081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosofthrmi.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Business Flow
Organization
Personnel
Time Attendance
Payroll
Approve Center
Recruitment
Training
Welfare
Loan Management
Job Control
Management Information
Dashboard
Reports
Employee Self Service (ESS)
Multi Company
Human Capital Management (HCM)
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
Manual
System Requirements
New Feature HRMI
E-Newsletter
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
HR Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Award & Standard
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News
HR Articles
Human Resource
นายจ้างที่มีลูกจ้างติดหนี้ กยศ. ต้องทำอย่างไร
นายจ้างที่มีลูกจ้างติดหนี้ กยศ. ต้องทำอย่างไร
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
HR Articles
Human Resource
นายจ้างที่มีลูกจ้างติดหนี้ กยศ. ต้องทำอย่างไร
นายจ้างที่มีลูกจ้างติดหนี้ กยศ. ต้องทำอย่างไร
ย้อนกลับ
ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 เป็นต้นไป นายจ้างที่มีพนักงานหรือลูกจ้างที่เป็นหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จะมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 ซึ่งกำหนดให้องค์กรนายจ้างมีหน้าที่หักเงิน ได้ที่มาจากการจ้างแรงงานของพนักงานและลูกจ้างที่เป็นผู้กู้ยืมนำส่งกรมสรรพากร พร้อมกับการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ทีจ่าย เพื่อชำระหนี้คืนกองทุนตามมาตรา 51 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ.2560 ได้บัญญัติว่า“ให้บุคคล คณะบุคคล หรือ นิติบุคคลทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40 (1) แห่งประมวรัษฎากร มีหน้าที่หักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินซึ่งเป็นพนักงาน หรือลูกจ้างของผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าว
นายจ้างที่ ไม่หักเงินเดือนลูกจ้างที่ติดหนี้ กยศ. จะมีโทษอย่างไร
นายจ้างหน่วยงานเอกชนจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้ถึงขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมเนื่องจากหากไม่ได้หักเงินเดือนหักแต่ไม่ได้นําส่งหรือนําส่งแต่ไม่ครบตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบรวมทั้งหักและนําส่งเกินกําหนดระยะเวลาจะต้องรับผิดชดใช้เงินที่ต้องนําส่งในส่วนของผู้กู้ยืมเงินตามจํานวนที่กองทุนแจ้งให้ทราบ และต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจํานวนเงินที่ยังไม่ได้นําส่งหรือตามจํานวนที่ยังขาดไปแล้ว แต่กรณีทั้งนี้นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกําหนดต้องนําส่งหากนายจ้างได้หักเงินเดือนของผู้กู้ยืมเงินไว้แล้วให้ถือว่าผู้กู้ยืมเงินได้ชำระเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาตามจํานวนที่ได้หักไว้แล้ว
นายจ้างมีขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมอย่างไร
กยศ. ตรวจสอบข้อมูลผู้กู้ยืมเงินจากผู้ถือครองข้อมูลคือสำนักงานประกันสังคม/กรมสรรพากร โดยจะแจ้งข้อมูลให้นายจ้างทราบเป็นหนังสือพร้อมข้อมูลผู้กู้ยืมเงินจำนวนเงินที่จะต้องหัก (รูปแบบแผ่น CD) สำหรับครั้งต่อไปจะแจ้งในระบบรับชำระเงินกู้ยืมคืนกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาผ่านกรมสรรพากร (e-PaySLF) นายจ้างมีขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ดังนี้
1.สมัครขอใช้ระบบ e-PaySLF
สมัครสมาชิกยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ภ.อ.01 ของกรมสรรพากร (e-Filling) เพื่อลงทะเบียนยื่นภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filling) ดังนี้
เข้าเว็บไซต์
http://www.rd.go.th
ยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต
สมัครสมาชิก
กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมยื่นเอกสารที่กรมสรรพากร
เพิ่มรายการ “นำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.” ภ.อ.02 (กรณีเป็นสมาชิก e-Filling อยู่แล้วให้ดำเนินการในขั้นตอนนี้ได้เลย)
2. ขั้นตอนการนำส่งเงินกู้ยืมคืน กยศ.
เข้าสู่ระบบ e-PaySLF เพื่อรับข้อมูลรายชื่อและจำนวนเงินที่ต้องหักจากระบบ
บันทึกรายการและจำนวนเงินที่หักได้เข้าสู่ระบบ
พิมพ์ชุดชำระ (Pay in slip) และนำไปชำระตามช่องทางที่กำหนด
เมื่อหักเงินแล้วให้นำ ส่งภายในวันที่ 15 ของ เดือนถัดไป
ทางเว็บไซต์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้จัดทำคลิปวิดีโอแนะนำการใช้งานระบบ e-PaySLF สามารถเข้าไปชมได้ตามลิงก์นี้ได้เลยค่ะ
https://www.studentloan.or.th/th/knowledgemedia/1592883916
ผู้กู้ยืมเงินทั้งหลายเมื่อเป็นหนี้ก็ต้องใช้คืน นายจ้างต้องหักเงินเดือนนำส่ง กยศ. ให้ครบตรงตามกำหนดจะได้ไม่เสียเงินเพิ่มช่วยส่งต่อโอกาสทางการศึกษาให้กับน้อง ๆ นักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ต่อไป หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมฝ่ายบริหารหนี้ กลุ่มงานหักเงินเดือนองค์กร นายจ้าง โทร. 02-016-2600 ต่อ 590-599 หรือ call center 02-016-4888 กด 9
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!
