นายจ้างที่มีลูกจ้างติดหนี้ กยศ. ต้องทำอย่างไร

นายจ้างที่มีลูกจ้างติดหนี้ กยศ. ต้องทำอย่างไร


ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป นายจ้างที่มีพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดให้องค์กรนายจ้างมีหน้าที่หักเงิน ได้ที่มาจากการจ้างแรงงานของพนักงานและลูกจ้างที่เป็นผู้กู้ยืมนำส่งกรมสรรพากร พร้อมกับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ทีจ่าย เพื่อชำระหนี้คืนกองทุนตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 ได้บัญญัติว่า“ให้บุคคล คณะบุคคล หรือ นิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (1) แห่งประมวรัษฎากร มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว

นายจ้างที่ ไม่หักเงินเดือนลูกจ้างที่ติดหนี้ กยศ. จะมีโทษอย่างไร
นายจ้างหน่วยงานเอกชนจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมเนื่องจากหากไม่ได้หักเงินเดือนหักแต่ไม่ได้นําส่งหรือนําส่งแต่ไม่ครบตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบรวมทั้งหักและนําส่งเกินกําหนดระยะเวลาจะต้องรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนําส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจํานวนเงินที่ยังไม่ได้นําส่งหรือตามจํานวนที่ยังขาดไปแล้ว แต่กรณีทั้งนี้นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดต้องนําส่งหากนายจ้างได้หักเงินเดือนของผู้กู้ยืมเงินไว้แล้วให้ถือว่าผู้กู้ยืมเงินได้ชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจํานวนที่ได้หักไว้แล้ว

นายจ้างมีขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมอย่างไร
กยศ. ตรวจสอบข้อมูลผู้กู้ยืมเงินจากผู้ถือครองข้อมูลคือสำนักงานประกันสังคม/กรมสรรพากร โดยจะแจ้งข้อมูลให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือพร้อมข้อมูลผู้กู้ยืมเงินจำนวนเงินที่จะต้องหัก (รูปแบบแผ่น CD) สำหรับครั้งต่อไปจะแจ้งในระบบรับชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสรรพากร (e-PaySLF) นายจ้างมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

1.สมัครขอใช้ระบบ e-PaySLF
สมัครสมาชิกยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ภ.อ.01 ของกรมสรรพากร (e-Filling) เพื่อลงทะเบียนยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filling) ดังนี้
  • เข้าเว็บไซต์ http://www.rd.go.th
  • ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
  • สมัครสมาชิก
  • กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมยื่นเอกสารที่กรมสรรพากร
เพิ่มรายการ “นำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.” ภ.อ.02 (กรณีเป็นสมาชิก e-Filling อยู่แล้วให้ดำเนินการในขั้นตอนนี้ได้เลย)

2. ขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.
  • เข้าสู่ระบบ e-PaySLF เพื่อรับข้อมูลรายชื่อและจำนวนเงินที่ต้องหักจากระบบ
  • บันทึกรายการและจำนวนเงินที่หักได้เข้าสู่ระบบ
  • พิมพ์ชุดชำระ (Pay in slip) และนำไปชำระตามช่องทางที่กำหนด
  • เมื่อหักเงินแล้วให้นำ ส่งภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป
ทางเว็บไซต์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้จัดทำคลิปวิดีโอแนะนำการใช้งานระบบ e-PaySLF สามารถเข้าไปชมได้ตามลิงก์นี้ได้เลยค่ะ https://www.studentloan.or.th/th/knowledgemedia/1592883916

ผู้กู้ยืมเงินทั้งหลายเมื่อเป็นหนี้ก็ต้องใช้คืน นายจ้างต้องหักเงินเดือนนำส่ง กยศ. ให้ครบตรงตามกำหนดจะได้ไม่เสียเงินเพิ่มช่วยส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้กับน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฝ่ายบริหารหนี้ กลุ่มงานหักเงินเดือนองค์กร นายจ้าง โทร. 02-016-2600 ต่อ 590-599 หรือ call center 02-016-4888 กด 9

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : https://thaicpdathome.com/
 1031
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำงานโดยที่คนทำงานไม่มีความสุขนั้นส่งผลกระทบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นผลงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ องค์กรไม่มีความก้าวหน้า ลองมาดูกันว่า อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้พนักงานไม่มีความสุขกับการทำงาน
1. สัญญาจ้างทำด้วยวาจาก็ได้ 2. นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกรับหลักประกันการทำงาน เว้นทำงานเกี่ยวข้องกับเงิน หรือทรัพย์สินของนายจ้าง 3. เมื่อการประกันสิ้นสุดลง นายจ้างต้องคืนหลักประกันให้แก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน 4. นายจ้างไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักตามที่กฎหมายกำหนด 5. ลูกจ้างลาออกไม่ต้องรอการอนุมัติก็มีผล 6. นายจ้างไล่ออกไม่ต้องเป็นหนังสือไล่ออกก็มีผล
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน สวัสดิการ ค่าล่วงเวลา และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง ค่าชดเชยจากนายจ้าง อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า เงินค่าชดเชย เป็นสิ่งที่นายจ้าง ต้องจ่าย ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์