วางแผนกำลังคนอย่างไรให้ได้คนเหมาะสมกับงาน

วางแผนกำลังคนอย่างไรให้ได้คนเหมาะสมกับงาน


          องค์กรจะดำเนินงานไปได้เร็วหรือช้านั้น ส่วนหนึ่งมาจากบุคลากรที่ช่วยในการทำงานด้วย พนักงานที่รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตัวเองเป็นอย่างดี จะสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพ และสามารถผลักดันองค์กรไปสู่จุดหมายได้เร็วขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับหัวหน้างานด้วย ว่าจะสามารถจัดวางกำลังคนให้เหมาะสมกับงานได้มากน้อยเพียงใด

          Put the right man on the right job ยังคงเป็นวลีติดปากที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เสมอ แม้ว่าเราจะมีคนทำงานที่มีความสามารถเพียงใดก็ตาม แต่หากจัดวางคนทำงานที่มีคุณภาพ แต่อยู่ผิดที่ผิดทาง การทำงานก็ไม่สามารถเดินหน้าได้อย่างที่เราต้องการอย่างแน่นอน และแน่นอนว่าองค์กรก็ไม่สามารถคาดหวังผลประกอบการให้อยู่ในระดับสูงได้

          การวางกำลังคนให้เหมาะสมกับงาน หัวหน้างานต้องเรียนรู้ และจัดวางกำลังคนให้เหมาะสม โดยเริ่มต้นจากเข้าไปศึกษาเรียนรู้อย่างจริงจังกับพนักงานในแต่ละกลุ่ม และจัดจำแนกว่าองค์กรมีคนทำงานที่มีความสามารถในระดับใดบ้าง และมีอยู่กี่กลุ่ม จากนั้นจึงค่อยจัดวางกำลังคนเหล่านั้น ให้ทำงานในที่ที่เหมาะสม การเสียเวลาศึกษาความสามารถของพนักงาน แต่ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่า ย่อมดีกว่าการปล่อยให้มีคนทำงานจำนวนมาก แต่ไม่สามารถทำให้กับบริษัทได้อย่างที่คาดหวังไว้

          การวางแผนกำลังคนให้เหมาะสมกับงาน เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น สามารถดำเนินการได้ โดยอาศัยเทคนิคและวิธีการ ดังต่อไปนี้

คัดเลือกอย่างไรให้ได้พนักงานคุณภาพ

          ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการใด ๆ นั้น หัวหน้างานต้องเข้าใจและเรียนรู้ความสามารถของพนักงานก่อน เพื่อจะได้จัดจำแนกได้ว่าในองค์กรของตนเองนั้น มีพนักงานที่มีความสามารถในระดับใดอยู่บ้าง แล้วเราสามารถคัดเลือกให้พนักงานเหล่านั้น ไปทำงานอยู่ในแผนกไหน ตำแหน่งใดได้บ้าง จึงจะทำให้การทำงานสามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็ว

          หัวหน้างานควรมีขั้นตอนในการคัดเลือกบุคลากรที่เป็นรูปธรรม และสามารถจับต้องได้ กล่าวคือ ต้องสามารถชี้วัดได้ว่าเหตุใดเราจึงเลือกคน ๆ นี้เข้าทำงานในตำแหน่งนี้ ขั้นตอนที่ปฏิบัติการโดยทั่วไป คือ การทดสอบความรู้ความสามารถของพนักงาน ว่าสามารถทำงานในตำแหน่งดังกล่าวได้หรือไม่ การทดสอบนี้อาจเริ่มต้นตั้งแต่การสัมภาษณ์งาน ในช่วงเวลานั้น หัวหน้างานอาจจะต้องคิดไว้ในใจแล้วว่าคุณสมบัติเช่นไรที่เหมาะกับการทำงาน

          แต่ในกรณีที่ไม่มีการทดสอบ หรือเป็นพนักงานคนเดิมที่เคยทำงานกับบริษัทมานานแล้ว แต่มีความสามารถที่โดดเด่น หัวหน้างานก็ควรมองเห็นความสามารถดังกล่าว เพื่อจะได้จัดวางพนักงานให้เหมาะสมกับความสามารถ และตำแหน่งงานในองค์กรได้ การคัดเลือกพนักงานให้เหมาะกับตำแหน่งงาน ไม่เพียงจะทำให้ได้พนักงานที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นการเสริมสร้างความสำเร็จขององค์กรให้ขับเคลื่อนไปได้เร็วขึ้นอีกด้วย

สอนงานอย่างไรให้ได้พนักงานเก่ง

          ดูเหมือนว่าหน้าที่การคัดเลือกพนักงานที่มีความสามารถนั้น ไม่ได้อยู่ที่ฝ่ายบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอยู่กับหัวหน้างานที่รู้เนื้อหาของงานเป็นอย่างดีด้วย หากหัวหน้างานไม่มีความรู้มากพอ ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถคัดเลือกคนที่ตรงกับงานจริง ๆ ได้ ซึ่งนั่นก็อาจจะยังไม่บรรลุเป้าหมายได้ดี หัวหน้างานต้องเข้าใจในเนื้อหาของงานอย่างถ่องแท้ เพื่อจะตัดสินใจได้ว่าคนที่เลือกมาทำงานนั้น เป็นคนที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง ไม่ใช่คนที่เลือกมาเพราะอยากทดลองงาน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


ที่มา : https://th.jobsdb.com/
 779
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์