหว่างระดับของศักยภาพและผลงาน ตัวอย่างเช่น:

  • แนวนอน – ผลการปฏิบัติงาน (Performance): วัดจากผลลัพธ์และความสำเร็จในการทำงานตามเป้าหมายที่กำหนด
  • แนวตั้ง – ศักยภาพ (Potential): วัดจากความสามารถในการพัฒนาทักษะและความสามารถในการรับผิดชอบงานที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต

ขณะเดียวกัน เมทริกซ์ขนาด 3×3 เมื่อตัดกันก็จะแบ่งออกเป็น 9 ช่อง โดยทั้งแนวนอนและแนวตั้ง จะไล่เลียงลำดับต่ำ กลาง และสูง เท่า ๆ กัน เกิดเป็นช่อง 9 ช่องนั่นเอง

ส่วนประกอบของ 9-Box Grid และความหมายทั้ง 9 ช่อง

1) Low Performance/Low Potential = Risk: พนักงานในกลุ่มนี้ต้องการปรับปรุงหรือเปลี่ยนตำแหน่งงานใหม่ นับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจไม่เหมาะกับองค์กรต่อไป

2) Low Performance/Medium Potential = Inconsistent Player:  พนักงานในกลุ่มนี้ต้องการการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงผลการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น

3) Low Performance/High Potential = Potential Gem: พนักงานในกลุ่มนี้มีศักยภาพในการเติบโต แต่ต้องการการฝึกอบรมและการพัฒนาเพิ่มเติมเพื่อขัดเกลาให้เฉิดฉายในอนาคต

4) Medium Performance/Low Potential = Average Performer : พนักงานในกลุ่มนี้มีผลการปฏิบัติงานที่ดี แต่ขาดศักยภาพในการพัฒนา ซึ่งหากทิ้งไว้ระยะยาวอาจกลายเป็น Deadwood ได้

5) Medium Performance/Medium Potential = Core Player : พนักงานกลุ่มหลักในองค์กรที่มีความสามารถในการพัฒนา สร้างสรรค์ผลงาน และเติบโตไปพร้อม ๆ กับองค์กรได้

6) Medium Performance/High Potential = High Potential: พนักงานกลุ่มที่มีศักยภาพในการเป็นผู้นำโดยรอการโปรโมทในอนาคต 

7) High Performance/Low Potential = Solid Performer : พนักงานที่มีผลการปฏิบัติงานที่ดี แต่ขาดศักยภาพในการพัฒนาเพิ่มเติม ส่วนมากจะเป็น Specialist ในด้านนั้น ๆ โดยเฉพาะ

8) High Performance/Medium Potential = High Performer : พนักงานกลุ่มที่มีความสามารถในการพัฒนาเพิ่มเติม ทำงานได้ดีมาก และสามารถเป็นผู้นำในอนาคต

9) High Performance/High Potential = Stars : พนักงานในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีทั้งผลการปฏิบัติงานที่ดีและมีศักยภาพในการเติบโตสูง หรือก็คือ Star Talent นั่นเอง


ขั้นตอนการใช้ 9-Box Grid ในองค์กร


ขั้นตอนที่ 1: การประเมินผลการปฏิบัติงานและศักยภาพ

ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรบุคคลควรร่วมกันประเมินผลการปฏิบัติงานและศักยภาพของพนักงานแต่ละคน โดยใช้ข้อมูลจากการประเมินผลงานและการสัมภาษณ์เชิงลึก

ขั้นตอนที่ 2: การวางตำแหน่งพนักงานใน 9-Box Grid

นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินมาวางตำแหน่งพนักงานใน 9-Box Grid เพื่อดูภาพรวมของสถานะของพนักงานในองค์กร

ขั้นตอนที่ 3: การวางแผนการพัฒนาและการจัดการ

ใช้ผลลัพธ์จาก 9-Box Grid ในการวางแผนการพัฒนาและการจัดการพนักงาน เช่น การฝึกอบรม การหมุนเวียนตำแหน่งงาน และการจัดการผลงาน

ขั้นตอนที่ 4: การติดตามและประเมินผล

ติดตามผลการดำเนินงานและปรับปรุงแผนการพัฒนาและการจัดการตามความเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


การประยุกต์ใช้ 9-Box Grid ในงาน HR

หลังจากประเมินพนักงานตามหลัก 9-Box Grid แล้ว เราสามารถประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการบุคลากรหลาย ๆ ด้าน รวมถึงการเฟ้นหาบุคลากรที่มีศักยภาพ การพัฒนา การวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง และการจัดการผลการปฏิบัติงาน ดังนี้

