ลาป่วยเกิน 30 วัน เนื่องจากประสบอุบัติเหตุ เลิกจ้างได้หรือไม่?

ลาป่วยเกิน 30 วัน เนื่องจากประสบอุบัติเหตุ เลิกจ้างได้หรือไม่?



"ลูกจ้างประสบอุบัติเหตุและลาป่วยโดยมีใบรับรองแพทย์ซึ่งปัจจุบันมาทำงานไม่ได้กว่า 30 วันแล้ว บริษัทจะสามารถเลิกจ้างได้หรือไม่ เพราะบริษัทเองก็ไม่สามารถ แบกรับค่าใช้จ่ายได้เช่นกัน?"


1.ตามกฎหมายแล้วลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ตามมาตรา 32 และมีสิทธิได้รับค่าจ้างตลอดเวลาที่ลาป่วยปีหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำงาน ตามมาตรา 57
2.หากลูกจ้างลาป่วยมากไปกว่านั้น จะไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาป่วยเกิน 30 วัน รวมถึงลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีภายหลังจากวันลาป่วยพ้นระยะเวลา 30 วันทำงานดังกล่าว โดยอาจถือได้ว่าสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีภายหลังวันลาป่วย 30 วันทำงาน ได้เกลื่อนกลืนกันไปในวันลาป่วยของลูกจ้าง ที่ลาป่วยโดยไม่มีสิทธิ์รับค่าจ้างแต่อย่างใด ทั้งนี้ เว้นแต่ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดให้จ่าย (อ้างอิง หนังสือข้อหารือกฎหมายแรงาน ที่ รง 0504/0876 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2548)


สรุป ความเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น การที่ลูกจ้างมาทำงานไม่ได้เป็นเวลา กว่า 30 วันใน 30 วันแรกนายจ้างยังคงต้องจ่ายค่าจ้างอยู่ หลังจากนั้นลูกจ้างก็ยังมีสิทธิ์ในการลาป่วยเพียงแต่ไม่รับค่าจ้าง

และกรณีหากไปเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวถือว่าลูกจ้างไม่มีความผิดนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชย และรวมถึงค่าตกใจอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากการเจ็บป่วยนั้น ทำให้ลูกหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยเหตุการหย่อนสมรรถภาพในการทำงานดังกล่าวจึงเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม(ต้องพิจารณาเป็นกรณีไป)



ที่มา เพจ คลินิกกฎหมายแรงงาน

 10900
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์