เทรนด์การทำงานขององค์กรในปี 2023 ที่ HR ควรรู้

เทรนด์การทำงานขององค์กรในปี 2023 ที่ HR ควรรู้



ลองมาดูกันว่า 7 เทรนด์การทำงานในปี 2023 จะมีเทรนด์อะไรที่สำคัญในการให้ทีม HR ได้นำไปปรับใช้ในการสร้างองค์กร จัดการด้านบุคลากร ให้เหมาะสมสำหรับปี 2023 ที่กำลังจะมาถึงนี้

1. Hybrid Working จะกลายเป็นเรื่องปกติ

Hybrid Working คือ การทำงานแบบผสมโดยที่บริษัทจะให้พนักงานสามารถทำงานทั้งจากที่ออฟฟิศและจากที่บ้านได้แทนการทำงานที่ออฟฟิศ 100% เหมือนการทำงานรูปแบบเดิมผ่านการใช้งานซอฟต์แวร์ช่วยการทำงานทั้งซอฟต์แวร์ด้านการสื่อสารในองค์กรและซอฟต์แวร์ด้าน Task Management การทำงานแบบ Hybrid Working ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2020 ที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 

ซึ่งมาในปี 2023 เทรนด์การทำงานแบบ Hybrid Working จะกลายเป็นเรื่องปกติของการทำงานในองค์กรสมัยใหม่เนื่องจากสามารถสร้างประสิทธิภาพในการทำงานได้ใกล้เคียงหรือมากกว่าการทำงานในรูปแบบเก่า ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และช่วยทำให้พนักงานได้อิสระในการใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งทำให้การทำงาน Hybrid Working กลายเป็นสิ่งที่คนทำงานในยุคปัจจุบันต่างมองหาจากองค์กรที่ต้องการร่วมงานมากขึ้นด้วย 

2. บุคลากรที่มีศักยภาพกำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นทุกปี

หน้าที่หลักของทีม HR แน่นอนว่าต้องเป็นเรื่องของการเฟ้นหาบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาเติมเต็มให้องค์กรอยู่ตลอด แต่ด้วยเทรนด์ของการทำงานในปี 2023 ที่เริ่มมีความเปลี่ยนแปลง บุคลากรที่มีคุณภาพ มีทักษะการทำงานทั้งในด้าน Soft Skills และ Hard Skills กลับเป็นที่ต้องการขององค์กรส่วนใหญ่และองค์กรก็พร้อมจ้างด้วยอัตราค่าตอบแทนที่สูง จนทำให้บุคลากรที่มีศักยภาพในการทำงานเป็นอะไรที่หาได้ยากมากขึ้นทุกปี 

ดังนั้นในเมื่อบุคลากรที่มีศักยภาพกำลังเป็นที่ต้องการและหายากมากขึ้นทุกปี (แถมค่าจ้างต่อเดือนก็สูง)การให้ความสำคัญในการเทรนนิ่ง บ่มเพาะบุคลากรในองค์กรให้มีศักยภาพ เพิ่มทักษะการทำงานใหม่ ๆ จึงกลายเป็นเรื่องที่ทีม HR ทุกคนต้องหันมาจริงจังมากขึ้น อาจจะเริ่มจากการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสายงานต่าง ๆ มาอบรมให้กับพนักงานของคุณหรือลองจัดสวัสดิการที่ส่งเสริมให้พนักงานได้พัฒนาทักษะ Soft Skills ต่าง ๆ เช่นคอร์สเรียน สัมมนา ฯลฯ ก็เป็นอะไรที่จะทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดูใส่ใจกับพนักงานมากขึ้นและยังช่วยลดอัตราการ Turn Over ให้องค์กรได้ด้วย เพราะพนักงานจะรู้สึกถึงความห่วงใยและการสนับสนุน Career Path ที่องค์กรของคุณมอบให้

3. Well-Being คือสิ่งสำคัญต่อพนักงาน

ต่อเนื่องจากสถานการณ์ของโรคระบาดที่เกิดขึ้นและก็ยังคงอยู่กับเราถึงทุกวันนี้ เลยทำให้พนักงานส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพและความเป็นอยู่กันมากขึ้น ดังนั้นเทรนด์ในเรื่องของสวัสดิการด้าน Well-Being หรือด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ในชีวิตการทำงานที่ไม่ใช่เพียงแค่สวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปีหรือประกันกลุ่มแบบทั่วไป
โดยตัวอย่างสวัสดิการที่บริษัทจะมอบให้ในด้าน Well-Being รูปแบบใหม่ ๆ ที่เช่น สวัสดิการอุปกรณ์การทำงานแบบ Ergonomics, สวัสดิการปรึกษาจิตแพทย์ให้กับพนักงานฟรี, สวัสดิการกายภาพบำบัดสำหรับ Office Syndrome โดยเฉพาะ ฯลฯ ก็จะช่วยให้พนักงานรู้สึกถึงความห่วงใยด้านสุขภาพที่องค์กรให้กับพวกเขา ตัวของพนักงานเองก็จะมีความสุขในการทำงานและพร้อมที่จะเติบโตไปกับองค์กรของคุณ

4. DEI คือสิ่งที่พนักงานต้องการ

DEI หรือ Diversity, Equity และ Inclusion ถ้าแปลตรงตัวก็คือความหลากหลาย ความเสมอภาค และการรวมกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวในองค์กร ซึ่งเรื่องของ DEI นี่เองที่เป็นสิ่งที่พนักงานโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ทุกคนล้วนตามหาจากองค์กรที่อยากร่วมงานด้วย 

