เงินสมทบประกันสังคม ม.33-ม.39-ม.40 ลดหย่อนภาษีประจำปีได้กี่บาท

เงินสมทบประกันสังคม ม.33-ม.39-ม.40 ลดหย่อนภาษีประจำปีได้กี่บาท

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่กรมสรรพากร เปิดให้ผู้มีรายได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทางเอกสาร ตั้งวันที่ 1 มกราคม 2567-31 มีนาคม 2567 และทางออนไลน์ สามารถยื่นได้ถึง 9 เมษายน 2567 นั้น ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน สามารถนำเงินสมทบมาคำนวณลดหย่อนภาษีได้ ดังนี้

– ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท

– ผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 5,184 บาท

– ผู้ประกันตนมาตรา 40 สามารถนำเงินสมทบมาลดหย่อนภาษีตามยอดจริง สูงสุดไม่เกิน 3,600 บาท


โดยผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย 50 ทวิ จากบริษัทที่ทำงานอยู่ หรือขอคัดสำเนาการส่งเงินสมทบ ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชน สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 สามารถขอหนังสือรับรองการส่งเงินสมทบ ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา โดยใช้บัตรประจำตัวประชาชนเช่นกัน

เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวย้ำต่อไปว่า จะเห็นได้ว่า เงินสมทบที่ผู้ประกันตนส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุก ๆ เดือน นอกจากผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ สิทธิประโยชน์เมื่อว่างงาน สิทธิประโยชน์ในยามเกษียณ ก็ยังสามารถได้รับสิทธินำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 886
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์