Background Checks เรื่องสำคัญที่ HR ไม่ควรมองข้าม

Background Checks เรื่องสำคัญที่ HR ไม่ควรมองข้าม

Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา

Background Checks
มีรูปแบบที่หลากหลายขึ้นอยู่กับว่าเราจะเน้นเก็บข้อมูลในเรื่องใด ทั้งนี้หากคุณเป็นมือใหม่ ทาง
Business News Daily ได้แนะนำให้เริ่มต้นจาก 5 หัวข้อหลัก ดังนี้


1. การยืนยันตัวตน (Identity Verification) : ขั้นตอนเริ่มต้นของการทำ Background Checks ทุกประเภทคือการยืนยันว่าบุคคลที่มาสัมภาณ์นั้นมีสิทธิ์ทำงานตรงนี้จริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัญชาติ, ใบอนุญาตทำงาน, บัตรประชาชน เป็นต้น เพราะการว่าจ้างพนักงานที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทางกฎหมาย แม้จะเกิดจากการปิดบังข้อมูลของผู้สมัคร แต่ก็ทำให้องค์กรเจอปัญหาได้เช่นกัน ดังนั้น HR ต้องใส่ใจข้อมูลทุกอย่างโดยละเอียด ไม่มองข้ามเพียงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะเคยมีกรณีที่พนักงานเอาข้อมูลของฝาแฝดมาสมัคร หรือออกเอกสารส่วนบุคคลปลอม ๆ มาอ้างอิง ซึ่งหากไม่นำไปเข้ากระบวนการ Reference Checks ก็อาจถูกหลอกได้อย่างง่ายดาย

2. การเช็คประวัติอาชญากรรม (Criminal Check) : หน้าที่ตรงส่วนนี้ต้องทำร่วมกับฝ่ายกฎหมาย และต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องเท่านั้น ไม่แอบสืบข้อมูลโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนแม้พนักงานดังกล่าวจะมีแนวโน้มของการก่ออาชญากรรมเมื่อในอดีตก็ตาม อนึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าแม้พนักงานบางท่านจะเคยมีประวัติอาชญากรรม แต่หากมีข้อมูลเสริมว่าได้รับโทษ หรือมีผลงานอื่น ๆ ในด้านบวกมาเสริม

ฝ่าย HR มีสิทธิ์ให้โอกาสทำงานได้ตามความเหมาะสม แต่อย่างไรก็เสียก็ต้องคำนึงถึงบริบทในภาพรวมขององค์กรด้วยว่าสามารถทำได้หรือไม่ เช่นหากเป็นงานที่ต้องพบปะกับลูกค้าต่างเพศ ก็ควรหลีกเลี่ยงพนักงานที่มีประวัติล่วงละเมิดเอาไว้ก่อน ซึ่ง HR Recruiter สามารถพิจารณาแยกเป็นกรณีได้เลย

3. การตรวจสอบประวัติทางการเงิน (Credit Check) : ปกติแล้วการตรวจเช็คประวัติทางการเงินหรือภาระหนี้สินเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อคนที่อยู่ในตำแหน่งเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายภายในองค์กร ทั้งนี้หากพนักงานมีประวัติด้านการเงินไม่ดี องค์กรก็ต้องเปิดโอกาสให้พนักงานอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติม ก่อนที่จะตัดสินใจเชิญพนักงานออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้เรื่องเกี่ยวกับการเงินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน องค์กรต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎหมายอย่างเคร่งครัด

4. การตรวจสอบประวัติด้านการศึกษา (Educational Check) : ข้อมูลส่วนนี้เป็นข้อมูลที่สำคัญไม่ต่างกับข้อมูลด้านการยืนยันตัวตน โดยเฉพาะในสายงานที่มีวุฒิการศึกษากำหนดไว้อย่างจริงจัง ซึ่ง HR ต้องยืนยันให้ได้ว่าข้อมูลที่ระบุเอาไว้ในใบสมัครเป็นข้อมูลจริง และนอกเหนือจากใบจบการศึกษาแล้ว ยังควรเช็คด้วยว่าผู้สมัครมีประวัติอื่น ๆ เช่นการทุจริตสอบหรือไม่ ข้อมูลนี้จะสะท้อนถึงทัศนคติในการทำงานโดยตรง