ที่มา : https://thaicpdathome.com/
964
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
การจ้างงานมีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีอย่างไร?
การจ้างงานมีกี่ประเภท แต่ละแบบมีข้อดีอย่างไร?
การทำงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของชีวิต ซึ่งรูปแบบของการจ้างงานไม่ได้มีเพียงงานประจำและรอเวลาเกษียณอายุเพียงเท่านั้น แต่ยังมีลักษณะการจ้างงานอีกหลายประเภท ที่สามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปได้ ในบทความนี้จะมาสรุปสั้น ๆ ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ว่าการจ้างงานมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดีแตกต่างกันอย่างไร
เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน
เปลี่ยน Outing ที่น่าเบื่อ ให้กลายเป็นกิจกรรมที่ได้ใจพนักงาน
การพาพนักงานไป Outing ถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการหลัก ๆ ที่หลายองค์กรมี เพื่อดึงดูดพนักงานทั้งภายในและภายนอกให้อยากมาร่วมงานกันด้วย โดยวัตถุประสงค์หลักของการไป Outing ก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี และเพื่อตอบแทนพนักงาน ให้ได้ผ่อนคลายจากการทำงานประจำวันอันตึงเครียดมายาวนาน โดยที่บริษัทจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายไว้ทั้งหมด
4 ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน ที่นิยมใช้และตอบโจทย์พนักงานยุคใหม่
4 ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน ที่นิยมใช้และตอบโจทย์พนักงานยุคใหม่
ระบบลงเวลาเข้า-ออกของพนักงาน
คือ ระบบที่ช่วยในการบันทึกเวลาการทำงานของพนักงาน ผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ตั้งแต่ เครื่องสแกนลายนิ้วมือ (Finger Scanner), สมาร์ทโฟน (Smart Phone), แท็บเล็ต (Tablet), ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน ปลอดภัย และเชื่อมต่อสู่ระบบข้อมูลกลางอย่างระบบคลาวด์ (Cloud System) ได้ โดยจะระบุเวลาที่พนักงานเข้ามาทำงานและออกจากงานในแต่ละวัน ดูสถิติ ขาด ลา มาสาย ระบบนี้มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการเวลาและการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคล (HR) และฝ่ายบริหารสามารถติดตามการทำงานของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ข้อมูลที่บันทึกเพื่อคำนวณเงินเดือน
สวัสดิการ
ค่าล่วงเวลา
และการจัดทำรายงานการเข้างานได้อย่างแม่นยำ ตอบโจทย์การทำงานในธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ
เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่
เมื่อถูกเลิกจ้าง กะทันหัน ลูกจ้างมีสิทธิได้เงินชดเชยเท่าไหร่
มนุษย์เงินเดือนบางคนอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ตัวเองมีสิทธิที่จะเรียกร้อง
ค่าชดเชยจากนายจ้าง
อันนี้เป็นสิทธิ์ของเรานะ พี่ทุยบอกเลยว่า
เงินค่าชดเชย
เป็นสิ่งที่นายจ้าง
ต้องจ่าย
ให้กับพนักงานหรือลูกจ้าง เพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงาน ซึ่งไม่ได้มาจากทำความผิดของพนักงานหรือลูกจ้าง แต่อาจจะด้วยเหตุผลบางอย่างที่จำเป็นต้องลดจำนวนพนักงานลง
ผู้ประกันตนเช็กเงินสะสมประกันสังคมเองได้ง่ายๆ
ผู้ประกันตนเช็กเงินสะสมประกันสังคมเองได้ง่ายๆ
ในแต่ละเดือนที่เราจ่ายเงินสมทบประกันสังคมนั้น ก็จะมีเงินส่วนหนึ่งที่จัดเก็บเข้าเป็นเงินสะสมประกันสังคม ซึ่งเงินส่วนนี้เองเราสามารถเช็คเงินสะสมประกันสังคมได้เองผ่านช่องทางออนไลน์ด้วย มาดูกันครับว่าทำยังไง แล้วยอดเงินประกันสังคมนี้ทำอะไรได้บ้าง
ทำความรู้จักกับ Employee Referral Program
ทำความรู้จักกับ Employee Referral Program
Employee Referral Program หรือ โครงการแนะนำพนักงาน คือระบบที่องค์กรใช้เพื่อกระตุ้นให้พนักงานที่ทำงานอยู่แนะนำบุคคลภายนอกที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่เปิดรับ โดยทั่วไปโครงการนี้มักมีการมอบรางวัลหรือโบนัสให้กับพนักงานที่แนะนำคนที่ถูกคัดเลือกและรับเข้าทำงานในองค์กรสำเร็จ โครงการแนะนำพนักงานนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น การลดต้นทุนในการจ้างงาน เพิ่มคุณภาพของผู้สมัคร และสร้างความผูกพันให้กับพนักงานในองค์กร
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com