เช่น การยอมรับความหลากหลายของคนทำงานในองค์กรที่ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องเพศ แต่ยังรวมถึงช่วงวัย เชื้อชาติ ภาษา ประสบการณ์ ที่มีความต่างกันในองค์กร ซึ่งต้องยอมรับว่าการสร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ DEI ทำให้สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสุข พนักงานจะรู้สึกว่าองค์กรยอมรับในสิ่งที่พวกเขาเป็น ทำให้การทำงานมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น สามารถคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ และยังช่วยเพิ่มแนวทางการแก้ปัญหาในการทำงานแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

5. บทบาทของ Manager ที่เปลี่ยนให้ทันสมัยมากขึ้น

หากพูดถึงบทบาทการทำงานของ Manager หรือในที่นี้อาจหมายถึง Team Lead ด้วยในการทำงานรูปแบบเดิมหลายคนคงนึกถึงหน้าที่ในการควบคุมการทำงานหรือการดูแลภาพรวมของโปรเจ็กต์แต่เพียงอย่างเดียว แต่ในเทรนด์การทำงานของปีหน้าส่วนของบทบาทหน้าที่ของ Manager จะมีการอัปเกรดให้ทันสมัยมากขึ้น

ซึ่งบทบาทที่จะเพิ่มเข้ามาก็คือเรื่องของการสนับสนุน Career Path ของคนในทีมหรือพนักงานที่อยู่ใต้การดูแลของ Manager แต่ละคนเช่น มีการจัด Sessions สอนความรู้ที่จำเป็นต่อสายอาชีพนั้น ๆ จาก Manager หรือการมี Sessions 1-1 ในทุกไตรมาสเพื่ออัปเดตการทำงาน รับฟังปัญหาที่เกิดจากการทำงาน และช่วยแก้ปัญหาอย่างทันท่วงที แสดงให้เห็นถึงบทบาทของ Manager ที่มีความใส่ใจต่อพนักงานทุกคนในทีมไม่ใช่แค่เรื่องงานแต่เพียงอย่างเดียว

6. EVP ที่พนักงานต้องการคือเวลาการทำงานต่อสัปดาห์ที่น้อยลง

EVP หรือ Employer Value Proposition คือคุณค่าที่นายจ้างอยากมอบให้กับพนักงานซึ่งทำให้เขาเหล่านั้นยังคงทำงานอยู่กับองค์กรต่อไป โดยในปี 2023 ที่กำลังจะมาถึงนั้นเทรนด์ในด้าน EVP ที่พนักงานส่วนใหญ่ล้วนต้องการมากที่สุดคือการลดเวลาทำงานต่อสัปดาห์ให้น้อยลง

เพราะในยุคที่เทคโนโลยี Automation Tools ต่าง ๆ เข้ามามีบทบาทต่อการทำงานขององค์กรมากขึ้น นั่นย่อมช่วยลดระยะเวลาในการทำงานของแรงงานมนุษย์ได้มาก (แถมยังลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาด ลดต้นทุนได้เยอะกว่าด้วย) ดังนั้นเทรนด์ในการที่องค์กรจะมอบ EVP ให้กับพนักงานได้ดีที่สุดสำหรับเทรนด์นี้ก็คือการหยิบจับเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ มาใช้ในองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและหันมาใส่ใจกับความเป็นอยู่ สภาพจิตใจของพนักงานในองค์กรมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตามเทรนด์นี้อาจจะไม่เหมาะสำหรับบางธุรกิจ บางองค์กร การนำไปปรับใช้ควรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละบริษัท

7. พนักงานวัย Gen-Z จะต้องการ ‘ประสบการณ์ทำงานรูปแบบใหม่’

ประสบการณ์การทำงานรูปแบบใหม่ กำลังจะกลายเป็นสิ่งที่พนักงานช่วงวัย Gen-Z ต้องการมากที่สุดในปีหน้า โดยคำว่า ประสบการณ์การทำงานรูปแบบใหม่ ในที่นี้ก็หมายถึงเทรนด์การทำงานใหม่ ๆ ที่เราได้กล่าวไปทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสวัสดิการที่ตอบโจทย์ความต้องการสมัยใหม่มากขึ้น, บรรยากาศในการทำงานที่เอื้อต่อความคิดสร้างสรรค์, วัฒนธรรมองค์กรที่ให้อิสระในการใช้ชีวิตของพนักงานในช่วงวัย Gen-Z มากขึ้น หรือแม้แต่การสนับสนุนทุก Career Path ของพนักงานแต่ละคนอย่างเท่าเทียม เพื่อให้พนักงานในช่วงวัย Gen-Z ที่เป็นช่วงวัยในการตามหาตัวตนในการทำงานรู้สึกถึงการเติบโตที่องค์กรของคุณมอบให้

จากเทรนด์การทำงานในปี 2023 ทั้ง 7 ข้อที่เราได้อธิบายจะเห็นได้ชัดเลยว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปและกำลังจะเป็นกระแสต่อโลกการทำงานขององค์กรมากขึ้นก็คือเรื่องขององค์กรที่ต้องหันมาใส่ใจความเป็นอยู่และพัฒนาทักษะการทำงานให้พนักงานเพิ่มมากขึ้น 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!



บทความโดย : Pea Tanachote
 419
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์