สมมุติว่า พนักงานทำงานในปี 2565 มาครบปีแล้ว / ในปี 2566 (ในปีหน้า) พนักงานจะได้วันหยุดพักร้อนขั้นต่ำตามกฎหมาย คือ 6 วันต่อปี หรือจะมากกว่านี้ ที่ทาง HR ส่วนมากจะตัดเป็นปีๆ โดยนับต้นปี – สิ้นปี แล้วหากจะมีพนักงานที่มีแผนจะลาออกในปีหน้า (สมมุติว่าเป็นเดือนกุมภาพันธ์) โดยหากคิดตามอัตราส่วนแล้ว พนักงานจะได้หยุดพักร้อนเพียง 1 วัน ( วิธีคิด 6 วัน / ปี ÷ 12 เดือน ) ทั้งนี้ อาจมีพนักงานบางท่านต้องการใช้สิทธิ์จำนวน 6 วันเต็มของทั้งปี ให้หมดภายในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งในหลักความเป็นจริง หรือในทางปฏิบัติแล้วนั้น ทางผู้บังคับบัญชา หรือ HR คงไม่สามารถไปห้ามให้พนักงานใช้สิทธิ์ดังกล่าวได้ แต่หากพนักงานได้ใช้หมดไปในเดือนกุมภาพันธ์แล้วนั้น จึงเกิดคำถามขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์ดังนี้
คำถามที่ 1.
ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ทาง HR สามารถไปหักเงินในส่วนที่หยุดพักร้อนเกินไปได้หรือไม่ เพราะพนักงานใช้สิทธิ์ไปล่วงหน้าทั้งปีไปแล้ว แต่ในความเป็นจริง พนักงานได้ปฏิบัติงานเพียง 2 เดือน
คำตอบ คือ ทาง HR หรือผู้บังคับบัญชาไม่สามารถไปหักเงินในส่วนนี้ได้ครับ เพราะว่า การอนุมัติการลาของพนักงาน เป็นทางผู้บังคับบัญชาหรือ HR ที่ได้อนุมัติ “เป็นสิทธิ์ที่ให้ก่อน” ยกเว้น !!! หากทาง HR ไม่ได้เขียนระเบียบเพื่อรองรับในส่วนนี้ไว้ เช่น หากพนักงานลาออกก่อน ทางบริษัทฯขอไม่จ่ายเงินในส่วนที่ลาเกินสิทธิ์ (ห้ามใช้คำว่าหักนะครับ เพราะขัดกับ ม.76 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน) เป็นต้น เพื่อป้องกันพนักงานนำสิทธิ์ส่วนนี้มาใช้ให้หมดก่อนสิ้นปี
ในบางองค์กร ทางผู้บังคับบัญชาจะกำหนดสิทธิหยุดพักร้อนให้กับพนักงาน เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว เช่น ทำงานครบ 2 เดือน จะจัดให้พนักงานหยุดพักร้อน 1 วัน ก็สามารถทำได้ เพราะสิทธิการจัดให้พนักงานหยุดพักร้อนนั้น แท้จริงแล้ว ตามกฎหมายเป็นสิทธิของนายจ้างต้องเป็นผู้กำหนด แต่ในทางปฏิบัติ เป็นการตกลงกันทั้งสองฝ่าย แต่โดยมากจะเป็นความสมัครใจของพนักงานในช่วงเวลาที่ต้องการใช้สิทธิ์ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 30 บทบัญญัติให้สิทธิลูกจ้างในการหยุดพักผ่อนประจำปีว่า “ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดดังกล่าวให้แก่ลูกจ้างล่วงหน้าหรือกำหนดให้ตามที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกัน ในปีต่อมานายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างมากกว่า 6 วันทำงานก็ได้ นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าให้สะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังมิได้หยุดในปีนั้น รวมเข้ากับปีต่อๆไปได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งยังทำงานไม่ครบหนึ่งปี นายจ้างอาจกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณตามส่วนก็ได้”
ขอบคุณที่มา
#หนึ่งใน_Slide_อบรม_HR_For_New_HR_กฎหมายแรงงาน_อธิบายอย่างละเอียดครับ