เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน เรามีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือไม่?

เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน เรามีสิทธิได้รับค่าชดเชย หรือไม่?


เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน
 อยู่ดีๆ ก็โดนให้ออกในระหว่างทดลองงานมาได้ 1 เดือน ทางนายจ้างมาบอกว่าเดือนหน้าไม่ต้องมาทำงานแล้ว แบบนี้เราจะได้ค่าชดเชยหรือไม่?

อยากทราบว่า ถ้าหากเราโดนไล่ออกหรือปฏิเสธการจ้างงานต่อ โดยที่ไม่เคยได้ทราบล่วงหน้ามาก่อน ถามถึงสาเหตุการไล่ออกก็บอกแบบไม่ชัดเจน ทางฝ่ายบุคคลก็บอกว่า”ไม่ทราบเหตุผล แต่น้องไม่ได้ไปต่อ” แบบนี้ นายจ้างเขาทำถูกหรือผิด?

เรื่องของการทดลองงาน

การทดลองงาน คือ การที่นายจ้างหรือบริษัทได้ตกลงรับลูกจ้างหรือพนักงานเข้าทำงานแล้วแต่จำเป็นต้องมีระยะเวลาทดลองงาน หรือ Probationary Period เพื่อพิสูจน์ว่าลูกจ้างมีความรู้ มีความสามารถ และมีทักษะการทำงานในตำแหน่งนั้นๆ ได้จริงหรือเปล่า รวมถึงลูกจ้างสามารถปรับตัวเข้ากับกฎระเบียบ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์กร และเพื่อนร่วมงาน ได้ไหม?

หากลูกจ้างสามารถปฏิบัติตนจนผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่บริษัทหรือนายจ้างกำหนด ภายใน ระยะเวลาทดลองงาน หรือ Probationary Period ก็จะบรรจุเป็นลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทในทันที

เรื่องของระยะเวลาในการทดลองงาน

ในเรื่องของระยะเวลาการทดลองงานนั้น ในทางกฎหมายแรงงานไม่ได้มีข้อบังคับเกี่ยวกับระยะเวลาเอาไว้ชัดเจน ผลที่ตามมาก็คือ นายจ้างหรือบริษัท มีสิทธิ์ที่จะกำหนดระยะเวลาการทดลองงานได้ด้วยตนเอง และจะกำหนดให้นานเท่าไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยเงื่อนไขการทดลองงานนี้ จะตกลงกันก่อนเริ่มงานจริง หรือ หลังเริ่มงานก็ได้ ซึ่งโดยมากหลายบริษัทก็มีการกำหนดระยะเวลาทดลองงานเอาไว้คือ 90-120 วัน แต่ก็มีในบางกรณีที่ อาจจะมีการขยายระยะเวลาทดลองงานออกไปอีกก็ได้

การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน

ลูกจ้าง หรือ พนักงาน สามารถถูกเลิกจ้างได้ในช่วงทดลองงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 เงื่อนไข ดังต่อไปนี้ คือ

กรณีที่ 1 : เลิกจ้างโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เกิดขึ้นได้ในกรณีที่ลูกจ้างได้กระทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรา 119 ดังนี้

  • ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง
  • จงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษรแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและ
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้งนี้ หากลูกจ้างกระทำผิดตามเหตุที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง แต่ต้องระบุเหตุแห่งการกระทำความผิดไว้ในหนังสือเลิกจ้างด้วย

หากความผิดที่เกิดขึ้นเข้าข่ายตามข้างต้น ไม่ว่าลูกจ้างจะทดลองงานครบหรือไม่ครบ 120 วัน ก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

ดังนั้น ถ้าเราผ่านช่วงทดลองงานตั้งแต่ 120 วันขึ้นไปแล้ว แต่บริษัทต้องการเลิกจ้างโดยเราไม่มีความผิดใดๆ ตามมาตรา 119 บริษัทจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเช่นเดียวกับลูกจ้างปกติ อ้างอิงตามข้อบังคับมาตรา 118 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน โดยในกรณีทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี จะได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน

ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างได้รับค่าจ้าง 25,000 บาทต่อเดือน เมื่อลูกจ้างทำงานครบ 120 วัน (ผ่านทดลองงานแล้ว) แต่นายจ้างมาบอกเลิกจ้างโดยไม่แจ้งเขาล่วงหน้าก่อน 1 เดือน ดังนั้น จำนวนเงินทั้งหมดที่นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างก็คือ เงินเดือนงวดสุดท้าย 25,000 บาท + เงินชดเชย 25,000 บาท + เงินค่าตกใจ (ส่วนนี้จะเป็นตามที่แต่บริษัทกำหนดหรือเห็นสมควร)

กรณีที่ 2 : เลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะการที่ลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุที่มาจากเรื่องของผลงาน คุณสมบัติ หรือความประพฤติไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยลูกจ้างยังมีอายุงานไม่ครบ 120 วัน ในกรณีนี้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

ดังนั้น ถ้าหากเราถูกเลิกจ้างในระหว่างทดลองงาน โดยทางหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลไม่ได้บอกกล่าวเราล่วงหน้าก่อนหนึ่งงวดค่าจ้าง เราก็มีสิทธิ์ที่จะได้เงินแทน “ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า” โดยนับจากระยะเวลาการทำงาน ตั้งแต่วันที่เราเข้าทำงานมาเป็นลูกจ้าง จนถึงวันที่เราถูกเลิกจ้าง เพื่อมาคำนวณเป็นฐานในการจ่ายค่าชดเชย

หากไม่ผ่านการทดลองงาน เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมหรือไม่

อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานคร

“ถ้าเหตุแห่งการไม่ผ่านการทดลองงานเกิดจากการหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน สามารถเลิกจ้างได้ เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม แต่หลักฐานต้องแน่น”

  • นั่นหมายความว่านายจ้างควรทำแบบประเมินที่ควรอยู่บนพื้นฐาน เช่น
  • ไม่เลือกปฎิบัติ ใช้หลัการเดียวกันนี้กับทุกคน
  • คนประเมินควรเป็นคณะกรรมการ อย่าใช้คนเดียว อย่าเอาคนที่มีส่วนได้เสีย เอาคนทะเลาะ หรือ มีอคติมาเป็นคนประเมิน
  • หัวข้อการประเมินควรเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการทำงาน ความประพฤติปฎิบัติในการทำงาน การเข้ากับเพื่อนร่วมงาน สำคัญที่สุดควรทำให้หัวข้อมีความเป็นวิทยาศาสตร์ คือนับชิ้นได้ มีจำนวน เช่น จำนวนวันลา จำนวนผลงานที่ทำได้ จำนวนผลงานที่ทำผิดพลาด

แต่ถ้าหากการไม่ผ่านการทดลองงานไม่มีเหตุผลประกอบ หรือ เกิดจากการกลั่นแกล้ง หรือ เกิดจากความมีอคติ ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ลูกจ้างสามารถฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน ซึ่งถ้าหากศาลเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลก็อาจกำหนดค่าเสียหายให้ หรืออาจสั่งให้รับลูกจ้างกลับเข้าทำงานได้เช่นกัน

เรื่องควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการ เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน

  • ลูกจ้างที่อยู่ในช่วงทดลองงาน จะมีฐานะเป็น “ลูกจ้าง” เช่นเดียวกันกับลูกจ้างปกติที่ได้รับการบรรจุแล้ว มีสิทธิได้ผลประโยชน์และความคุ้มครองตามกฏหมายนับตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน
  • ระหว่างทดลองงาน 120 วัน นายจ้างควรประเมินการทำงานอย่างเป็นทางการอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือคอยดูแล พูดคุย ถ่ายไถ่ความเป็นไปของลูกจ้างเป็นระยะๆ ในทางกลับกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกจ้างเอง ลูกจ้างก็ควรหาเวลาพูดคุยกับหัวหน้า เพื่อเป็นการประเมินผลงานอย่างต่อเนื่องด้วย เพื่อป้องกันการถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
  • สำหรับนายจ้าง หรือ บริษัท หากจะประเมินผลการทดลองงาน ควรดำเนินการแต่เนิ่นๆ ก่อนครบกำหนด 120 วัน เพราะหากเกินกำหนด 120 วัน หากบอกเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ต้องจ่ายเงินชดเชย



บทความโดย : Link

 2505
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์