อัพเดทเทรนด์และทักษะที่ผู้นำ HR ต้องมี ภายในปี 2027

อัพเดทเทรนด์และทักษะที่ผู้นำ HR ต้องมี ภายในปี 2027



เมื่อโลก
ธุรกิจและรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป ผู้บริหารระดับสูงอย่าง 
Chief People Officer (CPO)  ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของแผนก HR ต้องรีเซ็ตบทบาทของตัวเองอย่างไร? อะไรบ้างที่ CPO ควรหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น? เทรนด์ทักษะอะไรบ้างที่คนทำงานด้าน HR ต้องมีเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งบริหารในอนาคต? หาคำตอบได้ในงานวิจัยชิ้นล่าสุดของ The Adecco Group เรื่อง The Chief People Officer of the Future: How is the Top People Management Role Changing as the World of Work Evolves?  ที่เราสรุปมาให้ในบทความนี้ จากการสำรวจในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารระดับสูง 122 คน ในบริษัทชั้นนำจากทุกทวีปทั่วโลก 

HR กับการปรับโฟกัสสู่ HR Tech และ Data Analytics 

เพื่อสำรวจแนวโน้มการปรับรูปแบบการทำงานของ HR ในอนาคต จากแบบสำรวจเราได้ถามผู้บริหารระดับสูงว่าปัจจุบันใช้เวลางานไปกับงานประเภทใดมากที่สุดและคาดว่าในอนาคตจะต้องใช้เวลากับงานส่วนใดมากที่สุด ผลสำรวจพบเทรนด์ที่น่าสนใจว่าผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่างานที่ CPO หรือผู้นำฝ่าย HR ต้องหันมาโฟกัสมากที่สุดในตอนนี้คืองานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและฐานข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น HR tech หรือ people analytics ที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้สมัครและพนักงานเพื่อนำไปพัฒนากลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รองลงมาได้แก่งานที่เกี่ยวกับการ transform องค์กรและสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่ผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่าผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง CPO ต้องหันมาโฟกัสงานส่วนนี้มากขึ้น รวมถึงปรับขั้นตอนการทำงานให้ lean ขึ้น เพื่อลดเวลาที่ใช้ไปกับการบริหารจัดการภายในทีมและเรื่องกฎระเบียบต่างๆ ลง เพื่อที่จะได้มีเวลาโฟกัสงานที่เป็น priority หลักสำหรับองค์กรมากยิ่งขึ้น

HR Tech จะเข้ามีบทบาทในงาน HR ส่วนไหนบ้าง?

เมื่อถามว่าในอนาคต ส่วนงานใดบ้างของ HR ที่มีแนวโน้มจะใช้งานระบบ automation อย่างมาก หรือ มากที่สุด ผลสำรวจพบว่างานที่มีแนวโน้มจะใช้งานระบบ automation มากที่สุดคือ งานด้าน employee attraction เช่น การโพสต์ประกาศรับสมัครงาน การทำโฆษณารับสมัครงาน (75%) รองลงมาคืองานด้าน employee onboarding และ employee assessment (71%) เช่น การอบรมพนักงานเบื้องต้น การประเมินทักษะผู้สมัครและพนักงาน  


ส่วนงานที่ผู้บริหารมองว่ายังต้องพึ่งพาคนอยู่มากและน่าจะใช้ 
AI เข้ามาทดแทนได้ยากคือ ส่วนงานด้าน employee promotion ที่ต้องตัดสินใจว่าจะเลื่อนขั้นให้ใคร (51%) และส่วนงานด้าน employee selection ที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจเลือกผู้สมัครเข้ามาทำงานในขั้นตอนสุดท้าย (56%) รวมถึงงานด้าน employee evaluation ที่ยังคงต้องพึ่งพาคนในการสื่อสารและให้ฟีดแบ็คกับพนักงาน (58.2%) อย่างไรก็ตามแม้ผู้บริหารจะมองว่างานในสามส่วนนี้จะใช้ AI เข้ามาช่วยงานได้ยาก แต่ตัวเลขที่เกิน 50% นี้ก็เป็นสัญญาณสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในแทบทุกส่วนงาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คนทำงานด้าน HR จะต้องเตรียมพร้อมในการปรับทักษะด้าน HR tech และ data analytics เพื่อให้พร้อมรับมือกับรูปแบบการทำงานที่กำลังจะเปลี่ยนไป

