• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

เรื่องวันหยุดพักร้อนของพนักงานตามกฎหมายแล้วคิดอย่างไร

 

สมมุติว่า พนักงานทำงานในปี 2565 มาครบปีแล้ว / ในปี 2566 (ในปีหน้า) พนักงานจะได้วันหยุดพักร้อนขั้นต่ำตามกฎหมาย คือ 6 วันต่อปี หรือจะมากกว่านี้ ที่ทาง HR ส่วนมากจะตัดเป็นปีๆ โดยนับต้นปี – สิ้นปี แล้วหากจะมีพนักงานที่มีแผนจะลาออกในปีหน้า (สมมุติว่าเป็นเดือนกุมภาพันธ์) โดยหากคิดตามอัตราส่วนแล้ว พนักงานจะได้หยุดพักร้อนเพียง 1 วัน ( วิธีคิด 6 วัน / ปี ÷ 12 เดือน ) ทั้งนี้ อาจมีพนักงานบางท่านต้องการใช้สิทธิ์จำนวน 6 วันเต็มของทั้งปี ให้หมดภายในเดือนกุมภาพันธ์  ซึ่งในหลักความเป็นจริง หรือในทางปฏิบัติแล้วนั้น ทางผู้บังคับบัญชา หรือ HR คงไม่สามารถไปห้ามให้พนักงานใช้สิทธิ์ดังกล่าวได้ แต่หากพนักงานได้ใช้หมดไปในเดือนกุมภาพันธ์แล้วนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ดังนี้

 

คำถามที่ 1.

ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทาง HR สามารถไปหักเงินในส่วนที่หยุดพักร้อนเกินไปได้หรือไม่ เพราะพนักงานใช้สิทธิ์ไปล่วงหน้าทั้งปีไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง พนักงานได้ปฏิบัติงานเพียง 2 เดือน

คำตอบ คือ ทาง HR หรือผู้บังคับบัญชาไม่สามารถไปหักเงินในส่วนนี้ได้ครับ เพราะว่า การอนุมัติการลาของพนักงาน เป็นทางผู้บังคับบัญชาหรือ HR ที่ได้อนุมัติ “เป็นสิทธิ์ที่ให้ก่อน” ยกเว้น !!! หากทาง HR ไม่ได้เขียนระเบียบเพื่อรองรับในส่วนนี้ไว้ เช่น หากพนักงานลาออกก่อน ทางบริษัทฯขอไม่จ่ายเงินในส่วนที่ลาเกินสิทธิ์ (ห้ามใช้คำว่าหักนะครับ เพราะขัดกับ ม.76 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) เป็นต้น เพื่อป้องกันพนักงานนำสิทธิ์ส่วนนี้มาใช้ให้หมดก่อนสิ้นปี

 

ในบางองค์กร ทางผู้บังคับบัญชาจะกำหนดสิทธิหยุดพักร้อนให้กับพนักงาน เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว  เช่น ทำงานครบ 2 เดือน จะจัดให้พนักงานหยุดพักร้อน 1 วัน ก็สามารถทำได้ เพราะสิทธิการจัดให้พนักงานหยุดพักร้อนนั้น แท้จริงแล้ว ตามกฎหมายเป็นสิทธิของนายจ้างต้องเป็นผู้กำหนด แต่ในทางปฏิบัติ เป็นการตกลงกันทั้งสองฝ่าย แต่โดยมากจะเป็นความสมัครใจของพนักงานในช่วงเวลาที่ต้องการใช้สิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 บทบัญญัติให้สิทธิลูกจ้างในการหยุดพักผ่อนประจำปีว่าลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้  สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้”

 

ขอบคุณที่มา 

#เพจ_ความรู้_HR

#หนึ่งใน_Slide_อบรม_HR_For_New_HR_กฎหมายแรงงาน_อธิบายอย่างละเอียดครับ

 6476
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สวัสดิการที่องค์กรมอบให้แก่พนักงาน กับ สวัสดิการที่พนักงานต้องการ นั้น บางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ตรงกัน ส่วนบางเรื่องก็เป็นสิ่งที่ต่างความเห็นกัน ในเรื่องนี้จากทาง Jobthai (jobthai.com) เคยทำบทความนำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นจากคนทำงานทั่วประเทศในประเด็นที่ว่า “สวัสดิการที่คนทำงานต้องการจากองค์กร” ซึ่งเป็นการทำผลสำรวจจากคนทำงานที่เป็นพนักงานทั่วไปจำนวน 7,420 คน ทั่วประเทศ โดยมีผลการสำรวจออกมาดังนี้
เคยได้ยินคำว่า Flexible Time กันอยู่บ่อย ๆ ว่าแต่เอ๊ะ มันคืออะไร ??
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์