• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • “ใบเตือน – มีผลอย่างไรต่อทางกฎหมายการเลิกจ้าง และ หากพนักงานไม่ยอมลงลายมือชื่อทำอย่างไรได้บ้าง”

“ใบเตือน – มีผลอย่างไรต่อทางกฎหมายการเลิกจ้าง และ หากพนักงานไม่ยอมลงลายมือชื่อทำอย่างไรได้บ้าง”

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • “ใบเตือน – มีผลอย่างไรต่อทางกฎหมายการเลิกจ้าง และ หากพนักงานไม่ยอมลงลายมือชื่อทำอย่างไรได้บ้าง”

“ใบเตือน – มีผลอย่างไรต่อทางกฎหมายการเลิกจ้าง และ หากพนักงานไม่ยอมลงลายมือชื่อทำอย่างไรได้บ้าง”

 

เมื่อพนักงานมีการกระทำความผิดตามเงื่อนไขหรือนโยบายของบริษัทฯ ตามบทการลงโทษแล้วนั้น ทางบริษัทฯ มีสิทธิ์ที่จะออกหนังสือตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรให้กับพนักงาน โดยการออกหนังสือจะต้องออก ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว การเตือนที่จะมีผลถึงขั้นเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยนั้น ต้องเป็นการเตือนเป็นลายลักษณ์อักษรและมีรายละเอียดองค์ประกอบที่ชัดเจนดังนี้

1.ต้องทำเป็นหนังสือ

กรณีที่เตือนเป็นหนังสือแล้วลูกจ้างไม่ยอมลงลายมือชื่อ นายจ้างจะบังคับให้ลูกจ้างลงลายมือชื่อในหนังสือเตือนไม่ได้นะ เพราะลูกจ้างไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องลงลายมือชื่อรับทราบคำเตือน ดังนั้นกรณีที่มีการเตือนเป็นหนังสือแล้วลูกจ้างไม่เซ็นรับหนังสือเตือนนั้นก็ให้อ่านให้ เขาและพยานฟัง แล้วให้พยานลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐานแทน หรือ ไปยังที่อยู่ของลูกจ้าง

2.ระบุให้ชัดเจนถึงผู้กระทำความผิด

ลักษณะของความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำความผิดต้องระบุให้ชัดเจนว่าทำผิดอย่างไร

3.ต้องมีข้อความระบุห้าม!!  ไม่ให้ลูกจ้างทำ "ความผิดเดียวกัน"  อีกหากยังกระทำอีกก็จะต้องถูกลงโทษ

หากลูกจ้างทำความผิดในความผิดเดียวกันภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่ทำความผิดครั้งแรก นายจ้างก็มีสิทธิ์เลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย อันนี้เป็นหลักกฎหมายนะ (เว้นแต่ในข้อบังคับของนายจ้างจะกำหนดเป็นอย่างอื่นเช่นจะต้องมีการเตือน 3 ครั้งก็ต้องว่ากันไปตามข้อบังคับ)

 

          หนังสือเตือนออกแล้วแค่พนักงานไม่ยอมเซ็นรับหนังสือเตือนจะทำอย่างไรได้บ้าง แล้วผลทางกฎหมายจะเป็นเช่นไร เลิกจ้างได้อยู่หรือเปล่า ไม่ต้องหนักใจไปมาฟังทางนี้
การที่ลูกจ้างไม่ยอมเซ็นรับหนังสือเตือนนั้น อาจจะมองได้หลายทางในทาง ทั่วๆไปลูกจ้างอาจจะมองว่าสิ่งที่ลูกจ้างทำนั้นไม่ผิด พอไม่ผิดก็ขอไม่เซ็นรับแล้วกัน หรืออีกมุมหนึ่งก็รู้แหละว่าผิดแต่ไม่ยอมรับจะทำไม ซึ่งก็เกิดขึ้นได้ทั้ง 2 มุม
          อย่างไรก็ตามในเรื่องของการออกหนังสือเตือนนั้นกฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบของหนังสือเตือนไว้ กำหนดก็เพียงแต่องค์ประกอบของการเตือนว่าจะต้องครบถ้วน ดังนั้น หากลูกจ้างทำผิด ระเบียบข้อบังคับใด นายจ้างก็สามารถส่งหนังสือเตือนลูกจ้างได้หลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการส่ง จดหมายไปยังภูมิลำเนา การส่งอีเมลหรือแม้แต่การส่งไลน์ หรือวิธีการใดก็ได้ ขอเพียงพิสูจน์ได้ว่า ลูกจ้างได้ "รับทราบ" ก็พอ แม้ไม่เซ็นก็มีผลแล้ว

ขอบคุณที่มา :: https://www.facebook.com/labourlawclinique/photos/a.100840184827592/386306029614338/?type=3

 11586
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์