1. การหาบุคลากรที่มีศักยภาพ (Talent Identification)

9-Box Grid สามารถช่วยระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูง หรือที่เรียกว่า Star Talent หรือผู้ที่สามารถเลื่อนตำแหน่งได้ (Promotable) ซึ่งเหมาะสมกับตำแหน่งผู้นำและบทบาทสำคัญ โดยองค์กรสามารถมุ่งเน้นการพัฒนาพนักงานกลุ่มนี้เพื่อเพิ่มศักยภาพให้สูงสุด

2. การพัฒนาบุคลากรเพิ่มเติม (Development)

9-Box Grid สามารถช่วยให้องค์กรมองเห็นว่า ‘ใคร’ เป็นจุดแข็งหรือจุดอ่อนขององค์กร โดยเราสามารถวางแผนทำเส้นทางการฝึกอบรม (Training Roadmap) แก่กลุ่มที่ตกอยู่ใน Low Performance หรือ Low Potential

3. การวางแผนการสืบทอดตำแหน่ง (Succession Planning)

9-Box Grid สามารถช่วยองค์กรในการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งในอนาคต โดยการระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและมีความพร้อมสำหรับบทบาทผู้นำ High Performance หรือ High Potential โดยการวางแผนการสืบทอดตำแหน่งจะช่วยให้องค์กรมีบุคลากรที่มีความสามารถพร้อมรับบทบาทสำคัญในอนาคต

4. การจัดการผลการปฏิบัติงาน (Performance Management)

9-Box Grid สามารถช่วยผู้จัดการในการให้ข้อเสนอแนะและการโค้ชชิ้งที่ตรงจุดแก่พนักงาน เช่น พนักงานในกลุ่มดาวรุ่งและผู้ที่สามารถเลื่อนตำแหน่งได้ อาจต้องการรงานที่ท้าทายและโครงการสำคัญ ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพสูงสุด ขณะที่พนักงานในกลุ่มผลงานต่ำหรือต้องพัฒนา อาจต้องได้รับข้อเสนอแนะ หรือหากไปต่อไม่ได้จริง ๆ ก็อาจต้องเข้าโปรแผนการปรับปรุงผลการปฏิบัติงาน (PIP)

ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia

นอกจากเครื่องมืออย่าง 9-Box Grid จะช่วยพัฒนาบุคลากรในองค์กรแล้ว เราขอแนะนำ ระบบประเมินผลพนักงาน Prosoft HCM ที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในองค์กรให้เป็นเลิศด้วยกระบวนการ วางกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อช่วยให้การประเมินผลงาน และ สมรรถนะของพนักงาน (Competency) ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ระบบประเมินที่รองรับได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ประเมินผลงานแบบ 360 องศา ประเมินสมรรถนะ ประเมินผลสัมฤทธิ์ KPI พนักงานประเมินตนเอง ประเมินองค์กร ประเมินประจำปี ผู้บริหารสามารถตรวจสอบ แบบประเมินของพนักงานภายใต้สังกัดได้ พร้อมออกรายงานสรุปผลการประเมิน ให้พนักงานทราบคะแนนของตนเองในด้านต่างๆ ได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังสามารถ ใช้งานผ่าน Smart Phone ตอบโจทย์ทุก Lifestyle ของคนรุ่นใหม่

ระบบประเมินผลพนักงาน Prosoft HCM

เครื่องมือที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของบุคลากรภายในองค์กรให้เป็นเลิศ

ประเมินผลงานแบบ 360
วัด KPI ได้หลากหลาย
ประเมินสมรรถนะ
ใช้งานง่าย วัดผลได้จริง
ระบบประเมินผลพนักงาน Prosoft HCM Human Capital Management
 419
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
AQ หรือ Adversity Quotient คือความฉลาดในการรับมือกับปัญหา ทั้งสภาพกาย และจิตใจ ถูกบัญญัติขึ้นโดยพอล สโตลทซ์ (Paul Stoltz) เมื่อปี 1997 ว่า เป็นวิธีการประเมินความสามารถของแต่ละคนในการรับมือ และตอบสนองต่อความทุกข์ยาก โดยสถาบันชั้นนำอย่างฮาร์วาร์ด (Harvard), สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology หรือ MIT) และคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon) ต่างก็ใช้ AQ เป็น ‘Golden Standard’ เพื่อประเมินว่า คนนั้นๆ จัดการกับความท้าทายอย่างไรด้วยกันทั้งสิ้น และยังค้นพบอีกด้วยว่า AQ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ‘การเป็นผู้นำที่ดี’
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์