ลาออกหลังได้โบนัสกับสิ่งที่ HR ต้องพร้อมรับมือ

ลาออกหลังได้โบนัสกับสิ่งที่ HR ต้องพร้อมรับมือ


แทบจะเรียกได้ว่า เป็นธรรมเนียมปฏิบัติประจำทุกปีของเกือบจะทุกองค์กร ที่หลังจากพนักงานได้รับเงินโบนัสประจำปี จะทยอยกันยื่นจดหมาย 
ลาออกหลังได้โบนัสกับสิ่งที่ 
hr ต้องพร้อมรับมือ พนักงานบางคนเลือกที่จะลาออกทันที หลังได้รับโบนัส ก่อนที่จะได้งานใหม่ด้วยซ้ำ เพื่อต้องการมีเวลาพักก่อนเริ่มหางานใหม่ ซึ่งความจริงแล้ว พนักงานควรรอให้ได้งานใหม่ก่อนจึงควรยื่นลาออก

ซึ่งจากผลการสำรวจ Laws of Attraction ของ JobsDB พบว่า ธุรกิจไอทีเป็นหนึ่งในธุรกิจที่มีการเทิร์นโอเวอร์สูง ดังนั้นการที่จะสร้างแรงจูงใจให้คนไอทีอยู่ต่อกับองค์กร ต้องพิจารณาถึงผลตอบแทนที่เป็นตัวเงินมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือโอกาสความก้าวหน้าในวิชาชีพ หากยังทำงานกับองค์กรนั้นต่อไป ส่วนในธุรกิจอื่น ๆ การที่องค์กรจะรั้งให้พนักงานอยู่ต่อไปได้ หลังจากได้รับเงินโบนัสประจำปี ควรมาจาก 4 ปัจจัยต่อไปนี้

ปลูกฝังความรักในองค์กร

สำหรับ Gen X และ Gen Y ความรักในองค์กรอาจมีความเข้มข้นกว่า Gen Z เนื่องจากพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่จะไม่ยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ หรือทำงานที่เดิมนาน ๆ หากดูแล้วว่าโอกาสที่จะก้าวหน้าในองค์กรที่ทำอยู่ไม่มี ก็จะลาออกในทันที องค์กรจึงต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติให้พนักงานรุ่นใหม่มีใจรักในองค์กร ทำให้เกิดความภูมิใจในองค์กร ดึงข้อดีที่องค์กรอื่นไม่มี รวมถึงเสนอโอกาสที่จะก้าวหน้า และได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าในเวลาที่เหมาะสม หากยังทำงานกับองค์กรต่อไป

จูงใจด้วยโอกาสความก้าวหน้า

เงินโบนัสอาจไม่ใช่คำตอบสำหรับความต้องการของพนักงานเสมอไปก็เป็นได้ หากไม่มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานให้ไขว่คว้าแล้ว ก็เหมือนขาดเป้าหมายในการทำงาน นำไปสู่ความเบื่อหน่ายและลาออกจากงานในที่สุด การแก้ปัญหาหากพนักงานต้องการลาออก อาจทำได้โดยการเสนอตำแหน่งใหม่ให้ หรือเสนอการ Rotate ย้ายแผนก ย้ายทีม ย้ายสาขา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสร้างโอกาสก้าวหน้าในการทำงานมากขึ้น

เพิ่มความท้าทายในการทำงาน

ลองให้พนักงานได้ทำอะไรใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่แค่งาน Routine เช่น เข้าร่วมทีมกับฝ่ายบุคคลเพื่อทำโปรเจกต์ฉลองวันเกิดให้กับพนักงานในองค์กร เป็นต้น หรือการสร้าง Challenge ในการทำงานให้กับบริษัท ด้วยโปรเจกต์ชิงรางวัลภายในองค์กร โดยให้พนักงานรวมกลุ่มกันส่งผลงานเช้าชิง เป็นต้น ซึ่งจะช่วยสร้างความตื่นตัวในการทำงาน

อัดฉีดสวัสดิการ

สุดท้ายแล้วสิ่งที่พนักงานต้องการมากที่สุดก็ยังคงเป็นสวัสดิการที่ดี อย่างการปรับขึ้นเงินเดือน การจ่ายโบนัส ซึ่งการแก้ปัญหาหนึ่งที่องค์กรมักเลือกทำคือ การกระจายจ่ายเงินโบนัส แบ่งออกเป็น 2-3 ครั้งต่อปี หรือการเพิ่มค่า Incentive หากองค์กรได้ลูกค้าเพิ่มขึ้น เป็นต้น รวมไปถึงการเพิ่มสวัสดิการใหม่ ๆ เข้าไป อย่างค่ารักษาพยาบาล เงินล่วงเวลา

ไม่มีใครอยากเปลี่ยนงานบ่อย ๆ เพราะต้องวุ่นวายกับกระบวนการหางานใหม่ และการปรับตัวเข้ากับองค์กรใหม่ แต่ถ้าการทำงานในองค์กรเดิมไม่ตอบโจทย์ทั้งในเรื่องงาน และชีวิตส่วนตัว ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่พนักงานจะตบเท้ากันลาออก ฉะนั้นองค์กรควรดูแลทั้ง 4 ปัจจัยที่กล่าวมานี้ให้กับพนักงาน เพื่อรักษาพนักงานไว้กับองค์กรต่อไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : https://th.jobsdb.com/

 597
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์