081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosofthrmi.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Business Flow
Organization
Personnel
Time Attendance
Payroll
Approve Center
Recruitment
Training
Welfare
Loan Management
Job Control
Management Information
Dashboard
Reports
Employee Self Service (ESS)
Multi Company
Human Capital Management (HCM)
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
Manual
System Requirements
New Feature HRMI
E-Newsletter
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
HR Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Award & Standard
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News
HR Articles
Human Resource
หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน
หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
HR Articles
Human Resource
หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน
หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน
ย้อนกลับ
หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ
HR
ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน
ถ้าถามคนทั่วไปว่า “1 เดือนมีกี่วัน” คำตอบที่ได้มาอาจไม่เหมือนกัน เพราะจะมีคนตอบทั้ง 28 วัน 29 วัน 30 วัน และ 31 วัน เพราะเรายึดติดอยู่กับปฏิทิน
แต่
!!
ถ้าถาม HR แล้ว จะต้องมีคำตอบเดียวเท่านั้น คือ 30 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 68 พระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพราะ HR จะต้องใช้ในการคำนวณผลประโยชน์ต่างๆ ในงาน HR (แต่ !! หากเป็นการกล่าวถึงสิทธิการลาต่างๆ ให้นับเป็นรายวัน อย่าเอาไปปะปนกันให้สับสน)
HR หลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HR มือใหม่ก็ตีความเรื่องนี้ผิดและนำไปใช้แบบผิดๆ มาแล้วเช่น กรณีเริ่มจ้างพนักงานใหม่ในระบบค่าจ้างรายเดือนวันที่ 12 มีนาคม หัวหน้าผมสั่งให้จ่ายค่าจ้าง จำนวน 19 วัน ถูกต้องไหม?” ท่านคิดว่าการจ้างค่าจ้างครั้งนี้ถูกต้องไหมครับ?
แน่นอน ว่า ถ้า HR แม่นหลักการตามมาตรา 68 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานแล้ว จะตอบทันทีเลยว่า “ไม่ถูกต้อง” เพราะในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือผลประโยชน์อื่นใดของลูกจ้าง ต้องใช้ 30 วันเป็นฐานในการคิดคำนวณสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนในระบบค่าจ้างรายเดือน
แน่นอน ว่าในการคิดคำนวณค่าจ้างที่ไม่เต็มเดือนซึ่งมักจะเกิดกับกรณีการจ้างงานใหม่ด้วยการไม่คิดคำนวณจากวันทำงานที่เหลือในแต่ละเดือน แต่ใช้การคิดคำนวณจากการ “หักค่าจ้างในวันที่ยังไม่ได้ทำงาน” ออกครับ ซึ่งจะช่วยทำให้การคิดคำนวณค่าจ้างพนักงานใหม่ไม่ผันแปรไปตามจำนวนวันในปฏิทิน และคิดคำนวณได้เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน
ตัวอย่างในการคำนวณวันที่จ่ายค่าจ้าง
เริ่มงานวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ไม่มีวันที่ไม่ได้ทำงาน จ่ายค่าจ้างเต็มเดือนตามฐานค่าจ้างที่กฎหมายกำหนด
เริ่มงานวันที่ 2 กุมภาพันธ์ หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 1 วัน (1 กุมภาพันธ์) จ่ายค่าจ้าง 29 วัน
เริ่มงานวันที่ 3 มีนาคม หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 2 วัน (1 – 2 มีนาคม) จ่ายค่าจ้าง 28 วัน
เริ่มงานวันที่ 17 เมษายน หักวันไม่ได้ทำงาน 16 วัน (1 – 16 เมษายน) จ่ายค่าจ้าง 14 วัน ฯลฯ
จะเห็นว่า วิธีการที่ใช้จะมีจุดเริ่มต้นการคำนวณเดียวกันคือ “วันที่ 1 ของเดือน” และมีจุดสิ้นสุดเดียวกัน “เดือนละ 30 วัน” และหากพนักงานสอบถามโดยใช้จำนวนวันทำงานในเดือนนั้นๆ มาคิดคำนวณ HR จะสามารถอธิบายหลักการคิดคำนวณค่าจ้างตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้พนักงานฟังได้ก่อนเลยเป็นอันดับแรก เพื่อปรับฐานความคิดเรื่องจำนวนวันในการคิดคำนวณค่าจ้างให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้
ที่นี่ คลิก!!
ProsoftHRMI
โปรแกรมบริหารทรัพยากรมนุษย์
โปรแกรมเงินเดือน
ขอบคุณที่มา ::
https://www.facebook.com/101191105245398/posts/120066366691205/
46399
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
5 ปัจจัยที่ทำให้คนทำงานไม่มีความสุขกับงานปัจจุบัน
5 ปัจจัยที่ทำให้คนทำงานไม่มีความสุขกับงานปัจจุบัน
การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
6 เรื่องที่มนุษย์เงินเดือน ต้องรู้ไว้
6 เรื่องที่มนุษย์เงินเดือน ต้องรู้ไว้
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การจ้างงานมีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีอย่างไร?
การจ้างงานมีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีอย่างไร?
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน
เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
4 ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน ที่นิยมใช้และตอบโจทย์พนักงานยุคใหม่
4 ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน ที่นิยมใช้และตอบโจทย์พนักงานยุคใหม่
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน
คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน
สวัสดิการ
ค่าล่วงเวลา
และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่
เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง
ค่าชดเชยจากนายจ้าง
อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า
เงินค่าชดเชย
เป็นสิ่งที่นายจ้าง
ต้องจ่าย
ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com