ในต่างประเทศกฎหมายให้ “สิทธิที่จะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลาทำงาน” หรือ EU ให้สิทธิที่จะ “ปิด” เครื่องมือสื่อสาร ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศฝรั่งเศส มีการกำหนดหลัก “สิทธิที่จะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลาทำงาน” หรือที่เรียกว่า “Right to Disconnect” โดยได้บัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2017 หลักการนี้ถูกสร้างมาเพื่อสร้างความเคารพชั่วโมงการทำงานในเวลาทำงานปกติอย่างเคร่งครัด ซึ่งไม่เกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ในขณะที่ประเทศไทยไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ดังนั้น ลูกจ้างสามารถที่จะไม่อ่าน ไม่ตอบไลน์ นอกเวลางาน หรือปิดเครื่องมือสื่อสาร นอกเวลาทำงาน สามารถทำได้โดยไม่มีความผิด
ตามหลักข้อกฎหมายของไทยแล้ว การที่ลูกน้องไม่ตอบไลน์นายจ้าง นอกเวลางานหรือในวันหยุด วันลา ไม่ใช่เรื่องผิดเช่นกัน และไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลที่ใช้ประเมินผลงาน หรือนำมาเป็นเหตุผลที่ใช้ไล่พนักงานออกได้ ในเพจกฎหมายแรงงาน โดย รศ.ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการสั่งงานผ่านไลน์และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความเฟซบุ๊ก Whatsapp หรืออีเมล โดยอ้างอิงจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 23 กำหนดว่าให้นายจ้างประกาศเวลาทำงาน โดยวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง การทำงานนอกเหนือหรือเกินจากเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมง จะถือว่าเป็นการทำงาน “ล่วงเวลา” และถ้าเป็นการทำงานล่วงเวลานายจ้างต้องจ่าย “ค่าล่วงเวลา” ถ้าล่วงเวลาวันธรรมดาจ่าย 1.5 เท่า ถ้าล่วงเวลาในวันหยุดจ่าย 3 เท่า และมาตรา 24 ที่กำหนดว่าการทำงานล่วงเวลาจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย จึงทำให้การสั่งงานผ่าน Social Media สามารถแตกออกได้เป็น 3 ประเด็น และจะถูกวิเคราะห์ตามข้อกฎหมายดังนี้
แม้ว่าในทางปฏิบัติจริงในประเทศไทยเรื่องนี้จะยังอยู่ใน “พื้นที่เกรงใจ” และทำให้ลูกน้องจำนวนมากไม่กล้าปฏิเสธงานในวันหยุด แต่เมื่อรู้ข้อกฎหมายนี้แล้ว ก็ขอให้นำไปใช้ทำความเข้าใจกับหัวหน้าหรือนายจ้างให้ดี อาจจะตกลงเวลาในการตอบไลน์ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ลดปัญหาขัดอกขัดใจซึ่งอาจนำไปสู่อาการ Burnout ของพนักงาน และเพิ่มความเคารพในเวลาของทุกคนในทีม เพื่อนำไปสู่ทีมงานที่แข็งแกร่ง และสามารถสร้างผลงานที่น่าประทับใจได้มากยิ่งขึ้น
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!
ที่มา : Link