ทักษะที่ผู้บริหารฝ่าย HR ต้องมีภายใน 2027  

จากบทบาทของผู้บริหารฝ่าย HR ที่เปลี่ยนไปจึงทำให้คุณสมบัติและทักษะที่มีต้องเปลี่ยนตาม ทักษะด้าน HR tech และ data analytics จึงเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตมากที่สุด โดยผู้บริหารส่วนใหญ่ราว 90% มองว่า ความรู้ความเข้าใจด้าน data analytics และ people analytics เป็นทักษะที่ CPO จำเป็นต้องมีใน 5 ปีข้างหน้ามากที่สุด รองลงมาได้แก่ ทัศนคติที่เปิดกว้างพร้อมจะเรียนรู้และทดลองสิ่งใหม่ (88%) และความรู้เกี่ยวกับ HR tech (87%)  
 
ส่วนในอีก 20 ปีข้างหน้าทักษะด้าน creative thinking หรือ ทักษะความคิดสร้างสรรค์และการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในองค์กรจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด (87%) เนื่องจากในอนาคตจะมีการใช้ระบบ automation เข้ามาผสมผสานในแทบทุกส่วนงานของ HR ดังนั้นสิ่งที่ผู้บริหารจำเป็นต้องมีคือความคิดสร้างสรรค์และความรู้ความเข้าใจที่จะต่อยอดการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นำมาใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลให้ดียิ่งขึ้น 

สำหรับภาพรวมของทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต จากกการสำรวจเราพบว่า 5 ทักษะที่ CPO หรือผู้บริหารในฝ่าย HR ควรมี อันดับหนึ่ง ได้แก่  “ทักษะที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี” ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านดิจทัล การวิเคราะห์ข้อมูล และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยี ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น รองลงมาที่สำคัญไม่แพ้กันและจะละเลยไม่ได้เลยนั่นก็คือ “ทักษะทางสังคมและอารมณ์” โดยเฉพาะทักษะ empathy และ emotional intelligence เพราะการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของพนักงานและทำให้พวกเขามีความสุขในการทำงานจะช่วยทำให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและสร้างความสำเร็จให้กับองค์กร รวมไปถึงภาวะผู้นำที่จำเป็นอย่างมากในการบริหารคน ส่วนอันดับสามได้แก่ “ทักษะในการแก้ไขปัญหา” เช่น ความคิดสร้างสรรค์ การเปิดรับที่จะเรียนรู้และทดลองสิ่งใหม่ๆ อันดับสี่ ได้แก่ “ทักษะที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบ ช่น ทักษะการคิดและวิเคราะห์เชิงระบบ ทักษะการบริหารจัดการความเสี่ยงเป็นต้น และอันดับที่ 5 ได้แก่ “ทักษะด้านการบริหารจัดการทรัพยากร” เช่น ทักษะการบริหารจัดการด้านการเงิน ทักษะการบริหารเวลา เป็นต้น ดังนั้นหากคุณอยากประสบความสำเร็จในงานสาย HR ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพัฒนาและฝึกฝนทักษะเหล่านี้เพื่อที่จะปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึง

สรุป

การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจและการพัฒนาของเทคโนโลยีส่งผลกระทบสำคัญมายังรูปแบบการทำงานของ HR ที่จำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและตอบโจทย์ธุรกิจที่เปลี่ยนไป สำหรับบทบาทของผู้นำทีม HR ในอนาคต เหล่าผู้บริหารเห็นตรงกันว่าจำเป็นที่จะต้องปรับบทบาทมาโฟกัสด้านเทคโนโลยีและการวิเคราะห์ฐานข้อมูลมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับการบริหารอารมณ์ของพนักงานและโอบรับช่วยเหลือพนักงานทุกคน เรียกได้ว่าต้องมีพร้อมทั้ง soft skill และ new skill ดังนั้นผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำทีม HR จึงต้องทำตัวเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้วอยู่เสมอ พร้อมที่จะ unlearn relearn และ reset กลยุทธ์การบริหารคนและวิธีการทำงานเพื่อหา solution ที่ดีที่สุดสำหรับองค์กร  

 

บทความโดย : https://adecco.co.th/

 417
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์