• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • ลาป่วยบ่อย ทั้งป่วยจริง ป่วยทิพย์ !! เลิกจ้างได้ไหม ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

ลาป่วยบ่อย ทั้งป่วยจริง ป่วยทิพย์ !! เลิกจ้างได้ไหม ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • ลาป่วยบ่อย ทั้งป่วยจริง ป่วยทิพย์ !! เลิกจ้างได้ไหม ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?

ลาป่วยบ่อย ทั้งป่วยจริง ป่วยทิพย์ !! เลิกจ้างได้ไหม ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่ ?



เบื้องต้นต้องเข้าใจกติกาว่า นายจ้างจ่ายเงินเพื่อแลกกับแรงงาน หรืออีกนัยหนึ่งลูกจ้างต้องเอาแรงงานไปแลกกับเงินค่าจ้าง ตามสัญญาจ้างแรงงานซึ่งจะตกลงกันด้วยวาจา หรือเป็นลายลักษณ์อักษรก็ใช้ได้  ซึ่งถือว่าเป็นข้อตกลงที่แฟร์ ๆ เพราะนายจ้างก็คงไม่ปรารถนาที่จะจ่ายเงิน แต่ไม่ได้แรงงานจากลูกจ้าง

เช่นเดียวกันกับกรณีลูกจ้างทำงานให้นายจ้างแล้ว นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างตอบแทน จะอ้างว่าลาออกไม่ชอบ หรือทำงานไม่ครบเดือน หรือเลิกจ้างเพราะทำผิดจะไม่จ่ายไม่ได้ เพราะหลักการง่าย ๆ คือ เมื่อได้แรงงานไปแล้ว ต้องจ่ายเงินตามสัญญาจ้างแรงงาน  จึงอุปมาได้ดั่งการยื่นหมูยื่นแมว งานมาเงินไป, เงินไปงานมา

ลูกจ้างลาป่วยบ่อย เลิกจ้างได้ไหม

อย่างไรก็ตาม หากลูกจ้างป่วยบ่อย แม้กฎหมายจะให้สิทธิลาป่วยได้ “เท่าที่ป่วยจริง” ซึ่งนายจ้างต้องอนุมัติการลา หากเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายคือป่วย แต่หากลาป่วยบ่อยก็จะขัดกับหลักการที่กล่าวมาข้างต้น คือนายจ้างจ่ายเงิน แต่ลูกจ้างไม่สามารถใช้แรงงานคืนนายจ้างได้  จึงอาจทำให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ ดังนั้น

“ลาป่วยบ่อย นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้ โดยถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม”

ถึงแม้ว่า ลูกจ้างจะได้รับสิทธิ์การลาป่วยต่อปี ตามกฎหมายแรงงาน ระบุไว้ 30 วันต่อปี ก็ตาม แต่การใช้สิทธินั้นก็ทำให้สัญญาที่เคยให้ไว้ว่าจะทำงานให้แก่นายจ้างก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งภาษาที่ศาลท่านใช้คือ คำว่า “หย่อนสมรรภาพในการทำงาน” จึงเข้าเงื่อนไขที่จะเลิกจ้างได้ และเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม เพราะถือว่า “มีเหตุอันสมควร และเหมาะสม”

ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ๒๖๐๐/๒๙๒๙ ที่ว่า “การลาป่วยบ่อย ถือว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์ และหย่อนสมรรภาพในการทำงาน การเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม”

ลูกจ้าถูกเลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อยต้องจ่ายค่าชดเชยไหม

แม้ว่านายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างได้เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรมตาม มาตรา ๔๙ พรบ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ก็ตาม แต่การเลิกจ้างที่จะไม่จ่ายค่าชดเชยก็ต้องเข้าข้อยกเว้นของการไม่จ่ายค่าชดเชยด้วย ซึ่งการเลิกจ้างเพราะป่วย ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา ๑๑๙ ด้วย เช่นนี้ ลูกจ้างจึงมีสิทธิได้ค่าชดเชยกรณีเลิกจ้างเพราะลาป่วยบ่อย

 

ขอบคุณที่มา : เพจกฎหมายแรงงาน

https://www.facebook.com/LaborProtectionLaw/posts/1070315386837898

 

 1422
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
การจัดกะพนักงาน คือ กระบวนการวางแผนและจัดระเบียบเวลาทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กรในแต่ละช่วงเวลา โดยแบ่งเวลาทำงานออกเป็นหลายช่วง (หรือหลายกะ) เพื่อให้มีพนักงานเพียงพอในการปฏิบัติงานตลอดเวลา เช่น ในกรณีขององค์กรที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงหรือมีความต้องการกำลังคนที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์