• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • หัวหน้าควรรู้! ไม่ตอบไลน์ นอกเวลางาน หรือในวันหยุด ไม่ใช่ความผิด ไม่มีสิทธิไล่ออก

หัวหน้าควรรู้! ไม่ตอบไลน์ นอกเวลางาน หรือในวันหยุด ไม่ใช่ความผิด ไม่มีสิทธิไล่ออก

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • หัวหน้าควรรู้! ไม่ตอบไลน์ นอกเวลางาน หรือในวันหยุด ไม่ใช่ความผิด ไม่มีสิทธิไล่ออก

หัวหน้าควรรู้! ไม่ตอบไลน์ นอกเวลางาน หรือในวันหยุด ไม่ใช่ความผิด ไม่มีสิทธิไล่ออก


ในวันหยุดพักผ่อนที่คุณวางแผนไว้ว่าจะดูซีรีส์ในคืนวันศุกร์จนดึก แล้วนอนตื่นสาย ๆ แต่เช้าวันเสาร์กลับมีเสียงไลน์เด้งเข้ามาปลุกคุณแต่เช้า แถมพอเปิดดูแล้ว เป็นข้อความจากหัวหน้าของคุณ ที่ไลน์มาสั่งงานทิ้งไว้ก่อน หรือฝากทำงานด่วนงานเร่ง แม้จะเป็นวันหยุดของคุณก็ไม่เว้น กลายเป็นว่า วันหยุดไม่ได้หยุด เวลาพักไม่ได้พัก ไปซะงั้น ! ซึ่งนี่เป็นปัญหาของหลาย ๆ คน ตั้งแต่เรามีไลน์หรือโปรแกรมแชทอื่น ๆ ที่ทำให้หัวหน้าสั่งงานเราได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่พิมพ์ และหลายคนเลือกที่จะตอบไลน์นอกเวลางาน เพราะกลัวว่าจะทำให้งานไม่ผ่านการประเมิน และดูเป็นคนไม่รับผิดชอบ ไม่สนใจงาน แล้วจะส่งผลกระทบต้องตำแหน่งหน้าที่การงานของตัวเองได้ ส่วนหัวหน้าบางคนก็มักใช้ข้ออ้างว่า ไลน์ทิ้งไว้ก่อน มาอ่านที่หลังได้นะ เพราะกลัวตัวเองลืม ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว การ ไม่ตอบไลน์ นอกเวลางาน นั้นไม่ใช่เรื่องที่ต้องรู้สึกผิดแต่อย่างใด

ในต่างประเทศกฎหมายให้ “สิทธิที่จะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลาทำงาน” หรือ EU ให้สิทธิที่จะ “ปิด” เครื่องมือสื่อสาร ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศฝรั่งเศส มีการกำหนดหลัก “สิทธิที่จะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลาทำงาน” หรือที่เรียกว่า “Right to Disconnect” โดยได้บัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2017 หลักการนี้ถูกสร้างมาเพื่อสร้างความเคารพชั่วโมงการทำงานในเวลาทำงานปกติอย่างเคร่งครัด ซึ่งไม่เกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ในขณะที่ประเทศไทยไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์) ดังนั้น ลูกจ้างสามารถที่จะไม่อ่าน ไม่ตอบไลน์ นอกเวลางาน หรือปิดเครื่องมือสื่อสาร นอกเวลาทำงาน สามารถทำได้โดยไม่มีความผิด

ตามหลักข้อกฎหมายของไทยแล้ว การที่ลูกน้องไม่ตอบไลน์นายจ้าง นอกเวลางานหรือในวันหยุด วันลา ไม่ใช่เรื่องผิดเช่นกัน และไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลที่ใช้ประเมินผลงาน หรือนำมาเป็นเหตุผลที่ใช้ไล่พนักงานออกได้ ในเพจกฎหมายแรงงาน โดย รศ.ตรีเนตร สาระพงษ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการสั่งงานผ่านไลน์และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความเฟซบุ๊ก Whatsapp หรืออีเมล โดยอ้างอิงจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 23 กำหนดว่าให้นายจ้างประกาศเวลาทำงาน โดยวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง การทำงานนอกเหนือหรือเกินจากเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมง จะถือว่าเป็นการทำงาน “ล่วงเวลา” และถ้าเป็นการทำงานล่วงเวลานายจ้างต้องจ่าย “ค่าล่วงเวลา” ถ้าล่วงเวลาวันธรรมดาจ่าย 1.5 เท่า ถ้าล่วงเวลาในวันหยุดจ่าย 3 เท่า และมาตรา 24 ที่กำหนดว่าการทำงานล่วงเวลาจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย จึงทำให้การสั่งงานผ่าน Social Media สามารถแตกออกได้เป็น 3 ประเด็น และจะถูกวิเคราะห์ตามข้อกฎหมายดังนี้

  • การสั่งงานผ่าน Line และ Social media อื่น ๆ ในเวลางาน เป็นสิ่งที่นายจ้างสามารถทำได้ เพราะยังอยู่ในช่วงเวลาทำงานตามที่ได้ตกลงกันไว้
  • การสั่งงานผ่าน Line Facebook message Whatsapp และ Email “นอกเวลางาน” หรือ “ในวันหยุด” ที่ทำให้ลูกน้องหรือลูกจ้าง ต้องทำงานนอกเวลางาน เช่น การทำเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล หรือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อใช้ในงาน หรือทำงานอื่น ๆ ลูกน้องมีสิทธิที่จะปฏิเสธได้ ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 24 และหัวหน้าหรือนายจ้างไม่มีสิทธิเอาเหตุผลนี้ไปใช้ประเมินผลงานได้ เพราะถือว่าเป็นการ “สั่งงานนอกเวลางาน” นอกจากนี้ ถ้าต้องทำงานล่วงเวลาจริง ๆ ลูกน้องหรือลูกจ้างก็มีสิทธิได้รับเงิน OT หรือค่าล่วงเวลาด้วย ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานในมาตรา 61,63 และมาตรา 62 กำหนดไว้
  • ถ้าเป็นการสอบถามหรือสื่อสารทั่วไป เช่น ถามที่เก็บกุญแจตู้ หรือขอรหัสผ่านคอมพิวเตอร์ ในเพจสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7  แสดงความเห็นไว้ว่า ไม่ถือว่าเป็นการทำงานล่วงเวลา หัวหน้าหรือนายจ้างไม่ต้องรับผิดในการจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด

แม้ว่าในทางปฏิบัติจริงในประเทศไทยเรื่องนี้จะยังอยู่ใน “พื้นที่เกรงใจ” และทำให้ลูกน้องจำนวนมากไม่กล้าปฏิเสธงานในวันหยุด แต่เมื่อรู้ข้อกฎหมายนี้แล้ว ก็ขอให้นำไปใช้ทำความเข้าใจกับหัวหน้าหรือนายจ้างให้ดี อาจจะตกลงเวลาในการตอบไลน์ให้ชัดเจน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ลดปัญหาขัดอกขัดใจซึ่งอาจนำไปสู่อาการ Burnout ของพนักงาน และเพิ่มความเคารพในเวลาของทุกคนในทีม เพื่อนำไปสู่ทีมงานที่แข็งแกร่ง และสามารถสร้างผลงานที่น่าประทับใจได้มากยิ่งขึ้น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



ที่มา : Link

 598
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์