ขึ้นทะเบียนนายจ้างมีกี่ขั้นตอนทำอย่างไรบ้าง

ขึ้นทะเบียนนายจ้างมีกี่ขั้นตอนทำอย่างไรบ้าง


ทำไมต้องยื่นขึ้นทะเบียนนายจ้าง และ ใครที่ต้องยื่นขึ้นทะเบียนนายจ้างบ้าง?

ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 หากคุณเป็นนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และต้องการให้สวัสดิการลูกจ้างในสังกัดของคุณเป็นประกันสังคม คุณก็จำเป็นที่จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างกับกองทุนประกันสังคม เพื่อให้ลูกจ้างของคุณเป็นผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิประกันสังคมตามกฎหมาย โดยที่คุณจะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนนายจ้างภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่คุณมีลูกจ้าง และเมื่อมีการรับลูกจ้างเข้ามาใหม่ ก็จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ ภายใน 30 วันเช่นกัน หรือเมื่อมีลูกจ้างลาออกจากงาน คุณที่เป็นนายจ้างก็จะต้องแจ้งการออกจากงานโดยระบุสาเหตุการออกจากงานด้วย ซึ่งถ้าหากคุณไม่ปฏิบัติตามจะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับได้ การขอขึ้นทะเบียนนายจ้างไม่จะเป็นต้องเป็นนายจ้างที่จดทะเบียนบริษัทเท่านั้น แต่หากเป็นบุคคลธรรมดาที่เป็นเจ้าของกิจการหรือจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และมีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไปก็ต้องขอยื่นเรื่องขึ้นทะเบียนนายจ้างด้วยเช่นกัน

เตรียมเอกสารขอขึ้นทะเบียนนายจ้าง

คุณควรเตรียมเอกสารให้พร้อมก่อนเตรียมตัวไปยื่นขึ้นทะเบียน เอกสารสำคัญที่ขาดไม่ได้เมื่อต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนนายจ้างก็คือ แบบฟอร์ม สปส.1-01 (Click)  ซึ่งเป็นแบบฟอร์มขอขึ้นทะเบียนนายจ้างตามกำหนดของสำนักงานประกันสังคม และนอกจากแบบฟอร์ม สปส.1-01 แล้ว นายจ้างอย่างคุณยังต้องใช้เอกสารอื่น ๆ ประกอบการยื่นด้วย โดยแบบเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้

         กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)

  • แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)
  • สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
  • สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
  • แผนที่ตั้งและรูปถ่ายของสถานประกอบการ โดยต้องมีรูปถ่ายด้านหน้าและด้านข้าง ภายนอกต้องเห็นป้ายบริษัท บ้านเลขที่ของบริษัท  และภายในต้องเห็นสถานที่ทำงาน ซึ่งอาจจะถ่ายให้เห็นพนักงานกำลังทำงานอยู่ด้วยก็ได้
  • หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ 10-30 บาท แล้วแต่จำนวนเรื่องที่มอบอำนาจ ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

อัปเดต! จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

วันที่ 16 ต.ค. 2019 เป็นต้นไป เจ้าของธุรกิจจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development) แล้ว จะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างต่อสำนักงานประกันสังคมโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดขั้นการเตรียมเอกสารเพื่อความสะดวกมากขึ้น

กรณีเจ้าของคนเดียว (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)

  •   สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชน (ถ้าเป็นคนต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
  •   สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
  •   สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
  •   สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
  •   แผนที่ตั้งและรูปถ่ายของสถานประกอบการ โดยต้องมีรูปถ่ายด้านหน้าและด้านข้าง ภายนอกต้องเห็นป้ายบริษัท บ้านเลขที่ของบริษัท  และภายในต้องเห็นสถานที่ทำงาน ซึ่งอาจจะถ่ายให้เห็นพนักงานกำลังทำงานอยู่ด้วยก็ได้
  •   หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ 10-30 บาท แล้วแต่จำนวนเรื่องที่มอบอำนาจ ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

กรณีกิจการร่วมค้า (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)

  •   สำเนาหรือภาพถ่ายบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม หรือ หุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้าเป็นคนต่างชาติใช้สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
  •   สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน
  •   สำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนพาณิชย์ หรือใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกตามกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
  •   สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20)
  •   แผนที่ตั้งและรูปถ่ายของสถานประกอบการ โดยต้องมีรูปถ่ายด้านหน้าและด้านข้าง ภายนอกต้องเห็นป้ายบริษัท บ้านเลขที่ของบริษัท  และภายในต้องเห็นสถานที่ทำงาน ซึ่งอาจจะถ่ายให้เห็นพนักงานกำลังทำงานอยู่ด้วยก็ได้
  •   หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ 10-30 บาท แล้วแต่จำนวนเรื่องที่มอบอำนาจ ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)

กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ/นิติบุคคลอาคารชุด/หมู่บ้าน/มูลนิธิ/สมาคม/สหกรณ์ ต้องใช้เอกสารเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล่าวขางต้นมีดังนี้

  •   ข้อบังคับ
  •   รายงานการประชุมแต่งตั้งผู้จัดการ หรือหนังสือจัดตั้งฯ หรือหนังสือรับรองการประชุม

นอกจากเอกสารของนายจ้างแล้ว ให้เตรียมเอกสารขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ซึ่งเป็นเอกสารฝั่งของลูกจ้างไปด้วย เอกสารที่ว่านี้มีเพียง 2 อย่างเท่านั้น ไม่มากเท่าของฝั่งนายจ้าง ซึ่งเอกสารประกอบไปด้วย

  1.     แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) (Click)
  2.     บัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นๆ ที่สามารถแสดงตนได้
  3.     ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทางหรือใบอนุญาตทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
  4.     แต่ถ้าเป็นลูกจ้างที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส. 1-03/1) ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน

ไปยื่นขอขึ้นทะเบียนนายจ้างได้ที่ไหน?

หลังจากที่กรอกฟอร์มและเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว นายจ้างสามารถไปยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการของคุณตั้งอยู่ โดยในครั้งแรกนายจ้างอย่างคุณจำเป็นจะต้องไปยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันคมก่อน ยังไม่สามารถยื่นแบบออนไลน์ได้ และตอนที่ยื่นเรื่องให้คุณขอ Username และ Password เพื่อที่คุณจะได้นำมาใช้สมัคร e-Service ผ่านเว็บไซต์ https://www.sso.go.th/ ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของสำนักงานประกันคม และครั้งต่อไปเมื่อคุณต้องแจ้งเข้าแจ้งออกลูกจ้างหรือพนักงานของคุณ คุณก็สามารถทำเรื่องผ่านเว็บไซต์นี้ได้เลย โดยที่ไม่ต้องเข้าไปยื่นเรื่องด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคมอีกต่อไป

 

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

 

ที่มาและข้อมูลอ้างอิง: เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม

 2124
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์