• หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • Human Resource

  • หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

หนึ่งเดือนมีกี่วันกันนะ HR ทำอย่างไร กับ การคิดเงินค่าแรงในเดือนที่มีจำนวนวันไม่เท่ากัน

                ถ้าถามคนทั่วไปว่า “1 เดือนมีกี่วัน” คำตอบที่ได้มาอาจไม่เหมือนกัน เพราะจะมีคนตอบทั้ง 28 วัน 29 วัน 30 วัน และ 31 วัน เพราะเรายึดติดอยู่กับปฏิทิน แต่ !! ถ้าถาม HR แล้ว จะต้องมีคำตอบเดียวเท่านั้น คือ 30 วัน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 68 พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพราะ HR จะต้องใช้ในการคำนวณผลประโยชน์ต่างๆ ในงาน HR (แต่ !! หากเป็นการกล่าวถึงสิทธิการลาต่างๆ ให้นับเป็นรายวัน อย่าเอาไปปะปนกันให้สับสน) HR หลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง HR มือใหม่ก็ตีความเรื่องนี้ผิดและนำไปใช้แบบผิดๆ มาแล้วเช่น กรณีเริ่มจ้างพนักงานใหม่ในระบบค่าจ้างรายเดือนวันที่ 12 มีนาคม หัวหน้าผมสั่งให้จ่ายค่าจ้าง จำนวน 19 วัน ถูกต้องไหม?” ท่านคิดว่าการจ้างค่าจ้างครั้งนี้ถูกต้องไหมครับ?

                แน่นอน ว่า ถ้า HR แม่นหลักการตามมาตรา 68 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานแล้ว จะตอบทันทีเลยว่า “ไม่ถูกต้อง” เพราะในเรื่องการคำนวณผลประโยชน์ของลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้าง ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือผลประโยชน์อื่นใดของลูกจ้าง ต้องใช้ 30 วันเป็นฐานในการคิดคำนวณสำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าตอบแทนในระบบค่าจ้างรายเดือน

แน่นอน ว่าในการคิดคำนวณค่าจ้างที่ไม่เต็มเดือนซึ่งมักจะเกิดกับกรณีการจ้างงานใหม่ด้วยการไม่คิดคำนวณจากวันทำงานที่เหลือในแต่ละเดือน แต่ใช้การคิดคำนวณจากการ “หักค่าจ้างในวันที่ยังไม่ได้ทำงาน” ออกครับ ซึ่งจะช่วยทำให้การคิดคำนวณค่าจ้างพนักงานใหม่ไม่ผันแปรไปตามจำนวนวันในปฏิทิน และคิดคำนวณได้เป็นมาตรฐานสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน

ตัวอย่างในการคำนวณวันที่จ่ายค่าจ้าง

เริ่มงานวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ไม่มีวันที่ไม่ได้ทำงาน จ่ายค่าจ้างเต็มเดือนตามฐานค่าจ้างที่กฎหมายกำหนด

เริ่มงานวันที่ 2 กุมภาพันธ์ หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 1 วัน (1 กุมภาพันธ์) จ่ายค่าจ้าง 29 วัน

เริ่มงานวันที่ 3 มีนาคม หักวันที่ไม่ได้ทำงาน 2 วัน (1 – 2 มีนาคม) จ่ายค่าจ้าง 28 วัน

เริ่มงานวันที่ 17 เมษายน หักวันไม่ได้ทำงาน 16 วัน (1 – 16 เมษายน) จ่ายค่าจ้าง 14 วัน ฯลฯ               

           จะเห็นว่า วิธีการที่ใช้จะมีจุดเริ่มต้นการคำนวณเดียวกันคือ “วันที่ 1 ของเดือน” และมีจุดสิ้นสุดเดียวกัน “เดือนละ 30 วัน” และหากพนักงานสอบถามโดยใช้จำนวนวันทำงานในเดือนนั้นๆ มาคิดคำนวณ HR จะสามารถอธิบายหลักการคิดคำนวณค่าจ้างตามมาตรา 68 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้พนักงานฟังได้ก่อนเลยเป็นอันดับแรก เพื่อปรับฐานความคิดเรื่องจำนวนวันในการคิดคำนวณค่าจ้างให้อยู่บนพื้นฐานเดียวกัน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ขอบคุณที่มา :: https://www.facebook.com/101191105245398/posts/120066366691205/

 44674
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง

Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์