วิธีคิด OT กรณีทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ และวันหยุด

วิธีคิด OT กรณีทำงานล่วงเวลาในวันทำงานปกติ และวันหยุด




หากคุณทำงานล่วงเวลา เกินเวลาเลิกงานตามปกติ เช่น เวลางานปกติกำหนดให้พนักงานทำงานตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 17.00 น. แต่คุณต้องทำงานจนถึงเวลา 20.00 น. คุณจะได้รับค่าล่วงเวลาสำหรับวันทำงานปกติไม่น้อยกว่า 1.5 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงที่คุณได้รับตามปกติ ส่วนวันหยุด เช่น วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดตามประเพณี วันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คุณก็จะได้รับค่าล่วงเวลาไม่น้อยกว่า 3 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมงที่คุณได้รับตามปกติ โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

1. กรณีพนักงานรายเดือน

  • สูตรการคำนวณ >> (เงินเดือนหารสามสิบวัน หารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 หรือ 3 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที
  • ตัวอย่างวิธีการคำนวณ กรณี ได้ 1.5 เท่า และทำโอที 4 ชั่วโมง >> (15,000 / 30 /8)*1.5*4
  • หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าทำ OT ในวันนั้นเพิ่มอีก 375 บาท

2. กรณีพนักงานรายวัน

  • สูตรการคำนวณ >> (ค่าจ้างต่อวัน หารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1.5 หรือ 3 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงที่ทำโอที
  • ตัวอย่างวิธีการคำนวณ กรณีได้ 3 เท่า และทำโอที 5 ชั่วโมง >> (300 / 10)*3*5
  • หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าทำ OT ในวันนั้นเท่ากับ 450 บาท

ส่วนค่าตอบในกรณีที่คุณต้องมาทำงานในวันหยุดจะมีวิธีคำนวณ ดังต่อไปนี้

1. ลูกจ้างที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายเดือน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า

  • สูตรการคำนวณ >> (เงินเดือนหารสามสิบวัน หารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 1 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงการทำงาน
  • วิธีการคำนวณ>> (15,000 / 30 /8)*1*8
  • หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าจ้างในวันนั้นเพิ่มอีก 500 บาท

2. ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด เช่น พนักงานรายวัน จะได้รับค่าตอบแทนการทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 2 เท่า

  • สูตรการคำนวณ >> (ค่าจ้างต่อวันหารชั่วโมงงานปกติ) คูณ 2 เท่า คูณ จำนวนชั่วโมงการทำงาน
  • วิธีการคำนวณ>> (350 / 8)*2*8
  • หลังจากคำนวณตามสูตรคุณจะได้ค่าจ้างในวันนั้นเท่ากับ 700 บาท


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!


ที่มา : www.onedee.ai

 3399
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานเป็นทีม คือ การทำงานมากกว่า 1 คนขึ้นไป จำนวนคนในทีมขึ้นอยู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบที่มีในการทำงานแต่ละโปรเจกต์ ภายใต้เงื่อนไขกรอบการทำงานเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกัน ผ่านการวางแผนการทำงานร่วมกันเพื่อไปยังปลายทางที่ตั้งไว้ โดยวิธีการทำงานอาจจะแตกต่างกันไปได้ตามความถนัดของแต่ละคน แต่สุดท้ายแล้วผลลัพธ์ที่ได้จะต้องออกมาตรงกัน ถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการทำงานเป็นทีมที่ดี
เคยสงสัยกันไหม... ว่าทำไมบางบริษัทถึงมีสลิปเงินเดือน บางบริษัทไม่มีสลิปเงินเดือน แล้วถ้าหากบริษัทไม่ออกสลิปเงินเดือนให้กับพนักงาน จะถือว่าผิดกฎหมายหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ ก่อนอื่นมารู้ความหมายของสลิปเงินเดือนก่อนนะคะ
การจัดการพนักงานที่ทำงานแบบกะเป็นงานที่ท้าทายสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) เป็นอย่างมาก ด้วยลักษณะงานของพนักงานแบบกะ พนักงานบางราย ทำงานเวลาไม่ตรงกัน เลิกงานไม่ตรงกัน จะเห็นได้ว่า แค่ HR ต้องจัดการกับเงินเดือนพนักงานที่ทำงานกะปกติ ก็แทบปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว ไหนจะต้องอาศัยความแม่นยำและละเอียดอ่อนในการคำนวณเงินเดือน การคิดวันขาด ลา มา สายอีก ยิ่งถ้าเป็นองค์กรใหญ่ๆ นั้น ยิ่งไม่ต้องพูดถึงกันเลยทีเดียว ดังนั้น การที่มีตัวช่วยอย่างโปรแกรมเงินเดือน HRMI เข้ามาช่วย HR จัดการปัญหาต่างๆ ของพนักงานที่ทำงานแบบกะ จึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารจัดการเงินเดือนของพนักงาน  เพื่อลดความเสี่ยงคำนวณเงินเดือนผิดพลาด ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัทได้
หลายๆ องค์กรตั้งตัวชี้วัดความสำเร็จในเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลไว้ที่อัตราการลาออกของพนักงานในองค์กร โดยมีการกำหนดอัตรามาตรฐานไว้ที่อัตราเดียวกับอุตสาหกรรมบ้าง หรือกำหนดให้ดีกว่าปีที่ผ่านมาบ้าง แต่ผมยังไม่เคยเห็นองค์กรไหนที่กำหนดเป้าหมายอัตราการลาออกของพนักงานเท่า กับ 0 จริงๆ นะครับ
โปรแกรมบริหารงานบุคคล (Human Resource Management Information System หรือ HRMI) ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเทคโนโลยีและการบริหารงานบุคคล รวมถึงรวบรวมระบบต่างๆ เข้าด้วยกัน ที่สามารถช่วยงาน HR ได้ เช่น ระบบสมัครงานออนไลน์ระบบลาออนไลน์ระบบฝึกอบรมพนักงาน,ระบบสวัสดิการ, ระบบประเมินผล เป็นต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการบุคคลและสร้างความยืดหยุ่นในการทำงาน และตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงในโลกของการทำงานที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยแต่ละบบมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกๆ องค์กร ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือ ขนาดใหญ่ จะสามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น ล้วนต้องต้องทำงานภายใต้ข้อกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายบริษัท กฎหมายแรงงาน กฎหมายประกันสังคม กฎหมายภาษีอากร กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และหนึ่งกฎหมายที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวข้องกับนายจ้าง HR และพนักงานโดยตรง คือ กฎหมายแรงงาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์