ทำไมถึงลาออก? คำถามง่าย ๆ แต่ล่อเป้า ช่วยให้ HR รู้ทัศนคติของผู้สมัครงาน

ทำไมถึงลาออก? คำถามง่าย ๆ แต่ล่อเป้า ช่วยให้ HR รู้ทัศนคติของผู้สมัครงาน


วิธีรู้ทัศนคติของผู้สมัครงานนั้นทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมมากสุดมักเกิดขึ้นในห้องสัมภาษณ์พนักงานใหม่ หาก HR 
เลือกคำถามที่ถูกต้อง จะสามารถวัดทัศนคติของว่าที่พนักงานคนนั้นได้ทันที ที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องใช้คำถามยาก ๆ แต่อย่างใด เพราะการถามคำถามง่าย ๆ ว่า ทำไมถึงลาออกจากที่ทำงานเก่า ? หรือ ทำไมถึงอยากออกจากที่ทำงานเก่า ? ก็ช่วยคัดกรองทัศนคติเบื้องต้นได้ดีแล้ว ทำไมคำถามสั้น ๆ ง่าย ๆ แบบนี้ ถึงเป็นกับดักชั้นดีที่ HR ชอบใช้ มีเหตุผลดังต่อไปนี้


1.วัดไหวพริบปฏิภาณ วัดวาทศิลป์ในการตอบคำถามของผู้สมัครงาน

สัจธรรมของโลกการทำงานก็คือ ไม่ใช่ทุกคนจะจากลากับองค์กรเก่าด้วยดี แต่ในขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน การบอกเหตุผลโต้ง ๆ ว่า ลาออกเพราะหัวหน้างี่เง่า ที่ทำงานเก่าห่วยแตก สังคมภายในหน้าไหว้หลังหลอก ฯลฯ อาจไม่ใช่การสร้างความประทับใจแรกต่อ HR ที่ดีเสียเท่าไหร่

กลับกัน หากผู้สมัครงานตอบคำถามอย่างมีไหวพริบปฏิภาณ ทำให้เรื่องที่อาจดูมีปัญหาใหญ่โต กลายเป็นเรื่องจิ๊บ ๆ ได้ จะช่วยสร้างความประทับใจให้ HR ไม่น้อย แม้ในอีกด้านหนึ่งมองได้ว่ามันคือการโกหก แต่ HR จะถือว่าผู้สมัครงานคนนั้นมีกึ๋นในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีวาทศิลป์ในการพูดและโน้มน้าวใจ 

คล้ายกับการถามว่า ‘อะไรคือข้อเสียในตัวเรา’ นั่นเอง คงไม่มีใครที่เล่าข้อเสียด้านลบของตัวเองเป็นวรรคเป็นเวร เพื่อให้เสียคะแนนในสายตา HR เช่นกัน

2.ช่วยบ่งบอกว่าผู้สมัครงานมีความเป็นมืออาชีพแค่ไหน

การทำงานกับผู้อื่น ก็เหมือนลิ้นกับฟัน อาจมีเรื่องกระทบกระทั่ง มีความเข้าใจที่ไม่ตรงกันบ้าง แต่คนที่มืออาชีพ จะรู้ว่าเรื่องแบบไหนควรปล่อยวาง เรื่องแบบไหนควรจบในห้องประชุม เรื่องแบบไหนไม่เอามาเผยแพร่ต่อภายนอก และเรื่องแบบไหนไม่ควรเก็บเอามาคิดเป็นเรื่องส่วนตัว 

ซึ่งคำถามสัมภาษณ์งานข้อดังกล่าวจะช่วยวัดได้ชัดเจนว่า ผู้สมัครงานมีความเป็นมืออาชีพมากเพียงใด

หากผู้สมัครงานเอาเรื่องไม่ดีของที่ทำงานเก่ามาเล่าตอนสัมภาษณ์งาน HR จะมั่นใจได้อย่างไรว่า หากรับเข้ามาทำงานแล้ว จะไม่เกิดปัญหาแบบนี้ขึ้นที่นี่

3.ดูการควบคุมอารมณ์ของผู้สมัครงานว่า อ่อนไหวง่าย หรือแข็งแกร่งพร้อมสู้ทุกอุปสรรค

หากจากกันกับที่ทำงานเก่าแบบไม่ค่อยดี เป็นเรื่องปกติหากจะทำให้อารมณ์และความรู้สึกของผู้สมัครงานขุ่นมัว และอัดอั้นตันใจอยากระบายออกมาให้ทุกคนฟัง แต่หากเอามาเล่าในห้องสัมภาษณ์งาน นอกจากจะไม่เป็นมืออาชีพ HR จะมองด้วยว่าผู้สมัครงานคนนั้นควบคุมอารมณ์ไม่เป็น 

ถึงแม้เรื่องที่เขาเจอจะเป็นเรื่องจริง แต่การเอามาบ่นในที่แห่งนี้ ก็จะสร้างความสงสัยให้ HR คิดว่า เอามาบ่นแบบนี้มันจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ตอนอยู่ที่เก่าทำไมไม่พูดหรือแก้ไขตั้งแต่ทีแรก ?



ขอบคุณที่มา : th.hrnote.asia

 1597
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์