โครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกในสถานประกอบการ
สำนักงานประกันสังคมได้จัดโครงการดูแลสุขภาพผู้ประกันตนเชิงรุกในสถานประกอบการ โดยผู้ประกันตนสามารถเข้าตรวจค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจได้ฟรี ในสถานประกอบการนำร่อง 7 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วย 1) สมุทรปราการ 2) ชลบุรี 3) นนทบุรี 4) ปทุมธานี 5) ระยอง 6) พระนครศรีอยุธยา 7) สมุทรสาคร
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนจะได้รับการตรวจสุขภาพ จัดบริการและป้องกันโรคในสถานประกอบการ เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เน้นการค้นหาความเสี่ยงโรคหลอดเลือดและหัวใจ
2. แบ่งกลุ่มตามความเสี่ยง เสี่งสูง ปานกลาง น้อย
3. โรงพยาบาลนัดหมายประเมินเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายบุคคล ระยะเวลา 6 เดือน ติดตามระบบผล Telemedicine และดำเนินการปรับพฤติกรรม
4. ตรวจประเมินคัดกรองความเสี่ยง (หลัง)
เพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการผ่าตัด
ในส่วนของการเพิ่มสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงการผ่าตัดนั้น ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงสิทธิการรักษา 5 โรค ตามโรงพยาบาลที่กำหนด เพื่อลดการรอคอยการผ่าตัดหรือทำหัตถการ ซึ่งทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ ให้แก่สถานพยาบาลที่ดำเนินการผ่าตัดโดยตรง ผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรับบริการ
โดยสำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือทำหัตถการนำร่องในกลุ่ม 5 โรค ดังนี้
1.โรคมะเร็งเต้านม
2.ก้อนเนื้อที่มดลูก
3.โรคนิ่วในไต หรือถุงน้ำดี
4.โรคหลอดเลือดสมอง
5.โรคหัวใจและหลอดเลือด
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาเพื่อเข้ารับการผ่าตัด 5 โรคดังกล่าว ได้ที่สถานพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชนทุกแห่งที่ทำบันทึกข้อตกลงกับสำนักงานประกันสังคม
โครงการส่งเสริมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ประกันตน
สำนักงานประกันสังคมจัดโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน ม.33 วงเงินโครงการไม่เกิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่างสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อไถ่ถอนจำนองที่อยู่อาศัยจากสถาบันการเงินอื่น และเพื่อลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่อาศัยในบัญชีเงินกู้ที่กู้อยู่กับธนาคารเดิม
ทั้งนี้ มีวงเงินสินเชื่อไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท กล่าวคือต้องมีวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัยคงเหลือไม่เกินวงเงิน 2 ล้านบาท ซึ่งวงเงินการให้สินเชื่อจะเป็นไปตามการพิจารณาและดุลยพินิจของธนาคาร
โดยคุณสมบัตู้ขอสินเชื้อ จะต้องมีสถานะเป็นผู้ประกันตน ม.33 มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 12 เดือน ก่อนเดือนที่เข้าร่วมโครงการ
สามารถยื่นขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ผู้ประกันตนขอหนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตน แบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน เว็บไซต์ โดยคลิก ที่เมนู เข้าสู่ระบบผู้ประกันตน/สมัครสมาชิก และเลือก "หนังสือรับรองโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน"
2. ผู้ประกันตนยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารอาคารสงเคราะห์พร้อมเอกสารเบื้องต้น ประกอบด้วย
- หนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตนออกโดยสำนักงานประกันสังคม
- เอกสารขอสินเชื่อตามหลักเกณฑ์และระเบียบธนาคาร
3. การแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ทางธนาคารอาคารสงเคราะห์ แจ้งผลการพิจารณากับผู้ประกันตนโดยตรง
อย่างไรก็ตามผู้ประกันตนสามารถยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2566 หรือจนกว่าจะครบวงเงินที่ได้อนุมัติโครงการ
สิทธิคุ้มครองโควิด 19 ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ
เนื่องจากตอนนี้โควิด19 เป็นโรคประจำถิ่นแล้ว ทางประกันสังคมจึงยังให้สิทธิคุ้มครองผู้ประกันตน ณ สถานพยาบาลตามสิทธิ โดยมีหลักเกณฑ์การรับสิทธิแยกตามประเภทผู้ประกันตนดังนี้
1. ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 ได้รับสิทธิเมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
2. ผู้ประกันตน ม.38 และ ม.41 ได้รับสิทธิคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
ทั้งนี้ ผู้ประกันตนที่เข้าเงื่อนไขตรงกับสิทธิประโยชน์ที่สำนักงานประกันสังคมจัดโครงการขึ้น สามารถเข้ารับบริการได้ หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมทั้งหมด ได้ที่ หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง