HR ยุค Future Normal 2021

HR ยุค Future Normal 2021


      ปีที่ผ่านมาภาวะโควิดทำพิษได้เปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจอย่างแรง แน่นอนว่าส่งผลกระทบแรงมาถึงธุรกิจด้วย หลายบริษัททั่วโลกต้องเจอกับศึกหนักในการทำงานและการบริหารจัดการคนในองค์กร ความรับผิดชอบของ HR จึงถูกโฟกัสมากขึ้น

      ถึงแม้ว่า COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อพนักงาน บางบริษัทต้องเลิกจ้างพนักงานที่มีอยู่และงดจ้างพนักงานใหม่ แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่ต้องการเพิ่มจำนวนพนักงานเนื่องจากความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของลูกค้ามีมากขึ้น เป็นเรื่องท้าทายของ HR แต่ละบริษัทที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองว่าจะสามารถจัดการและขับเคลื่อนองค์กรให้ไปต่อในยุค Future Normal ที่ขยับใกล้เข้ามาได้หรือไม่ 

        การทำงานด้วยทักษะเดิม ๆ นั้นไม่ Work อีกต่อไป HR ยุคใหม่ต้องรู้จักเตรียมพร้อม ปรับรูปแบบการทำงานใหม่ เพื่อพัฒนาตัวเองและองค์กรให้อยู่รอด เรามาดูกันครับว่า 5 แนวโน้มในอนาคตและ 5 ทักษะที่เหมาะสมต่อการทำงานในปี 2021 สำหรับ HR มีอะไรบ้าง 

        1.Work Remoting– การทำงานผ่านทางไกล หรือที่ไหนก็ได้ สถานการณ์บังคับจากช่วงโควิดและนโยบายภาครัฐทำให้หลายบริษัทต้องประกาศให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้าน (Work from home) เป็นระยะเวลาหนึ่ง บริษัทต่าง ๆ อาจจะกำลังชินกับการให้พนักงานทำงานที่บ้าน มีแนวโน้มว่าบ้านจะกลายเป็นเหมือนออฟฟิศของพนักงานในอนาคต “Home is the new office” บริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง Twitter, Square, และ Capital One โอเคกับการให้พนักงานทำงานที่บ้านได้ตลอดไปแม้ว่าโควิดจะเลิกระบาดแล้ว ส่วน Microsoft ก็สนับสนุนให้ที่ทำงานเป็น Hybrid Workplace พนักงานจะทำงานที่บ้านหรือจะทำที่ไหนก็ได้ แต่นี่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น โดยภาพรวมพบว่ามีบริษัทจำนวนมากที่ยังไม่พร้อมที่จะให้การทำงานที่บ้านเป็นเรื่องปกติหากต้องปรับให้เป็นรูปแบบการทำงานในระยะยาว เนื่องจากโครงสร้างขององค์กรไม่อำนวยสะดวก และความกังวลของหัวหน้าว่าประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือลูกน้องอาจลดลง แต่นโยบายนี้ก็มีข้อดีเพราะอาจเป็นจุดขายดึงดูดพนักงานใหม่ๆ ที่ต้องการความยืดหยุ่นของการทำงาน เพราะเขาเชื่อว่าศักยภาพของการทำงานไม่ได้หยุดอยู่แค่ที่ทำงาน หลายบริษัทจึงได้เริ่มลงทุนกับเทคโนโลยีเพื่อให้เข้ามาช่วยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลการสื่อสารภายในองค์กร ตรวจสอบวันเวลาเข้าออกและเช็คพิกัดของพนักงานได้แม้ว่าจะต้องอยู่กันคนละที่ ตรวจสอบแม่นยำ ทำให้ข้อจำกัดลดลง สะดวกต่อ Flow การทำงานขององค์กรมากขึ้น

มองหาแอปพลิเคชันช่วย HR จัดการบริหารข้อมูลพนักงานในองค์กร ต้อง HappyWork 
ทำงานที่บ้าน / เช็คเข้างาน ขาด ลา มาสาย / เบิกค่าใช้จ่าย / ยื่นภาษี / ทำบัญชีเงินเดือน / แจ้งเตือนข่าวสำคัญ / ให้รางวัล 

