กักตัวเพื่อดูอาการ ๑๔ วันได้ค่าจ้างหรือไม่

กักตัวเพื่อดูอาการ ๑๔ วันได้ค่าจ้างหรือไม่



ประเด็นเรื่องป่วยติดโควิดได้ค่าจ้างหรือไม่

“กักตัวนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่” แบ่งเป็น 2 กรณี

 

1) หากเข้าหน้าที่รัฐสั่งกักตัว

 

ลูกจ้างที่มีความเสี่ยงเพราะไกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือที่ทำงานมีผู้ติดเชื้อ โดย “แพทย์” หรือ “เจ้าพนักงานสาธารณสุข” ออกเอกสารให้กักตัวเพื่อสั่งเกตอาการ ปัญหาว่านายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างหรือไม่ คำตอบคือ “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าจ้าง” เพราะเป็นกรณีที่ถือว่ามี “เหตุสุดวิสัย” ที่ตัวลูกจ้างเองไม่สามารถมาทำงานได้

 

และเมื่อมี “เหตุสุดวิสัย”(เพราะกักตัว)  ก็เข้าเกณฑ์ที่จะไปขอรับเงินทดแทนกรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคมอัตราร้อยละ  ๕๐ ของค่าจ้างรายวัน แต่ทั้งนี้รวมกันต้องไม่เกิน ๙๐ วัน อย่างไรก็ตาม ในรอบ ๑๕ เดือนที่ผ่านมาท่านต้องส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า ๖ เดือน

 

2) นายจ้างสั่งกักตัว

 

กรณีนายจ้างออกประกาศห้ามลูกจ้างเดินทางข้ามจังหวัด หรือเดินทางเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ภายหลังทราบว่าลูกจ้างฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว จนเป็นเหตุให้นายจ้างสงสัยได้ว่าลูกจ้างเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงมีคำสั่งไม่ให้ลูกจ้างมาทำงานและให้กักตัว ณ ที่พักอาศัยเป็นเวลา 14 วัน เพื่อเฝ้าดูอาการ

 

นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้าง เพราะคำสั่งให้ลูกจ้างกักตัวเป็นคำสั่งให้หยุดงานเพื่อประโยชน์ของนายจ้าง จะถือว่าการปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างดังกล่าวเป็นการขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างไม่ได้ (ที่มา: อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน)

 

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1) กรณีนี้ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับในการทำงาน นายจ้างอาจลงโทษได้ แต่อาจเป็นโทษออกหนังสือเตือน

2) นายจ้างอาจแจ้ง จนท.ให้ออกหนังสือกักตัวให้ จากนั้นขอให้รับจากประกันสังคมแทน

3) ที่แชร์กักตัวนายจ้างไม่ต้องจ่าย เพราะลูกจ้างละทิ้งหน้าที่

 

ที่มีการแชร์กันทำนองว่า “นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายเงิน เพราะถือว่าขาดงาน” นั้นไม่ถูกต้อง เพราะถ้าขาดงานกันนาน ๑๔ วันก็ถูกเลิกจ้างกันหมดแน่ๆ เรื่องนายจ้างไม่จ่ายเงินนั้นถูก กรณีนี้ไม่ใช่ขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่(ตามมาตรา ๑๑๙(๕)) เพราะการละทิ้งหน้าที่ต้อง “ไม่มีเหตุอันสมควร” ด้วย แต่อันนี้มีเหตุอันสมควร นอกจากนั้นเหตุผลที่ไม่ใช่ขาดงาน เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย และเหตุสุดวิสัยเป็นเงื่อนไขตามกฎหมายให้ได้รับเงินกรณีว่างงานข้างต้น

 

 

ขอบคุณที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=205489604834349&id=107303014653009

 

 423
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์