• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี

ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการได้สิทธิ์วันหยุดพักผ่อนประจำปี



ขออนุญาตอ้างอิงตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.
2541 มาตรา 30 :

  • ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน

โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน

        (2)  ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้

        (3)  นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น

               รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้

        (4)  สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้

มีองค์กรหลายแห่ง และจำนวนมาก ที่ได้จัดให้พนักงานหยุดพักผ่อนประจำปีไม่ได้ครบตามสิทธิ์ตามกฎหมาย ทาง HR ลองกลับไปดูในองค์กรของท่านนะครับ ว่าได้จัดให้ถูกต้องแล้วหรือยัง หากยังไม่ถูกต้องรีบแก้ไขให้ถูกต้องนะครับ

ตัวอย่างการคิดลาพักร้อนที่หลาย ๆ องค์กรจัดไม่ถูกต้อง

พนักงานเข้างาน 1 กรกฎาคม 2559 หากบริษัทฯที่คำนวณไม่ถูกนั้น จะนำสัดส่วนในปีแรกที่เข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่เริ่มงาน 1 กรกฎาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559 (คือ 6 เดือน) ก็จะคำนวณสัดส่วนวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้ 3 วัน (3 วันนี้คิดตาม Prorate หากองค์กรให้พักร้อนตามขั้นต่ำของกฎหมายแรงงาน คือไม่น้อยกว่า 6 วันทำงานต่อปี)

หลายบริษัทจะกำหนดให้พนักงาน สามารถใช้สิทธิ์การลานั้นได้เมื่ออายุงานครบ 1 ปี เท่านั้น คือ วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 และจะให้พนักงานใช้สิทธิ์ได้เพียงแค่ 3 วัน (นับจาก 1 กรกฎาคม 2559 – 31 ธันวาคม 2559) ซึ่งการคิดวันลาพักร้อนดังกล่าวเป็นวิธีการคิดที่ผิด ไม่สอดคล้องตามกฎหมาย โดย อ้างอิงตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30  โดยสิทธิ์การลาพักผ่อนประจำปีของพนักงานนั้นต้องได้สิทธิ์ 6 วันต่อปี ตั้งแต่อายุการทำงานครบ 1 ปี ตั้งแต่ปีแรกแล้ว หรือที่ถูกต้อง ดูตามตารางการนับสิทธิ์ด้านล่าง

ตัวอย่าง ตารางการนับสิทธิ์

 

ขอบคุณที่มา

#เพจ_ความรู้_HR

#หนึ่งใน_Slide_อบรม_HR_For_New_HR_กฎหมายแรงงาน_อธิบายอย่างละเอียดครับ

 1246
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาจ้างงาน คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ระบุเงื่อนไขการจ้างงาน โดยทั่วไปจะกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ค่าตอบแทน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย และช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์