        2.Employee Experience – การจัดการองค์กรของ HR ช่วงก่อนโควิดระบาดจนถึงตอนนี้นั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ในช่วงโควิดระบาดแรกๆ แต่ละองค์กรต้องสัมภาษณ์พนักงานเข้าใหม่ผ่านออนไลน์ มีการประชุมงานแบบ Virtual Meeting ไม่ว่าจะผ่าน Zoom หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ หลายคนคิดว่าเหตุการณ์แบบนี้อาจทำให้พนักงานในองค์กรขาดการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กันในองค์กร แต่จริง ๆ แล้วการแพร่ระบาดของโควิดนั้นส่งผลดีต่อประสบการณ์การทำงานของพนักงาน ในสหรัฐอเมริกามีผลสำรวจว่าการทำงานระยะไกลจากที่บ้านช่วยเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมที่ดีในหมู่เพื่อนพนักงานด้วยกัน ขณะที่บางบริษัทก็พบว่าการประชุมพนักงานออนไลน์แบบเสมือนจริงที่กระตุ้นให้เกิดการสนทนากันแบบจริง ๆ ก็มีประสิทธิภาพไม่ต่างกับการเจอหรือพูดคุยกันแบบต่อหน้า แม้ว่าจะกลับมาทำงานที่ออฟฟิศกันแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหน การสื่อสารยังคงเป็นเรื่องสำคัญขององค์กร HR ต้องปรับรูปแบบการสื่อสารที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานได้ เช่น อาจสร้างพื้นที่การทำงานที่หลากหลายให้เกิดขึ้นภายในองค์กร Sharing Space ที่เอื้อต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน หรือการจัดการ Work Life Balance ให้พนักงานประทับใจและพึงพอใจ เพราะประสบการณ์ที่ดีนั้นส่งผลโดยตรงต่อภาพรวมขององค์กร 

        3.Employee Health and Well-being – สุขภาพจิตและสุขภาพกายของพนักงานเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะมีโควิดอยู่หรือไม่ ก็ควรใส่ใจกับสุขภาพของพนักงานให้มากขึ้น เพราะสุขภาพและความรู้สึกที่ดีของพนักงานนั้นเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ที่ดีในการทำงานเช่นกัน การลงทุนเพื่อผลประโยชน์ของพนักงานมีแนวโน้มที่จะสร้างความภักดีของพนักงานและเพิ่มการมีส่วนร่วมได้ หลายบริษัทจึงหันมาห่วงใยสุขภาพของพนักงานมีการเตรียมพร้อมกลยุทธ์การดูแลสุขภาพของพนักงานมากขึ้น ในปี 2021 มีแผนที่จะเปลี่ยนแปลงโปรแกรมสวัสดิการของบริษัท นอกจากทำประกันสุขภาพอาจมีการสมัครสมาชิกฟิตเนสเข้ามาเพิ่มให้ด้วย รวมไปถึงดูแลด้านโภชนาการอาหารการกินด้วย และพร้อมทั้งมี Solution สำหรับให้บริการสุขภาพอารมณ์และสุขภาพจิตออนไลน์ หรืออาจเพิ่มทางเลือกให้พนักงานสามารถเลือกสวัสดิการที่ตัวเองสนใจหรือต้องการได้ด้วยตัวเอง ที่เหลือบริษัทซับพอร์ทให้ตามงบประมาณที่มี เป็นการช่วยเพิ่ม Employee Experience ได้อีกด้วย
อีกรูปแบบของการดูแลพนักงานให้มีสุขจิตที่ดี คือให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของพนักงาน แน่นอนว่าพนักงานทุกคนต้องการที่จะเติบโตและก้าวหน้าในบริษัท แต่ปัจจุบันพนักงานส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นจะตอบโจทย์องค์กรได้อย่างไร ไม่รู้ว่าจะพัฒนาตัวเองอย่างไร จริง ๆ แล้วพนักงานทุกคนสามารถ Up Skill การทำงานได้ตลอดเวลา การกำหนดเป้าหมาย OKR หรือ KPI วัดประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันขององค์กร จะช่วยให้ลูกน้องมี Direction ในการทำงานและพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้มากขึ้น ในอนาคตอันใกล้เราจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้วัดผลในส่วนนี้ ช่วยให้หัวหน้าสามารถ Feedback การทำงานของลูกน้องได้แบบเรียลไทม์ ปรับปรุงได้เลยทันที ไม่ต้องรอตอนประเมินปลายปี แถมยังช่วยลดช่องว่างระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง นอกจากนี้ควรส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ให้พนักงานทุกคน ได้แสดงออกทางความคิด เพิ่มการมีส่วนร่วมให้พวกเขาเห็นว่าตัวเองมีคุณค่า ควรยืดหยุ่นและสนับสนุนให้พนักงานคิดนอกกรอบ เพื่อต่อยอดความสร้างสรรค์และอย่าลืมเช็คให้แน่ใจว่าพนักงานของคุณมีความสุขทั้งสุขภาพกายและใจและสนุกกับการทำงานจริง ๆ

        4.Data-driven การขับเคลื่อนการทำงานด้วย Data เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรของคุณเติบโตแบบก้าวกระโดด จากสภาพเศรษฐกิจที่ทำให้งบประมาณต้องเปลี่ยนแปลง ขณะที่พนักงานในองค์กรก็กำลังเปลี่ยนไป เป็นความท้าทายใหม่ในการปลูกฝังวัฒนธรรมขององค์กร เมื่อก่อนฝ่าย HR มักมีข้อมูลมหาศาลแต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานจริง หรือเพียงแต่นำข้อมูลที่มีกรอกใส่ในตารางเพื่อนำไปรวมกับผลงานโดยรวมของบริษัทเท่านั้น แต่ในปีหน้า HR จะต้องรีบปรับตัวและพึ่งพาข้อมูลในการทำงานมากที่สุด เพราะความน่าเชื่อถือของข้อมูลส่งผลให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพ ตั้งแต่การตัดสินใจรับพนักงานใหม่เข้าทำงาน สรรหาคนที่เหมาะสมกับงาน การจัดการทรัพยากรให้กับพนักงานในองค์กร การมอบเครื่องมือที่จะช่วยให้พวกเขาได้รับประโยชน์จริง ๆ รวมไปจนถึงการจัดสรรงบประมาณของบริษัท HR ต้องใช้ข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง ทั้งในและนอก อาจเป็นข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิสัมพันธ์กับพนักงานโดยตรง หรือผ่านแพลทฟอร์มต่าง ๆ  ที่องค์กรใช้เก็บรวบรวมข้อมูลพนักงานไว้ เพื่อนำมาวิเคราะห์และให้ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรม นิสัย ความชอบ แรงจูงใจของคนในองค์กรแบบลึกซึ้งยิ่งขึ้น อาจรวมไปถึงมีโอกาสทำนายพฤติกรรมของพนักงานในอนาคตได้อีกด้วย

        ตัวอย่างของ Google องค์กรสากลระดับโลกที่เลิกใช้ตัวชี้วัดแบบเก่า ๆ อย่างเกรดจากมหาวิทยาลัยในการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน แต่ใช้แนวทาง Predictive Hiring ในการรับสมัครพนักงานใหม่ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Predictive ของตัวเองในการค้นหาบุคลากร โดยนำการวัดคุณลักษณะสำคัญที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงานมาใช้ แบ่งเป็น 5 Key ได้แก่ Cognitive Skills ทักษะทางการคิดและวิเคราะห์ / Coding Ability ความสามารถด้านโปรแกรมเมอร์ / Leadership ทักษะความเป็นผู้นำ / Humility ความอ่อนน้อมถ่อมตน และ Ownership ความรู้สึกเป็นเจ้าขององค์กร

        ทั้งนี้การที่ HR จะนำเทคโนโลยี Predictive Analytics ไปใช้ในตำแหน่งงาน สามารถสร้างความแตกต่างในกระบวนการรับสมัครพนักงาน ตลอดจนถึงขั้นตอนการรักษาพนักงานที่มีความสามารถสูงไว้กับองค์กร โดยสามารถระบุความเป็นไปได้และความเสี่ยง ในการลาออกของพนักงานในระดับบุคคลได้ เป็นต้น

