การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร

การรักษาสิทธิประกันสังคมหลังลาออกควรทำอย่างไร


คนทำงานที่ออกจากงานแล้ว จะเกิดข้อสงสัยว่าต้องทำอย่างไรกับสิทธิประกันสังคมที่ตนเองมี ต้องส่งเงินเข้ากองทุนต่อหรือไม่ แล้วเราจะได้ใช้สิทธิอะไรบ้างเมื่อลาออกจากงาน ต้องยอมรับว่าคนทำงานที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับระบบประกันสังคม เพราะอยู่ในสถานะลูกจ้าง ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน ๆ แต่มีน้อยคนที่จะรู้และเข้าใจอย่างจริงจังว่า เราสามารถใช้สิทธิอะไรได้บ้างจากประกันสังคม เมื่อเราลาออกจากงานแล้ว

          คนทำงานที่ลาออกจากงานแล้ว ยังคงสามารถใช้สิทธิประกันสังคมได้ต่อไป เพียงแต่ต้องเปลี่ยนสถานะจากผู้ประกันตนในมาตรา 33 (คนทำงานในบริษัทเอกชนทั่วไป) มาเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 (ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ) โดยต้องสมัครเป็นผู้ประกันตนในระยะเวลา 6 เดือน หลังจากลาออกจากงาน

          ผู้ประกันตนต้องปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อรักษาสิทธิของการเป็นผู้ประกันตนให้คงอยู่ และทำให้เราสามารถใช้สิทธิในการรักษาอยู่ต่อไป แม้ว่าเราจะลาออกจากงานที่ทำอยู่ก็ตาม ดังนั้น ผู้ประกันตนจึงไม่ต้องกังวลใจว่าจะต้องทิ้งสิทธิประกันสังคมของตนเองไป เพียงแต่ต้องทำตามขั้นตอนให้เรียบร้อย แม้ว่าเราจะไม่ได้ทำงานอยู่ในบริษัทใดแล้วก็ตาม เราก็จะยังคงรักษาสิทธิที่เรามีไว้ได้ โดยอยู่ในฐานะของผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) แทน

ประกันสังคมมาตรา 39 มีขั้นตอนการสมัครอย่างไร

          คนทำงานที่เพิ่งลาออกจากงาน และต้องการสมัครใช้สิทธิประกันสังคมต่อ ให้ผู้ประกันตนสมัครเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39 ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

  • คุณสมบัติ – ผู้สมัครต้องเคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน โดยนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน อีกทั้งต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพ
  • หลักฐานการสมัคร
    • แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
    • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ พร้อมสำเนา
  • ยื่นใบสมัคร – ผู้ประกันตนต้องยื่นแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเอง โดยสามารถยื่นใบสมัครได้ที่
    • สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-12 แห่ง (กทม) และสำนักงานประกันสังคมจังหวัด
    • สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา (ภูมิภาค)

เงื่อนไขการส่งเงินสมทบกองทุน

          ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบกองทุนต่อสำนักงานประกันสังคมเดือนละ 432 บาท ซึ่งผู้ประกันตนจะได้รับการคุ้มครองต่อเนื่องจาการประกันตนในมาตรา 33 โดยจะได้รับความคุ้มครองใน 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

          ผู้ประกันตนต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนตัวที่สำนักงานประกันสังคมต้องรู้ เช่น การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล ควรแจ้งการเปลี่ยงแปลงล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน พร้อมแนบสำเนาหลักฐานด้วย

          ส่วนในกรณีที่ผู้ประกันตนต้องการลาออก หรือกลับเข้าทำงาน และมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เป็นลายลักษณ์อักษรทันที แต่ถ้าได้ทำงานในสถานประกอบการใหม่ ให้นายจ้างใหม่แจ้งขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน โดยไม่ต้องแจ้งลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 แต่อย่างใด



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


ขอบคุณที่มา : https://th.jobsdb.com/

 739
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์