5. การตรวจสอบการใช้สื่อโซเชียล (Social Network Check) : ในยุคที่มนุษย์ใช้เวลาส่วนใหญ่บนโลกออนไลน์แบบนี้ สิ่งที่เหลืออยู่แน่ ๆ ก็คือประวัติการใช้โซเชียลหรือเรียกเป็นภาษาทางการว่า Digital Footprint ซึ่งถือเป็นข้อมูลดิบที่ลบไปจากโลกออนไลน์ได้ยาก และสามารถสะท้อนถึงตัวตนของผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี จุดที่ต้องโฟกัสของเรื่องนี้ก็คือปัจจุบันโลกโซเชียลมีแพลตฟอร์มมากมาย

และการใช้ชีวิตมนุษย์ในแต่ละแพลตฟอร์มล้วนแตกต่างกัน ยกตัวอย่างเช่นในแพลตฟอร์มที่ไม่ต้องเปิดเผยตัวตนซึ่งอาจทำให้คนกล้าแสดงความเห็นมากกว่า หรือแพลตฟอร์มที่จำกัดตัวอักษรอย่างทวิตเตอร์ที่อาจทำให้คนใช้คำพูดที่ลงรายละเอียดน้อยกว่าปกติ เป็นต้น 

ดังนั้นการเข้าใจพนักงานจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ HR นำข้อมูลจากทุกแพลตฟอร์มมารวมและวิเคราะห์ออกมาเท่านั้น ทั้งนี้ก่อนที่จะตัดสินพนักงานคนใดก็ตาม ให้คิดว่ามนุษย์ทุกคนมีหลายด้านเสมอ พฤติกรรมใดที่อาจไม่ถูกใจเรา แต่ไม่ได้ผิดครรลองของสังคม ไม่ถือเป็นสิ่งที่ต้องถูกต่อว่า HR ต้องรู้จักแยกแยะและให้ความเป็นธรรมกับการทำ Background Checks เสมอ


ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia

 554
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเสียภาษีเงินได้เป็นการเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งหมายความว่าผู้ที่มีรายได้มากขึ้นจะต้องจ่ายภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามระดับรายได้ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย โดยแบ่งเป็นช่วงรายได้ต่างๆ ที่มีอัตราภาษีแตกต่างกันไป  มาดูกันว่าใครบ้างที่ต้องเสียภาษีและต้องยื่นภาษีเงินได้
โปรแกรมบริหารงานบุคคล Prosoft HRMI มีระบบสวัสดิการเงินกู้ของพนักงาน (Loan Management) ที่แยกมาจากระบบสวัสดิการ (Welfare) เพื่อกำหนดสวัสดิการต่างๆ ของพนักงาน และควบคุมการใช้ทรัพย์สินภายในองค์กร และช่วยเพิ่มความสามารถในการจัดการสวัสดิการเงินกู้ของพนักงาน
ระบบอนุมัติเอกสารออนไลน์ (Approve Center) คือ ระบบที่ช่วยให้การขออนุมัติเอกสารเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยเป็นระบบการทำงานแบบ Workflow ที่ครอบคลุมถึงทุกแผนกในองค์กร สามารถทำได้ง่าย ๆ บนแอปพลิเคชันเดียว อนุมัติได้จากทุกที่ ทุกเวลา บนอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง PC, Laptop, Tablet และ Smartphone
สัญญาจ้างงาน คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ระบุเงื่อนไขการจ้างงาน โดยทั่วไปจะกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ค่าตอบแทน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย และช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์