         5.Digital Tracking – เทคโนโลยีการตรวจสอบและติดตามงานแบบดิจิทัลเติบโตอย่างรวดเร็ว และจะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพสูงในอนาคต เมื่อการทำงานแบบคนละที่ของพนักงานยังเป็นเรื่องยากสำหรับหลายองค์กร และทำให้เกิดประเด็นหลายอย่างระหว่างนายจ้างกับลูกน้องตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นเรื่องปกติที่หัวหน้างานจำนวนมากต้องการติดตามและตรวจสอบพนักงานของตัวเอง หลายองค์กรได้ลงทุนกับเครื่องมือและเทคโนโลยีที่จะช่วยตรวจสอบพฤติกรรมประจำวันของพนักงานที่จะช่วยให้จัดระเบียบการทำงานในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลายเครื่องมือติดตามอาจเป็นเรื่องมาตรฐานและมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกตรวจสอบการเข้างาน Check in / Check out แจ้งเตือนข้อมูล ไปจนถึงสามารถตรวจสอบการทำงานพนักงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น

        เมื่อระดับความสามารถของเทคโนโลยีการตรวจสอบพนักงานในองค์กรเพิ่มสูงขึ้น ยิ่งจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างสิ่งที่ควรทำและควรตรวจสอบ เพราะการตรวจสอบพนักงานนั้นแม้จะทำได้ง่ายแต่ก็อาจเปราะบางและมีช่องว่างเช่นกัน เช่น การใช้เครื่องมือติดตามพนักงานบางอย่างอาจทำให้พวกเขารู้สึกว่าถูกสอดแนมมากเกินไป เกิดความกดดัน ไม่พอใจนายจ้าง นำไปสู่การสร้างความขัดแย้งระหว่างนายจ้างและลูกน้องได้ วิธีการแก้ไขคือการสร้างความไว้วางใจ บอกให้พนักงานรับรู้ถึง “กฎ” ที่มีความโปร่งใส เหตุผลว่าทำไมจึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ องค์กรของคุณให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือนี้มากแค่ไหน และจะสามารถช่วยส่งเสริมประสิทธิผลของพนักงานได้อย่างไร แน่นอนว่าเมื่อรับทราบกฎแล้วต้องได้รับความสมัครใจจากพนักงานด้วย สุดท้ายแล้วการตรวจสอบที่ดีจะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมาปรับปรุงประสบการณ์ที่ดีของพนักงานต่อไป

5 ทักษะดีที่ HR ควรมีและต่อยอดเพื่อสอดรับกับแนวโน้มในอนาคต

1. Adaptability- ต้องปรับตัวเก่ง ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง มีความยืดหยุ่นรับมือกับ Crisis ต่าง ๆ ได้ พร้อมก้าวไปข้างหน้า กล้าที่จะล้ม และกลับไปสู่จุดเดิมอย่างรวดเร็วได้
2. Build a stronger Communication – เพิ่มการสื่อสารให้มากขึ้น x10 หรือ x100 เท่าได้ยิ่งดี โดยแบ่งปันข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง สม่ำเสมอ และหลากหลายรูปแบบ สร้างการสื่อสารของผู้นำมากขึ้น ช่วยให้พนักงานได้รับฟังและมีโอกาสสื่อสารร่วมกัน
3. Collaborative working team– คนในออฟฟิศมีหลายประเภท ต้องจัดการให้ทุกคนทำงานร่วมกันได้ โดยหัวใจคือความสัมพันธ์ที่ดีของคนในกลุ่ม มีการทำงานแบบร่วมแรงร่วมใจ เป็นหนึ่งเดียว ไม่เก่งเดี่ยว หรือเก่งแค่ทีมเดียว เพื่อให้เป้าหมายหลักขององค์กรสำเร็จ พร้อมทั้งปรับรูปแบบการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง นำ Digital Tool หรือเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาช่วย สร้างโอกาสทางการแข่งขันให้กับบริษัทมากขึ้น
4. Emotional Intelligence- เนื่องจากเป็นฝ่ายที่ต้องดีลกับคนจำนวนมาก EQ จึงต้องดี ต้องมีความฉลาดทางอารมณ์สูง ฉลากเลือก ฉลาดจัดการ เข้าใจว่าพนักงานทุกคนมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป และต้องเข้าใจตัวเองก่อนที่จะไปรับมือกับความต้องการของคนที่ดีลด้วย
5. Team Building Online- จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ทีมผ่านช่องทางออนไลน์ให้มากขึ้น นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมของบริษัท สร้างสังคมออนไลน์ในบรรยากาศสบายๆ ให้พนักงานเกิดความรู้สึกอยากมีส่วนร่วม โดยอาจจะมี Reward and Recognize การจัดกิจกรรมให้รางวัล สร้างพลัง สร้างแรงจูงใจ ให้กับพนักงานมากขึ้น

หากคุณเป็น HR หรือผู้บริหารที่เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงตามเทรนด์ทั้ง 5 และมีทักษะที่ดีตาม 5ข้อที่กล่าวมาเราเชื่อว่าองค์กรของคุณจะพัฒนาและอยู่รอดในทุก ๆ สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างสบาย

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


ที่มา : http://happywork.jenosize.com/

 1168
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาจ้างงาน คือ ข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่ระบุเงื่อนไขการจ้างงาน โดยทั่วไปจะกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบ ค่าตอบแทน และเงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนระหว่างทั้งสองฝ่าย และช่วยลดข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
แน่นอนว่าปัจจุบันเทคโนโลยีกลายเป็นทักษะที่มีความสำคัญอย่างมากที่ทุกสาขาอาชีพต้องมีความเกี่ยวข้องไม่มากก็น้อย หากได้ทำงานร่วมกับมนุษย์ก็จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพงานให้ดียิ่งขึ้น โดยทาง jobthai ได้รวบรวมทักษะสำคัญของคนที่ทำงานในปี 2025 ที่ต้องมีติดตัวไว้
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ คือเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องจักรหรือคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการคิดและทำงานในลักษณะที่คล้ายกับมนุษย์ โดยการนำข้อมูลจำนวนมากมาประมวลผลและตัดสินใจผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) หรือ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) แล้ว AI จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนางาน HR อย่างไร
หลายๆ คนอาจจะกำลังลังเลกับเส้นทางชีวิตในการเลือกงานที่เหมาะสมกับตนเอง เพราะปัจจุบันมีหลากหลายอาชีพให้เลือก มีหลายสายงานให้ได้ลองทำ หากใครชอบความเป็นอิสระอาจจะเริ่มจากการทำงานฟรีแลนซ์ หรืออีกหนึ่งรูปแบบที่คนส่วนใหญ่เลือกทำงานกันคือ การทำงานในออฟฟิศ หรือที่เราเรียกกันว่า "มนุษย์เงินเดือน" แน่นอนว่ามันมีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่บทความนี้เราจะมาบอกข้อดีของการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือน ที่มีข้อดีอยู่มากมายจนบางทีคุณอาจจะคาดไม่ถึงด้วยซ้ำ งั้นเรามาดูกันสิว่าการที่เราเป็นมนุษย์เงินเดือนนั้นมีข้อดีอะไรบ้าง

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการบริหารงานบุคคล และพัฒนาบุคลากรในองค์กร โดยใช้ในการประเมินพนักงานตามสองเกณฑ์หลัก ได้แก่ ศักยภาพ (Potential) และผลงาน (Performance) เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้บริหารสามารถระบุพนักงานที่มีศักยภาพสูงและผลงานดี เพื่อพัฒนาและเตรียมพวกเขาให้รับบทบาทที่สำคัญในอนาคต ได้รับการนำเสนอครั้งแรกในปี 1970 โดยบริษัท McKinsey & Company โดยเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน และนับตั้งแต่นั้นมา เครื่องมือนี้ก็ได้รับความนิยมและถูกใช้กันอย่างแพร่หลายโดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก
Background Checks คือการตรวจสอบประวัติอย่างละเอียด ครอบคลุมทั้งด้านข้อมูลส่วนตัว, ประวัติอาชญากรรม, ภาวะทางการเงิน, การศึกษา ตลอดจนบริบทอื่น ๆ ที่ส่งผลกับตำแหน่งที่สมัครเข้ามา
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์